หมอพื้นบ้าน ภูมิปัญญาไทย ควรสืบทอดไว้อย่างยิ่ง


หมอพื้นบ้าน

บันทึกนี้ ต่อเนื่องจากบันทึก การตอกเส้นเผายา

 

http://gotoknow.org/blog/kanda02/442357

 

      ซึ่งไม่ครบทุกจังหวัดนะคะ เพราะมีมากมาย จะเน้นภาพ พระ และ พ่อหมอ แม่หมอพื้นบ้าน ที่ควรอนุรักษ์การสืบทอด วิธีการรักษาผู้ป่วยไว้อย่างมาก  น้อยคนมากที่จะเรียนรู้อย่างจริงจัง ที่จริงจังและเป็นอาชีพมากมายคือ การนวด แม้แต่ ตำรายาสมุนไพร บางหมอก็ไม่สีบทอดกันอย่างจริงทั้งหมดจากพ่อหมอแม่หมอ คือได้มาไม่ทั้งหมดทั้งๆที่เป็นลูกหลานแท้ๆ  หมอบางท่านเก่งรอบรู้มากๆในหลายวิธีการรักษาผู้ป่วย  แต่อายุมากกันหมดแล้ว  ท่านก็สืบทอดมาจากกบรรพบุรุษเช่นกัน แต่จากการสังเกต หลายๆหมอ อายุก็ 70 ปีกว่า บางหมอเคยพูดคุยสอบถามว่า มีผู้สืบทอดหรือยังท่านก็ตอบว่าลูกหลานไม่ค่อยสนใจ น่าเสียดายนะคะ 

 

ภาพที่นำมาฝาก จากงานรวมพลังแพทย์แผนไทยภาคเหนือ 2554 ครั้งที่ 3

 

 

 

 

  บรมแพทย์แผนไทย "ชีวกโกมารภัจจ์"

 

 

 

 

 

 

พิธีเปิด แบบ วิธีการตอกเส้น โดย แพทย์หญิง วิลาวัลย์ จึงประเสริฐ

  อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

 

 

 

 

 

   การเหยีบฉ่า คือการรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ปวดเหมื่อยตามขา แขนหรือ ตามร่างกาย ด้วยวิธีการใช้เท้าแตะน้ำมันสมุนไพรแล้วไปแตะแผ่นเหล็กที่ร้อนจัดบนเตาไฟ และทำการเหยียบนั้นจะมีเสียงดัง ฉ่า  จึงเรียกว่า"การเหยียบฉ่า" เดิมมีการรักษาที่วัดพระปรางค์เหลือง ในปัจจุบัน พระอธิการบุญชู อินทสโร เจ้าอาวาส วัดเกาะหงษ์  จ.นครสวรรค์   ได้รับการถ่ายทอดวิธีของการ "เหยียบฉ่า" 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 การตอบสนองของประสาท ในการเหยียบไม้หรือกะลามะพร้าว  โดย กดฝ่าเท้าและย่ำ ตามจุดต่างๆใต้ฝ่าเท้า ที่จะรักษาโรค    จะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดดี ระบบประสาทดีขึ้น บรรเทาอาการเจ็บปวดตามอวัยวะต่างๆ 

 โดยพ่อหมออินปัน ทาคำสม โทร. 089-2650359

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            ผีหม้อนึ่ง เชียงราย

 

 

 

          ย่ำขาง

 

 

 

   วัดหนองหญ้านาง ต.หนองไผ่แบน อ.เมือง จ.อุทัยธานี ศูนย์การเรียนรู้ การแพทย์พื้นบ้านโดย พระครูอุกการพัฒนกิจ หลวงพ่อสมัย อาภาธโร เจ้าอาวาส วัดฯการเหยีบเหล็กแดง เป็นการนวดโดยใช้เท้าของผู้นวดทาด้วยน้ำมันงาแล้วใช้ส้นเท้าเหยีบบนเตาไฟ ซึ่งมีแผ่นเหล็กร้อนวางอยู่ด้านบน เมื่อใช้ส้นเท้าไปกดนวด จะได้ผลทั้งการกดและความร้อนในเวลาเดียวกัน

 

 

 

 

จ.พิษณุโลก 

ยารักษาโรคเบาหวาน

แก่นไม้สัก (ใบสัก) ใบเตยหอม รากหญ้าคา หัวยั้ง ไหมข้าวโพด 

ยารักษาโรคความดันสูง 

ใบเตยหอม  ตะไคร้  รากหญ้าคา  หัวยั้ง  ไหมข้าวโพด

 

 

                จ.กำแพงเพชร  เข็มขัดสมุนไพร 

 โดยใช้สมุนไพร  ไพล 1000 กรัม  ผิวมะกรูด 400 กรัม ตะไคร้บ้าน 200 กรัม ใบมะขาม 600  กรัม ใบส้มป่อย 200 กรัม  ขมิ้นชัน 200 กรัม เกลือ 50 กรัม การบูร 60 กรัม

 

 

 

                         จ.แพร่

 

 

ธูปไล่ยุง  จ. ลำปาง  ดอกสารภี ตะไคร้หอม ผิวมะกรูด แป้งมัน 

 

 

   อาหารประจำธาตุเจ้าเรือน  จ. อุตรดิตถ์  ดิน น้ำ ลม  ไฟ

 

 

 

อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ อาหารพื้นเมือง พืช ผักธรรมชาติ

 

   หลายหน่วยงาน นำมาเผยแพร่ในงาน

 

      อาหารประจำธาตุเจ้าเรือน การทำให้ร่างกายสุขภาพดีไม่เจ็บป่วยง่าย สร้างความสมดุลให้กับธาตุในร่างกายในแต่ละช่วงเวลา ปกติหรือไม่สบาย ทุกคนเกิดมาจะทราบเลยว่ามีธาตุเจ้าเรือนอะไร ใน 4 อย่าง คือ  ดิน  น้ำ  ลม ไฟ  

 

        ธาตุประจำตัว นี้จัดว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งต่อชีวิตประจำวันที่ควรกินอาหารในแต่ละมื้อตามธาตุ  และการปฏบัติ เช่นการทำบุญในแต่ละปีให้สมดุลกับธาตุปีนั้นอย่างไร  เช่น คนธาตุน้ำบางคน  ปี 2554 นี้ ธาตุไฟและ ธาตุลม หย่อน นอกจากเรื่องอาหารแล้ว หากเราอยากทำบุญ เราก็ควรทำบุญ ที่เป็นลักษณะธาตุที่เราหย่อน เช่น ธาตุไฟหย่อน เราทำบุญไปวัดด้วยการถวายเทียน  น้ำมันเติมตะเกียง หลอดไฟฟ้า ฯเป็นต้น เป็นการเสริมให้สมดุลอีกวิธีหนึ่ง

 

     ที่สำคัญคืออาหาร เช่น ในปีนี้ ธาตุน้ำหย่อน สร้างความสมดุลให้ร่างกาย  เราก็ควร กินอาหาร พื้นผักที่ ดูมีน้ำ เช่น องุ่น แตงโม  แตงกวา  ฟัก  เป็นต้น หรือ ธาตุน้ำเกิน ก็จะทำให้เราไม่สบาย ขณะที่ไม่สบายจากธาตุน้ำเกิน เราก็ควรงดอาหารที่มีน้ำมาก ก็จะทำให้เราหายเร็วขึ้น

 

         คนในสมัยปัจจุบันไม่ค่อยทราบ หรือสนใจแต่มักจะปฏิบัติไม่ได้ การตรวจธาตุ ประจำตัว เราทุกคนน่าจะได้รับการเรียนรู้ เพื่อดูตัวเองหรือทุกคนในครอบครัวได้ ไว้ทุกครอบครัว สาธารณสุข และ แพทย์แผนไทย  เข้าถึงได้ แต่การรณรงค์สอนอย่างจริงจัง ทั่วถึงทุกครอบครัว ยังไม่มี   คนที่ทราบส่วนใหญ่ก็ได้แต่มองเมื่อมีการโชว์ดั่งภาพให้เห็นเวลามีงาน หรือตรวจขณะนั้นเท่านั้น 

 

ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี

 

หมายเลขบันทึก: 445135เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2011 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณค่ะ..น่าสนใจมาก..เดี๋ยวนี้ ทุกวันหยุดสุดสัปดาห์..หลานๆพาป้าใหญ่ไปเข้าโรงนวดแผนไทย ครั้งละ ๒ ชัวโมง..สบายตัวจริงๆค่ะ..

เขาจัดเวทีได้สวยงามแบบล้านนาดีนะคะ

การรวบรวมพลังหมอพื้นบ้านภาคเหนือค่อนข้างเข้มแข็งนะคะ เคยศึกษาข้อมูลการสังคายนาความรู้หมอเมือง ๘ จังหวัดภาคเหนือ โดย ดร.ยิ่งยง เทาประเสริฐ มรภ.เชียงราย เห็นแล้วน่าจะมีการทำทุกภาค

ขอบคุณนะคะ นำเรื่องราวดีๆ มาแบ่งปัน

สวัสดีค่ะ คุณพี่นุช  Ico48

ค่ะจัดเวที ได้สวยงาม หมอพื้นบ้าน ภูมิปัญยาไทยแต่ละท้องถิ่นนั้นเยี่ยมมาก อยากให้เผยแพร่และช่วยกันอนุรักษ์ เรียนรู้กันให้มากขึ้น นับวันจะหายไปและถูกลืม หรือไม่ก็ทราบกันเฉพาะกลุ่มเท่านั้น  บางอย่างพึ่งได้เห็นได้ชมเหมือนกันค่ะ ก็ได้หวังฝาก สาธารณสุขว่าจะเผยแพร่ได้แค่ไหนนะคะ

 

 สวัสดีจ๊ะน้องแจ๊ว   Ico48

   หมอพื้นบ้าน บ้านเรามีหรือเปล่า  โดยมากเป็นหมอแผนไทยใช้สมุนไพรรักษาโรคนะคะ ที่เชียงใหม่มีมากหลายท่านและชำนาญเก่งมากด้วย แต่ก็อายุมากกันหมดแล้ว การรักษาบางอย่างก็ถ่ายทอดได้ไม่หมด คือ ปฏิบัติได้ไม่เหมือน เช่น แรงกด กดถูกที่ ถูกจังหวะ ได้ไม่เท่ากับหมอต้นตำรับ เมื่อวานพี่พึ่งทราบว่า  หมอพื้นบ้านแผนไทยรักษาโรคต่างๆในมดลูก ปีกมดลูก ฯ ได้อย่างดีเยี่ยม หายดีกว่าแผนปัจจุบัน(หมอสูติฯ)  อยู่ที่ผู้รักษาจะเชื่อหรือศรัทธาท่านหรือเปล่าเท่านั้น

 

 

งานจัดได้ดีจริงๆ ครับ

ถ้าผมทราบข่าว ผมคงขึ้นไปเที่ยวงานด้วยแน่

ถ้าจัดคราวหน้า รบกวนช่วยบอกด้วยน่ะครับ

สวัสดีค่ะ  คุณหมออ้น ตอกเส้น

 งานพืชโลกครั้งที่ 2  เริ่ม 9 พย.54 - 15 กพ.55 มาเที่ยวชมได้ค่ะมีแน่นอนที่เป็นหมอพื้นบ้าน รวมทั้งสมุนไพร  คงมากันหลายจังหวัด พร้อมการรักษาด้วย เช่นเดียวกับเมื่อมีงานเมื่อครั้งที่ 1 เช่น  รพ.อภัยภูเบศร ก็นำสมุนไพร มาเผยแพร่ค่ะ 

      ฟ้าทะลายโจร

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท