รู้แบบไม่เข้าใจธรรมชาติ ทำให้มองธรรมชาติเป็นศัตรู


พืชและสัตว์มีการจัดระบบ และวิวัฒนาการอย่างลงตัว แต่คนเราเข้าไปรบกวนจนทำให้ระบบปั่นป่วน และมองระบบธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นอุปสรรค หรือเป็นศัตรู

การทำการเกษตรและการประกอบอาชีพปัจจุบัน ได้มีการทำลายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำ ป่า สัตว์และพืชอย่างรุนแรงในทุกด้าน

ด้วยความคิดที่ว่า สิ่งที่เราทำลายนั้น "บางอย่าง" เป็น "อุปสรรค" ขัดขวางความคิดของเรา และมองบางอย่างเป็น "ศัตรู"

แต่เราก็ทำลายทุกอย่างที่ขวางหน้า แบบไม่สนใจว่าอะไรจะเสียหายบ้าง

ทำให้การประกอบกิจกรรมของเรา

  • ได้ทำลายต้นทุนทางธรรมชาติ
  • ต้องสร้างและลงทุนใหม่ ที่ทำให้ลงทุนสูง
    • ทั้งทุนในการทำลาย และ
    • ทุนที่ต้องพยายามสร้างขึ้นใหม่ 
    • แต่ธรรมชาติก็จะพัฒนาตัวเอง กลับมาตามครรลองเดิมที่ลงตัวของระบบ
    • ทำให้เราต้องพยายามทำลายมากขึ้น และสร้างมากขึ้น
    • การลงทุนจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ
  • ต้องพยายามเปลี่ยน "ทรัพยากร" ที่พอมีเหลือบ้าง ให้เป็น "ทุนแบบใหม่"
    • เกิดการกู้ยืม จำนอง จำนำ
    • ที่ต้องเสียดอกเบี้ย และเพิ่มต้นทุน
    • เพิ่มขีดจำกัด และลดทางเลือกในการทำกิจกรรม
  • ถูกคนกลางเอารัดเอาเปรียบ
    • เพราะต้อง "ไปพึ่งเขา"
  • ขาดทุน
    • ทั้งโดยการทำลายทุนเดิม
    • การลงทุนใหม่
    • ระบบการสู้กับการกลับมาของระบบธรรมชาติ และ
    • การแบ่งปันผลประโยชน์จาก "คนกลาง" ผู้ร่วมลงทุน
      • ที่ไม่ยอมเสียหายด้วย
      • จะเอาแต่ได้อย่างเดียว 
  • เกิดระบบการทำลายตัวเอง
    • ทั้งทางเศรษฐกิจ
    • ระบบทรัพยากร
    • ความสุข ความสบาย
    • การอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี
    • การพึ่งพาธรรมชาติ
    • ระบบสิ่งแวดล้อม และ
    • ระบบนิเวศที่อยู่อาศัย
  • สารพิษปนเปื้อนในอาหาร
    • ทำลายตัวเอง
    • ทำลายผู้บริโภค
    • ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
    • ทำลายสิ่งแวดล้อม 
  • สูญเสียระบบทรัพยากรต่างๆ ที่เราเคยพึ่งพิงได้ และ
  • ทำลายสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ
    • ทั้งสังคม และ ธรรมชาติ

ทั้งๆที่

พืชและสัตว์มีการจัดระบบ และวิวัฒนาการอย่างลงตัว ในทุกระบบนิเวศอย่างค่อนข้างสมบูรณ์

แต่คนเราเข้าไปรบกวนจนทำให้ระบบปั่นป่วน และมองระบบธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นอุปสรรค หรือเป็นศัตรู

เพียงเพราะ

เรามีความรู้แบบไม่เข้าใจธรรมชาติ ทำให้มองธรรมชาติเป็นศัตรู

แล้วก็ย้อนกลับมาทำลายทุกอย่าง อย่าง "รู้เท่าไม่ถึงการณ์"

อย่างที่เป็นอยู่อย่างทั่วไปในปัจจุบัน

อย่างมาก หรืออย่างดีที่สุด ก็คือ "พอรู้สึกตัวก็สายเสียแล้ว" เท่านั้นเอง

น่าสงสารมนุษยชาติจริงๆ

หมายเลขบันทึก: 444519เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2011 06:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

สวัสดีครับอาจารย์ครับ

 

พอรู้สึกตัวก็สายเกินไปเสียเเล้ว

ประโยคนนี้ไม่อยากได้ยินเลยครับ เมื่อวานมีน้องโทรศัพท์มาคุยเรื่อง การเปิดเสรีอาเซียน คุยกันเรื่องเเรงงานที่จะเกิดปัญหาในอนาคต รวมไปถึงที่ประเทศไทยยังไม่ค่อยตื่นตัวเรื่องนี้ สรุปสุดท้ายก็มีคำว่า เมื่อรู้ก็สายเกินไป...

หากรู้อนาคตตามที่คาดการณ์ไว้เป็น ที่เป็น Futures Research เเต่ไม่รองรับเเละหาแนวทางแก้ไข ถึงเวลาก็ยากที่จะแก้ไขครับ

 

There is hope.

Trust Nature.

Nature loves redundancy: back-ups, alternatives, changes (trials-and-errors) and 'best-fit'.

The key word here is 'best fit'. Nature is very fair (--unbiased--) to 'everything' (not just human beings).

If people cannot adjust themselves to Nature.

They fight Nature.

Nature has been around for some 300+ million years (by fossil records).

Man first came in the last million years.

Will Man be able to overcome Nature with sciences and technologies (understanding and applications)?

There is hope! ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท