เครือข่ายเด็กปฐมวัยลุ่มน้ำโขง-ภูพาน (ยังไม่ Final)


ถักทอเครือข่าย ขยายเคล็ด SRM เสริมพลังใจ เรียนรู้ OM ใช้ต่อใน รพ.สต. 6 จังหวัดอิสานตอนบน
ต่อเนื่องจากนาข่าบุรีเดือนกันยายนปีที่แล้ว  จาก  50  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ใน  6  จังหวัด  นัดหมายให้ตัวแทน  50  คน  6  จังหวัด  อุดรธานี  หนองบัวลำภู  หนองคาย  เลย  บึงกาฬ  นครพนม  มีบึงกาฬเพิ่มมาแต่สกลนครหายไป  มาร่วมคิดร่วมใจถักทอสายใยเครือข่ายที่แม้ชื่อยังไม่ลงตัว  แต่ได้วิสัยทัศน์  พันธกิจชัดเจน  กระทั่งได้ภาคีเครือข่ายที่มีกิจกรรมและเกณฑ์บ่งชี้ความก้าวหน้าเป็นขั้น ๆ นำกลับไปใช้ต่อยอดงานในพื้นที่ตนเองได้
อิริยาบถการเรียนรู้สบาย ๆ ของเหล่าหมออนามัย  นักวิชาการสาธารณสุข  ทันตาภิบาล  ทันตแพทย์  ผอ.รพ.สต.  พ่อกำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  อสม.  ผู้เลี้ยงดู  ผู้ปกครองเด็ก  ครูพี่เลี้ยง  นักวิชาการศึกษา  ประธานสภา อบต.  ที่เคยสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map:SRM)  เป็นเครื่องมือในการร่วมคุย  ร่วมคิด  ร่วมวางแผนเพื่อเด็ก ๆ ปฐมวัยในพื้นที่ตนเองมาแล้ว

โดยผู้บริหารโครงการ  ผู้บริหารความสะดวก  สสจ.อุดรธานี  พี่โต่ง  พี่เป้า  พี่ต๋อยเจ้าเดิม  (สะดวกจริง ๆ นะ  สายสาธารณสุข  ใครอยากเป็นผู้จัดประชุมขั้นเทพ  มาเรียนรู้จากสามทหารเสือนี้ได้เลย...ฟันธง)  วิทยากรหมอฝน  ทพญ.วรางคณา  อินทโลหิต  สสจ.หนองบัวลำภู  หมอล่า ทพ.วัชรพงษ์  หอมวุฒิวงศ์  สสจ.หนองคาย  หมออ้อ ศูนย์เขต 6 ขอนแก่น  ทพญ.ปิยะนุช  เอกก้านตรง  พ่วงตำแหน่ง Note taker ร่วมกับหมอบี  ส่วน General Far A Way  เดินมาเดินไป  นอนมั่งนั่งมั่ง  ใครเอ่ย ?  หมออ้อ  สระใครนั่นเอง.....งานนี้มี Double อ้อ
                                      
 ขอขอบพระคุณกัลยาณมิตรใน G2K แห่งนี้เป็นอย่างสูง  ดร.ขจิต  ฝอยทอง ที่เขียนกิจกรรม “เจ้าตัวเล็ก” ได้ชัดเจนแจ่มแจ๋วเป็นขั้นเป็นตอนดีมาก....ใช้เป็นกิจกรรมอุ่นเครื่องได้ดีมาก ๆ  เลยนะคะ  แม้เครือข่ายนี้จะเคยรู้จักกันมาก่อน  แต่ไม่ได้สนิทสนมกันทั้งหมด  เมื่อบอกว่าให้หาเพื่อนอีก  2  คนที่ไม่รู้จักกันหรือรู้จักกันน้อยที่สุด  จับเป็นกลุ่ม  3  คน เพื่อเริ่มกิจกรรมนี้  จึงเกิดการเคลื่อนตัวเดินหาเพื่อนที่มาจากต่างจังหวัด  เพราะเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว  ที่เริ่มนั่งตอนแรกจะจับกลุ่มเฉพาะจังหวัดตนเอง  สนุกสนานมาก...นั่นแน่ อ.ขจิตยิ้มแก้มปริเชียว
หลังพี่ฝนกล่าวความเป็นมาของโครงการปีที่แล้วจบ  ก็ทบทวนประวัติศาสตร์ SRM พื้นที่ตนเอง  แล้วก็แลกเปลี่ยนกับคนอื่น ๆ ด้วยกิจกรรม World Café  ยิ่งเข้าใจง่ายขึ้น  เพราะคล้ายกับดอกไม้  แมลง  ผึ้ง  ของกิจกรรม “เจ้าตัวเล็ก” ที่เพิ่งผ่านไป
บทเรียนที่ได้จากการทำ SRM  ปัญหาอุปสรรค  ความรู้ใหม่  การจะทำให้เปิดใจยอมรับซึ่งกันและกัน  การปรับแต่งเงื่อนไขและปัจจัยให้พร้อมทำจนประสบความสำเร็จ  ข้อควรคิดก่อนขยายผลหรือการที่จะทำให้ยั่งยืน  การจะทำให้ชุมชนเข้มแข็ง  มีเป้าหมายร่วมเดียวกัน  ประชาชนเป็นสุข  เราก็สุขด้วย  ช่วยกันสรุป Mindmap กับพี่ฝน  พูดสรุปให้ทั้งห้องฟัง 
ปัญหาอุปสรรคจากการสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map:SRM)  ในการทำงานที่ผ่านมา
  1. บริบทของพื้นที่แตกต่างกัน  มีผู้ปกครองส่วนหนึ่งเดินทางไปทำงานต่างถิ่น  พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน ผู้เลี้ยงดูเป็นญาติ  ยาย  ย่า  ป้า  ผู้ปกครองมีความแตกต่างในเรื่องการรับรู้การดูแลเด็ก  ยังมีพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่ยังไม่เอื้อต่อสุขภาพที่ดี
  2. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.)  เข้ากันไม่ได้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบางพื้นที่  มีผลต่อการสนับสนุนงบประมาณ
  3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรู้สึกว่า SRM  เป็นของใหม่  ทำความเข้าใจได้ยาก  ช่วงแรกที่นำไปใช้บางครั้งไม่เห็นปัญหาของประชาชน  เจ้าหน้าที่คิดเอง
  4. เจ้าหน้าที่มีน้อย  ไม่สามารถดูแลประชาชนได้ทั่วถึง  และมีผลต่อการสร้างทีม
  5. การดำเนินงานที่ผ่านมายังไม่ยั่งยืน
ความรู้ใหม่ที่ได้จากการแลกเปลี่ยน World café
  1. เคล็ดลับการสร้างความสัมพันธ์  เปิดใจยอมรับซึ่งกันและกัน  คุ้นเคย  จริงใจ  การประสานงานกับภาคี  เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง  การรู้จักบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เอื้อการสนับสนุน เช่น นักวิชาการศึกษา เทคนิคการให้ความสำคัญกับแกนนำชุมชนต่าง ๆ  เช่น เชิญนายก อบต.เป็นประธานเปิดงาน เป็นต้น
  2. การมีเป้าหมายร่วม  เป้าหมายเดียวกัน  ประชาชนเป็นสุข  เราก็สุขด้วย 
  3. คนที่ใกล้เป้าหมายที่สุดต้องเป็นคนทำ  เจ้าหน้าที่เราต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง  แต่ไม่ใช่ปล่อยให้ชุมชนเค้าทำเองเลย  ไม่ปล่อยให้เค้าตกน้ำ  การเป็นพี่เลี้ยงของเจ้าหน้าที่ที่อาจให้ได้ก็คือ ให้ความรู้   เค้ายังไปไม่ได้  เราต้องเป็นพี่เลี้ยง  ที่ปรึกษา  สนับสนุน  เรียนรู้ชาวบ้าน  จึงจะยั่งยืน
  4. การที่ชาวบ้านจะทำได้  ต้องตื่นตัว  เข้าใจพฤติกรรมการเลี้ยงดู  เกิดความตระหนัก  ต้องศึกษาข้อมูล  จะคืนข้อมูลแบบไหน  เป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ  แต่การจะได้ข้อมูลที่แท้จริง  ต้องเกิดจากการเชื่อใจกัน  ต้องชื่นชมซึ่งกันและกัน  ให้ทุกคนรู้สึกมีคุณค่า  เมื่อเราเชื่อใจ  จริงใจกัน ก็จะได้ข้อมูลจริง  การคืนข้อมูล  ต้องคืนข้อมูลจริง  โดยการคืนข้อมูล  ควรเกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าที่  จนท.เห็นข้อมูลของโรค  แต่ชาวบ้านอยู่กับเด็กจะเห็นข้อมูลพฤติกรรม  มันจะเป็นจิ๊กซอว์ที่ทำให้ข้อมูลสมบูรณ์ขึ้น  วิธีการให้ชาวบ้านมาร่วมคิด ร่วมทำ  เช่น การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  นำไปสู่ความเข้าใจ  ความสำเร็จ
  5. ปฏิบัติการเชิงรุก  ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง  ทำให้ชาวบ้านตื่นตัว  ทำแล้วมีอุปสรรค  ปรับวิธีการใหม่
  6. การบริหารความขัดแย้ง  มีตั้งแต่หลีกเลี่ยง  หรือต้องเผชิญปัญหา  มีลูกล่อลูกชน  มองหลาย ๆ มุม  บริหารคนให้ถูกกับงาน   บริหารทรัพยากรต้องให้คุ้มค่า  
  7. การแลกเปลี่ยนครั้งนี้  บางคนคิดว่า  แต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน  นพ.สสจ.หนองบัวลำภูเคยพูดว่า  เวลาเรามาตลาดนัดความรู้  มาแลกเปลี่ยนกัน  ไม่ควรเลียนแบบที่รูปแบบ  แต่ควรเลียนแบบที่ระดับแนวคิด  ต้องเข้าใจแนวคิดเค้าก่อนว่า  เค้าทำอันนี้เพื่ออะไร  ถ้าไม่เข้าใจ  เมื่อเอาไปเลียนแบบก็เพี้ยนได้ เช่น ธนาคารขนม

ถอดรหัส  ปรับแต่งเงื่อนไขและปัจจัยแห่งความสำเร็จ (อ้อ)

  1. สร้างความสัมพันธ์จริงใจกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ด้วยการเรียนรู้ชาวบ้าน  ค้นหาศักยภาพชุมชน  เปิดใจยอมรับ  เคารพคุณค่าซึ่งกันและกัน  เป็นทีมเดียวกัน

  2. สร้างความไว้วางใจ  ได้ข้อมูลรอบด้านที่เป็นจริง  เข้าใจ  ตระหนัก  อยากเปลี่ยนแปลงตนเอง 

  3. หาเป้าหมายร่วมของชาวบ้านและราชการ 

  4. มีเวทีของชาวบ้าน  แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ติดตาม  บริหารความขัดแย้ง  คน  ทรัพยากร  ประเมินผล  สะท้อนข้อมูล  พัฒนาต่อเนื่อง  ราชการเป็นพี่เลี้ยง 

  5. ขยายแนวคิด  ประยุกต์ SRM   เรียนรู้ไม่อยู่นิ่ง  ต่อยอดสิ่งที่ดี

มีเกมสร้างความสัมพันธ์และสติแทรกเป็นระยะ  เกมปรบมือเรียกชื่อ  ในเช้าวันที่สองที่เริ่มจำชื่อเพื่อนได้มากแล้ว  แต่อาจไม่สัมพันธ์กับหน้า  เกมนับเลขไม่ออกเสียง 3  6  9  แต่ปรบมือแทน  พลังกลุ่มเกือบไม่เกิด  แต่ก็พอพากลุ่มรอดไปได้....ทั้งห้อง  ทั้งหมออ้อศูนย์เขตลุ้นมากเลย  เป็นโอกาสพัฒนานะคะเนี่ย  คราวหน้าสัก  3  วัน  จะมีเวลาสร้างพลังกลุ่มมากกว่านี้
พี่ฝนย้ำเป็นระยะ ๆ มีผู้พูดก็ต้องมีผู้ฟัง  ใช้ใจฟัง  ให้เป็นการฟังอย่างลึกซึ้ง  การจุ้มหัวของพวกเราก็ยิ่งเพิ่มคุณค่ามากขึ้น ๆ  เมื่อแต่ละกลุ่มนำเสนอวิสัยทัศน์ของเครือข่าย  จึงช่วยเขียนบัตรคำแล้วให้ไปจัดกลุ่ม  เรียบเรียง  ร้อยเรียงเป็นภาพฝัน  ที่พวกเราคนทำงานและเกี่ยวข้องกับเด็กอยากจะทำให้เกิดขึ้น  โอ..ภูกระดึง  เลย  ณัฐ  โพธิ์ตาก  หนองคาย  ทั้งเกาหัว  ทั้งมึนงง  แต่ในที่สุด  ไม่มีอะไรยากเกินความสามารถพลังกลุ่ม
วิสัยทัศน์  เครือข่าย..... (เด็กปฐมวัยลุ่มน้ำโขง-ภูพาน....ชื่อยังไม่ final)
ผนึกพลังภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง  บูรณาการทุกภาคส่วน  ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชุมชน  ขยายผลอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน  เพื่อเด็กสุขภาพดี  เก่ง  กล้า  และฉลาดอย่างสมวัย
 
ก่อนจะไปถึงพันธกิจ  พี่ฝนเติมเรื่อง  ทำไมจึงสนใจเด็กปฐมวัย  สร้างเด็กปฐมวัยที่ดีในวันนี้  ป้องกันปัญหาเยาวชนในอีก  10  ปีข้างหน้า  ช่วงเวลาทองของการสร้างอุปนิสัยและแรงกระตุ้นของคน  โครงสร้างพื้นฐานของคนยากจะเปลี่ยนแปลง  แก่นนิสัยของคน (ภาษาสุภาพของกมลสันดาน-อ้อเอง)  หากพ้นช่วงเด็กปฐมวัยไปแล้ว...ผ่านแล้วผ่านเลย  นึกถึงชั้นวงปีของต้นไม้  ชั้นถัดออกมา  ภาพลักษณ์  ทัศนคติ  ยังพอปรับแต่งได้  ส่วนวงนอกสุด  ความรู้  ทักษะ  เหมือนชั้นเปลือกนอกของต้นไม้  ถาก  ขูด  ลอก  ปอกเปลือกได้ง่ายกว่า
ขอพักก่อน
แล้วจะมาต่อพันธกิจ  เราจะทำให้เกิดผลตามวิสัยทัศน์ได้อย่างไร
พบกันใหม่นะคะ
ธิรัมภา
หมายเลขบันทึก: 444516เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2011 03:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

สวัสดีค่ะ

  • พอดีเนื้อหาที่ช่วยกันบันทึกจากการประชุมเสร็จแล้ว
  • ผู้ชอบอ่านแบบละเอียด  วิเคราะห์เจาะลึก  สังเคราะห์เองได้เลยนะคะ

ถอดบทเรียนการสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย 

เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 10 , 11

วันที่  16 – 17  มิถุนายน  2554

ณ  ห้องเชียงงาม  โรงแรมบ้านเชียง  จ.อุดรธานี 

 

ผู้เข้าประชุม  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  นักวิชาการสาธารณสุข  ผอ.รพ.สต.  ทันตาภิบาล  ทันตแพทย์  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  อสม.  ผู้เลี้ยงดู  ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย  นักวิชาการศึกษา  ประธานสภา อบต. ที่เคยร่วมกระบวนการสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map:SRM)  ในการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยในตำบลพื้นที่รับผิดชอบ ปี 2553  จากจังหวัดในเขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 10 , 11  ได้แก่อุดรธานี  หนองบัวลำภู  หนองคาย  เลย  นครพนม  และบึงกาฬ  จำนวน  50  คน

วิทยากร  ทพญ.วรางคณา  อินทโลหิต  สสจ.หนองบัวลำภู  ทพ.วัชรพงษ์  หอมวุฒิวงศ์  สสจ.หนองคาย   ทพญ.ปิยะนุช  เอกก้านตรง  ทพญ.ศริญทิพย์  ชาลีเครือ  ศูนย์อนามัยเขตที่ 6  ขอนแก่น และทพญ.ธิรัมภา  ลุพรหมมา  โรงพยาบาลสระใคร  จ.หนองคาย

ผลประชุมกลุ่มจังหวัด  ทบทวนประวัติศาสตร์ 

จ.อุดรธานี

1.  รู้สึกอย่างไรกับการทำงานที่ผ่านมาของโครงการ

- ได้นำความรู้แนวทางปฏิบัติและความต้องการที่แท้จริงจากภาคีเครือข่าย  มาพัฒนาในกลุ่มเด็กปฐมวัย

2.  การทำงานปีที่แล้ว เกิดประโยชน์อะไรบ้าง (ต่อตนเอง ต่อพื้นที่ และต่อกลุ่มเป้าหมาย)

2.1  ต่อตนเอง

                - ได้ประสบการณ์และความรู้ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน

                - การทำงานโดยมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าย

                - มีการสานต่อจากภาคีเครือข่าย

2.2  ต่อพื้นที่

                - มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปทางที่ดีขึ้น               

                - ชุมชนได้รับความรู้และทราบปัญหา  สามารถนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง

                - ชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก

2.3  ต่อกลุ่มเป้าหมาย

                - เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาด้านสุขภาพในช่องปากดีขึ้น

                - ปลูกจิตสำนึกในการแปรงฟัน

                - ได้รับการป้องกันดูแลรักษาสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี

 

3.  ถ้าอยากทำใหม่หรือไปทำกับหมู่บ้านอื่นหรือพื้นที่อื่น  จะทำให้ดีกว่าเดิมหรือแตกต่างจากเดิมอย่างไร

                - ขยายแกนนำจากภาคีเครือข่าย  และมาศึกษาเรียนรู้แนวทางปฏิบัติขบวนการการทำงาน  จากพื้นที่เดิม

                - นำปัญหาและการแก้ไขปัญหา  มาประยุกต์ใช้ให้ตรงตามบริบทของพื้นที่

4.  อะไรเป็นกระบวนการที่สำคัญ  ที่ใช้ในการดำเนินงานจนประสบความสำเร็จ (ปัจจัยแห่งความสำเร็จ)

                - ความร่วมมือ ความเสียสละ ความพอใจของภาคีเครือข่าย

                - งบประมาณเพียงพอ

                - แก้ปัญหาตรงความต้องการของชุมชน

 

จ.หนองบัวลำภู  (ต.โคกม่วง  อ.โนนสัง  และ ต.กุดสะเทียน  อ.ศรีบุญเรือง)

1.  รู้สึกอย่างไรกับการทำงานที่ผ่านมาของโครงการ

- ภาคภูมิใจที่ได้จัดทำโครงการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

- ได้เห็นปัญหาอุปสรรคในการจัดทำโครงการ  และแนวทางแก้ไข อาทิ  ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหา เช่น พฤติกรรมการเลี้ยงดู  สภาพแวดล้อม  ทัศนคติ  ค่านิยม  ท้อในบางครั้ง  ผู้ปกครองยังไม่เห็นความสำคัญ

2.  การทำงานปีที่แล้ว  เกิดประโยชน์อะไรบ้าง (ต่อตนเอง ต่อพื้นที่ และต่อกลุ่มเป้าหมาย)

         2.1  ต่อตนเอง

               - เข้าใจเด็ก/ผู้ปกครอง

               - การรับรู้กติการ่วมกัน

               - เรียนรู้วิธีแก้ปัญหา

               - ชุมชนให้ความร่วมมือเพิ่มขึ้น

        2.2  ต่อพื้นที่

               - มีการพัฒนาและต่อยอดความคิด

               - มีส่วนร่วมของชุมชน

               - มาตรการทางสังคม (ข้อตกลง)

         2.3  ต่อเด็ก

                - เด็กปฏิบัติตามกฎระเบียบ

                - พัฒนาการสมวัย

                - เด็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก

3.  ถ้าอยากทำใหม่  หรือไปทำกับหมู่บ้านอื่นหรือพื้นที่อื่น  จะทำให้ดีกว่าเดิมหรือแตกต่างจากเดิมอย่างไร

                - เยี่ยมบ้าน/เข้าถึงชุมชนมากขึ้น

                - ประชาสัมพันธ์ให้ต่อเนื่อง  เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนตระหนัก

                - สร้างภาคีเครือข่ายในการทำงานให้รู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันมากขึ้น

4.  อะไรเป็นกระบวนการที่สำคัญ ที่ใช้ในการดำเนินงานจนประสบความสำเร็จ (ปัจจัยแห่งความสำเร็จ)

                - ความร่วมมือของภาคีในชุมชน

                - ความเอาใจใส่  ติดตาม  และมีการประเมินผล

                - การสร้างความเชื่อมั่น  ศรัทธาต่อคณะทำงาน

 

จ.นครพนม

1.  รู้สึกอย่างไรกับโครงการนี้  

-     เป็นโครงการที่ดี

-     ภาคีให้การสนับสนุนโครงการนี้ในระดับหนึ่ง  ได้แก่

  • ให้ความสนใจต่อปัญหาทันตสุขภาพและให้การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์
  • ให้ความร่วมมือการเข้าร่วมประชุมทำแผน

-          การทำงานโครงการนี้

  • เจ้าหน้าที่ยังเป็นหลักในการทำงานอยู่
  • ยังขาดกลยุทธ์ในการทำให้โครงการสามารถดำเนินงานต่อเนื่องอย่างยั่งยืนและให้ภาคีเป็นผู้ดำเนินการเอง

2.  การทำงานเกิดประโยชน์ต่อตนเอง  พื้นที่และชุมชน

                2.1  ต่อตนเอง

  •  ได้ความรู้ในการทำแผนที่ยุทธศาสตร์เพิ่มมากขึ้น
  •  มีเครือข่ายในการทำงานด้านทันตสุขภาพ  (การทำงานเป็นทีม)
  •  การรู้จักวางแผนในการทำงาน
  •  มีประสบการณ์การทำงาน

               2.2  ต่อพื้นที่และชุมชน

  •  รู้ปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหา
  •  มีกระบวนการในการทำงาน
  •  มีส่วนร่วมในการดำเนินงานแบบภาคีเครือข่าย
  •  ผู้บริหารท้องถิ่นมีการกำหนดนโยบายการดูแลสุขภาพ
  •  พื้นที่จัดทำโครงการแก้ไขปัญหา
  •  มีมาตรการทางสังคมขึ้นในชุมชน
  •  ชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

3.  จากผลงานที่ผ่านมา  ถ้าทำใหม่จะทำให้ดีหรือต่างจากเดิมอย่างไร

  • นำบทสรุปที่ได้จากชุมชนที่ผ่านมา   นำมาทบทวนและปรับใช้ตามบริบทของพื้นที่
  • ทบทวน ขั้นตอน  กลวิธีการทำงาน  แก้ไขจุดอ่อน  ปรับปรุงจุดแข็งเพื่อให้ทำงานได้ดีขึ้น

 4.  กระบวนการที่ทำให้งานสำเร็จ

  • ใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์
  • สามัคคี  ปรองดอง ภายในภาคีเครือข่าย

 

จ.เลย

1.  รู้สึกอย่างไรกับการทำงานที่ผ่านมาของโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยด้วยการมีส่วนร่วมของภาคีฯ

  • รู้สึกทำงานยากในการทำงานช่วงแรก ๆ
  • เหนื่อย ท้อ เพราะเป็นปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ซักที  (บาง ศพด.)
  • ชุมชนไม่เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาด้านสุขภาพ
  • การประสานงานของภาคีเครือข่ายไม่ต่อเนื่อง
  • ยังไม่มีข้อตกลงร่วมกัน (มาตรการทางสังคม)
  • จนท.ยังไม่เห็นศักยภาพของชุมชน

2.  การทำงานในปีที่แล้วเกิดประโยชน์อะไรบ้าง (ต่อตนเอง  พื้นที่  กลุ่มเป้าหมาย)

  • เห็นศักยภาพของคนในชุมชนที่แท้จริง
  • มีกำลังใจในการทำงาน
  • มีข้อตกลงร่วมกันในบางแห่ง
  • ได้รู้ถึงปัญหาของชุมชนและแนวทางในการแก้ไขปัญหา
  • มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กและผู้ปกครองที่ดีขึ้น

3.  ถ้าอยากทำใหม่ หรือไปทำกับหมู่บ้านอื่น หรือพื้นที่ จะทำให้ดีกว่าเดิมหรือแตกต่างจากเดิมอย่างไร

  • จัดให้มีพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่

4.  อะไรเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ

  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติม / ต่อยอด
  • มีการทำงานเป็นทีม

 

จ.หนองคาย

1.  รู้สึกอย่างไรกับการทำงานที่ผ่านมาของโครงการฯ

     - SRM เป็นเรื่องใหม่  ต้องทำความเข้าใจ

     - จนท.ขาดความรู้  ความเข้าใจ SRM

     - เลือกทำในชุมชน  โดยเอาเวลาที่ชาวบ้านเลือกมาเป็นเวลาที่ว่างจากงาน

     - อยากต่อยอดโครงการที่เกิดจากการใช้แผนที่ SRM

     - เกิดมาตรการทางสังคม เช่นใน ศพด.ห้ามขายขนมให้เด็ก เป็นต้น

     - มีการขยายผล  มีคนสนใจเรื่องสุขภาพช่องปากเด็กเพิ่มขึ้น  อยากมีความรู้

     - ชุมชนอยากได้สื่อทันตุขศึกษา

     - ได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายมากขึ้น

     - รู้สึกเหนื่อยกว่าเดิม

2.  การทำงานปีแล้วเกิดประโยชน์อะไรบ้าง (ต่อตนเอง ต่อพื้นที่และต่อกลุ่มเป้าหมาย)

     - เกิดแผนงานสุขภาพในชุมชน

     - จนท.ได้รับความรู้  พัฒนาตนเอง

     - ชุมชน  ชาวบ้านเสนอปัญหาและต่อยอดเอง

3.  ถ้าอยากทำใหม่หรือไปทำกับหมูบ้านอื่นหรือพื้นที่อื่น  จะทำให้ดีกว่าเดิม  ควรทำอะไรบ้างที่ต่างจากเดิม

    - ต่อยอดโครงการที่เกิดจาก SRM ในพื้นที่เดิม  จากแผนที่ได้ในการทำครั้งแรก

    - มาตรการใช้ค่ากลาง  ในการเลือกกิจกรรมในแผน (SRM) ที่เสนอจะทำต่อ

4.  อะไรเป็นกระบวนการที่สำคัญที่ใช้ในการดำเนินงาน  จนประสบความสำเร็จ (ที่เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ)

    -     การสร้างทีม 

    -     การประสานงานความร่วมมือของภาคีเครือข่าย

    -     เวทีประชาคมเป็นของชาวบ้าน  โดยชาวบ้านคุยกันเอง จนท.หรือนักวิชาการห้ามจับไมค์  ให้ฟังชาวบ้านคุยกันก่อน  รอให้ชาวบ้านถาม  กรณีที่ต้องการวิธีแก้ปัญหาจึงจะให้ความเห็นได้  

    -          ชาวบ้านเจ้าของงานเป็นคนนำเสนอเอง  จนท.เป็นผู้ช่วยเตรียมเทคโนโลยีในการนำเสนอให้ 

 

ถอดบทเรียน แบ่งปันกลุ่มใหญ่

World café 3 รอบ คุยครบ 3 รอบแล้ว มีสิ่งอะไรที่ใหม่ในความคิด ความรู้ใหม่ เขียนลงกระดาษเป็นรายบุคคล ไม่เขียนชื่อแต่เขียนตำแหน่ง 10 นาที ส่วนผลงานกลุ่ม ส่งตัวแทนนำเสนอแบ่งปันผ้าปูโต๊ะสู่กลุ่มใหญ่ “ทำให้เขาแล้วเราจะได้คืน” “พี่มีสอง น้องมีสาม เอามารวมกัน”

รวบรวมปิ๊งแว๊บ จากรายบุคคล (อ้อจัดกลุ่ม ร้อยเรียงอีกที Content Analysis)

1. รู้ปัญหาแต่ละจังหวัด แต่ละที่แล้วมารวมกันออกมาก็คือ ปัญหาเจ้าหน้าที่ไม่พอในการทำงาน แต่ละที่ เพราะมีบ้านที่รับผิดชอบไม่เท่ากัน จนท.ยังไม่เห็นศักยภาพของชุมชนที่แท้จริง แม่เด็กขาดความเข้าใจในการมีความสุขในการกินขนมของเด็ก และไม่รู้ว่าเด็กวัยไหนต้องฝึกตรงไหนก่อน ความร่วมมือของผู้ปกครองกับเจ้าหน้าที่ ไม่มีข้อตกลงร่วมกัน (มาตรการทางสังคม)

2. การเข้าถึงชุมชน (วิธีการ) จิตใจ ความเชื่อใจ ความเชื่อมั่นในตัวเรา เปลี่ยนความคิด ด้วยจิต สาธารณะ จิตอาสา เจ้าหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน อำนวยความสะดวก ทำให้เขา แล้วเราจะได้คืน การใช้คำพูดกับประชาชน ให้หลีกเลี่ยงการใช้คำที่ชาวบ้านเข้าใจยาก การเปิดใจ การยอมรับ เทคนิคการดึงภาคีเข้ามาทำงานเป็นทีม

3. ค้นหาศักยภาพของชุมชน การค้นหาข้อมูลในชุมชนโดยจิตอาสา ลงพื้นที่เพื่อสำรวจ พฤติกรรมการบริโภคของเด็กและการแปรงฟัน ปรับการประชุมชี้แจงค้นหาปัญหาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยชุมชนแสดงความคิดเห็น / ข้อเสนอแนะในกลุ่มที่ประชุมเอง และมีส่วนราชการเป็นที่ปรึกษา เมื่อเวลา มีปัญหาแก้ไขไม่ได้

4. เทคนิคการบริหารความขัดแย้ง การหลีกเลี่ยง การเผชิญหน้า การมองมุมกลับ การใช้ ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ ใช้คนให้ถูกกับงาน

5. ความแตกต่างของบริบทของแต่ละพื้นที่ ในการนำมาแก้ไขปัญหาให้บรรลุวัตถุประสงค์ เรื่องการจัดทำโครงการหรือแผนต้องชุมชนเป็นคนทำเอง (คิดเอง ทำเอง) การแสดงออกถึงความชัดเจนของภาคีเครือข่าย ในการร่วมกระทำโครงการเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาในเด็กปฐมวัย แกนนำภาคีเครือข่ายต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องหรือโครงการที่จัดทำอย่างเพียงพอที่จะนำไปเสนอแก่ชุมชน เช่น

     5.1 ส่งเสริมอบรมเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี

     5.2 กลุ่มจิตอาสาเล่านิทานและให้ข้อคิดกับเด็ก ๆ ในการแปรงฟัน

6. คิด แล้วทำ แล้วแก้ปัญหา การติดต่อประสานงานระหว่างภาคีเครือข่ายต้องให้ต่อเนื่อง จนท.เป็นผู้ดูแล แต่ผู้ที่พูด เรามอบให้ประชาชน “เวทีเป็นของชาวบ้าน ให้หัวหน้าส่วนราชการอยู่เฉย ๆ” แต่ขาดความเข้าใจ ค่อยเป็นผู้ชี้แนะทีหลัง ปัญหาและข้อที่จะต้องแก้ไขปรับปรุง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ ความรู้เพิ่มเติม

7. เปรียบเทียบบริบทชุมชน แล้วประยุกต์ SRM มาใช้ในพื้นที่ใหม่ ขยายสู่พื้นที่อื่นตามบริบทของพื้นที่นั้น มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติม ต่อยอด จังหวัดนครพนมเก่งการทำแผนยุทธศาสตร์ หนองบัวลำภู ได้ที่ 1 โครงการอ่อนหวานไม่ให้เด็กกินขนมหวานเกินไป     

     7.1 เลือกพื้นที่ให้เป็นต้นแบบ เลือกคนในพื้นที่เป็นต้นแบบและพร้อมทำงาน มีการทำ SRM โดยคัดจากพื้นที่ที่เข้มแข็งเป็นพื้นที่ทำงาน เพราะจะให้ความร่วมมือที่ดี

     7.2 มีการกำหนดมาตรการทางสังคม โดยการหาค่ากลาง “อันไหนที่คิดเหมือนกัน นับเป็น หนึ่งข้อที่เลือก”

8. ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีความสุขและสุขภาพดี

ตัวแทนกลุ่มสุดท้ายรอบ  3  ของ World Café นำเสนอ

กลุ่ม  เสนอโดยคุณภาพ  รพ.สต.กุดสะเทียน  ศรีบุญเรือง

                - ที่สำเร็จ เช่น จ.อุดร  เพราะจะของบสนับสนุน  หรือขอความร่วมมือ  ก็ได้รับการสนับสนุนดี

                - ที่มีปัญหา เช่น จ.เลย  ชุมชนร่วมมือน้อยเพราะไม่อยู่บ้าน  ต้องไปขายล็อตเตอรี่  เหลือแต่คนแก่กับเด็ก  หรือบางที่ ไม่ขอเอ่ยนาม เข้ากับ อบต. ไม่ได้  ซึ่งเป็นแหล่งเงินของเรา ไม่รู้จะแก้ไขยังไง

                - ส่วนตัวคิดว่า  การทำงานชุมชนเป็นงานท้าทาย  การจะเข้าชุมชนนั้นต้องเรียนรู้บริบทของชุมชน บางครั้งเห็นชุมชนนั้นทำดี  แต่เอาไปทำที่ชุมชนเราทำไม่ได้  ต้องปรับให้เข้ากับชุมชนเรา  เราต้องมีทั้งเทคนิค  ลูกล่อลูกชน  ต้องปรับเปลี่ยนให้ได้

                - คิดว่ามาครั้งนี้ได้ประโยชน์  เอาไปใช้ได้

กลุ่ม 2

                - การทำแผน/โครงการ  เจ้าหน้าที่ทำหมด  พอเอามาดำเนินการในชุมชน  ไม่ผ่าน  เพราะชุมชนไม่ได้ทำ  แต่โครงการที่ชุมชนทำเอง  เจ้าหน้าที่เป็นผู้แนะนำ  ผ่าน

                - โครงการไม่ต่อเนื่อง  มิดอ้อยจ้อย  ต้องทำอย่างต่อเนื่อง  เชิงรุก

                - ขาดการประสานงานระหว่างเครือข่าย (อ.เพ็ญ)  ครูศูนย์ฯ บอกว่าทำกิจกรรมทุกอย่างกับเด็กอยู่แล้ว  แต่ไม่รู้จะปรึกษาเจ้าหน้าที่คนใด  เจ้าหน้าที่ไม่ให้ความรู้  รู้ตอนจะมีการประเมินศพด.  จึงมีเจ้าหน้าที่มาให้ความรู้  การทำงานถ้ามีการประสานระหว่างเครือข่ายจะทำได้ง่าย

                - แกนนำไม่มีความรู้ที่จะไปนำเสนอโครงการต่อเครือข่าย  การนำเสนอในชุมชนให้เข้าใจทำได้ยาก เราต้องเลือกคนให้ถูก  ถ้าเป็นชุมชนต้องเลือกประธาน อสม. หรือครูศูนย์เด็ก  เพราะใกล้ชิดกับผู้ปกครองและชุมชน

กลุ่ม 3   เสนอโดย พ่อกำนัน ต.ทุ่งฝน

                - ทำใหม่ ๆ  ก็มีปัญหาเป็นธรรมดา  ท้อเหนื่อย  เพราะปัญหายังไม่ได้แก้

                - มาตรการทางสังคม  การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ปกครอง

                - การประสานงานภาคีเครือข่ายไม่ต่อเนื่อง

                - เจ้าหน้าที่ยังไม่เห็นปัญหาของชุมชน  บางทีอาจจะเห็นอยู่แต่ยังไม่พร้อม

                - ได้เรียนรู้ชุมชน  และแนวทางแก้ไขปัญหา  จัดเวทีแก้ไขปัญหา  แลกเปลี่ยนเพื่อนำไปแก้ปัญหาในพื้นที่

                - ทาง จ.หนองบัว ครูศูนย์ฯ  ได้ทำโครงการอ่อนหวาน  ห้ามกินหวานในโรงเรียน ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (ผู้ปกครอง อนามัย รพ.สต.) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ  ได้รับรางวัลระดับอำเภอ

                - ทาง จ.อุดร มีการทำโครงการยิ้มฟันสวย โดยทางอนามัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการ  เอานายกอบต.มาเป็นประธาน  ถ้าท่านไม่ร่วมมือก็เอาท่านมาเป็นประธานเลย เราจะได้ของบง่าย  ประธานอสม.ต้องเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย  แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถเห็นผลเปรียบเทียบได้ว่า โรคช่องปากเด็กจะลดลงหรือไม่

                - การทำงานยังไม่ยั่งยืนเป็นส่วนใหญ่  โดยเฉพาะงบประมาณสนับสนุนไม่ต่อเนื่อง  ขาดเจ้าหน้าที่

                - สิ่งดีที่รู้ใหม่  ได้รับรู้พฤติกรรมของผู้ปกครอง ปัญหาในชุมชน ชุมชนมีการตื่นตัวในด้านสุขภาพร่างกาย  ป้องกันอย่างถูกวิธี  เมื่อก่อนแล้วแต่ลูกสิกินหยัง  ตักเตือน (ลูกหล่าอย่าไปกินอันนี้เด้อ แข่วมันสิเพ)

กลุ่มที่ เสนอโดยน้องยุ้ย  ท่าบ่อ  หนองคาย

                - ครูศูนย์เด็กก็ชื่นชมเจ้าหน้าที่  ในขณะที่เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าเค้าแค่พาครูศูนย์ฯไปดูงาน  แต่ความคิดไอเดียครูคิดเอง

                - ที่ชื่นชมของจ.นครพนม  เค้าไปตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียน  แล้วมีการคืนข้อมูลให้กับนักเรียน โดยห้อยป้ายแขวนเด็กที่ฟันผุ  เด็กก็จะตื่นตัว ไม่อยากได้ป้ายแขวน

                - ส่วนที่คาดว่าน่าจะนำไปใช้ คือ ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน ชื่นชมเด็กที่มีสุขภาพช่องปากดี

กลุ่มที่ 5   คุณสัญญา  มาเสนอเอง  จากนครพนม

          - การที่เราจะทำงานในชุมชนได้  เราต้องเชื่อใจเค้าก่อน  ทำให้ชุมชนเชื่อมั่น ไว้ใจกันเค้ากับเรา และจะได้ข้อมูลที่เป็นจริง

          - การคืนข้อมูลไม่ใช่การประจาน  แต่ต้องเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเรากับชุมชน

          - การบริหารความขัดแย้ง  ทุกที่ต้องมีความขัดแย้ง  เราต้องหลีกเลี่ยงการชนกัน เอาแต่สิ่งดีมาคุยกัน

          - ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า  เอาจุดดีดึงขึ้นมา

          - ใช้คนให้ถูกกับงานเพื่อลดอุปสรรค

          - มองมุมต่าง มองมุมกลับ ที่เราเห็นเป็นอย่างนี้ เป็นเพราะอะไร

          - การเผชิญหน้า  บางครั้งเราก็หนีปัญหาไม่ได้  ก็ต้องเผชิญหน้า

          - เราเปิดใจทุกอย่าง  รับสิ่งดี ๆ  แล้วสิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นกับเรา

 กลุ่มที่ 6   เสนอโดยพี่ใหญ่  ผอ.รพ.สต.คอกช้าง  สระใคร  หนองคาย

                - ถ้าเราสร้างความคุ้นเคย  เราก็จะได้ข้อมูลจริง

                - ให้ชุมชนคุยกันเอง  เกิดปัญหาเราจึงเข้าช่วย

                - เรื่องข้อมูล  ควรเป็นข้อมูลที่ลงสำรวจในชุมชนจริง ๆ  จะได้ข้อมูลที่แท้จริง นำไปแก้ปัญหาจริงได้

                - เป้าหมายเดียวกัน  คือ ประชาชน  เมื่อชุมชนเข้มแข็ง  ประชาชนก็มีความสุข

พี่อ้อและพี่ฝนสรุป  Mindmap

ปัญหาอุปสรรคจากการสร้างและใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ (Strategic Route Map:SRM)  ในการทำงานที่ผ่านมา

  1. บริบทของพื้นที่แตกต่างกัน  มีผู้ปกครองส่วนหนึ่งเดินทางไปทำงานต่างถิ่น  พ่อแม่ไม่อยู่บ้าน  ผู้เลี้ยงดูเป็นญาติ  ยาย  ย่า  ป้า  ผู้ปกครองมีความแตกต่างในเรื่องการรับรู้การดูแลเด็ก  ยังมีพฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่ยังไม่เอื้อต่อสุขภาพที่ดี
  2. องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.)  เข้ากันไม่ได้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขบางพื้นที่  มีผลต่อการสนับสนุนงบประมาณ
  3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขรู้สึกว่า SRM  เป็นของใหม่  ทำความเข้าใจได้ยาก  ช่วงแรกที่นำไปใช้บางครั้งไม่เห็นปัญหาของประชาชน  เจ้าหน้าที่คิดเอง
  4. เจ้าหน้าที่มีน้อย  ไม่สามารถดูแลประชาชนได้ทั่วถึง  และมีผลต่อการสร้างทีม
  5. การดำเนินงานที่ผ่านมายังไม่ยั่งยืน
  6. 

ความรู้ใหม่ที่ได้จากการแลกเปลี่ยน World café

  1. เคล็ดลับการสร้างความสัมพันธ์  เปิดใจยอมรับซึ่งกันและกัน  คุ้นเคย  จริงใจ  การประสานงานกับภาคี  เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง  การรู้จักบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เอื้อการสนับสนุน เช่น นักวิชาการศึกษา เทคนิคการให้ความสำคัญกับแกนนำชุมชนต่าง ๆ  เช่น เชิญนายก อบต.เป็นประธานเปิดงาน เป็นต้น
  2. การมีเป้าหมายร่วม  เป้าหมายเดียวกัน  ประชาชนเป็นสุข  เราก็สุขด้วย 
  3. คนที่ใกล้เป้าหมายที่สุดต้องเป็นคนทำ  เจ้าหน้าที่เราต้องทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง  แต่ไม่ใช่ปล่อยให้ชุมชนเค้าทำเองเลย  ไม่ปล่อยให้เค้าตกน้ำ  การเป็นพี่เลี้ยงของเจ้าหน้าที่ที่อาจให้ได้ก็คือ ให้ความรู้   เค้ายังไปไม่ได้  เราต้องเป็นพี่เลี้ยง  ที่ปรึกษา  สนับสนุน  เรียนรู้ชาวบ้าน  จึงจะยั่งยืน
  4. การที่ชาวบ้านจะทำได้  ต้องตื่นตัว  เข้าใจพฤติกรรมการเลี้ยงดู  เกิดความตระหนัก  ต้องศึกษาข้อมูล  จะคืนข้อมูลแบบไหน  เป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ  แต่การจะได้ข้อมูลที่แท้จริง  ต้องเกิดจากการเชื่อใจกัน  ต้องชื่นชมซึ่งกันและกัน  ให้ทุกคนรู้สึกมีคุณค่า  เมื่อเราเชื่อใจ  จริงใจกัน ก็จะได้ข้อมูลจริง  การคืนข้อมูล  ต้องคืนข้อมูลจริง  โดยการคืนข้อมูล  ควรเกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าที่  จนท.เห็นข้อมูลของโรค  แต่ชาวบ้านอยู่กับเด็กจะเห็นข้อมูลพฤติกรรม มันจะเป็นจิ๊กซอว์ที่ทำให้ข้อมูลสมบูรณ์ขึ้น  วิธีการให้ชาวบ้านมาร่วมคิด ร่วมทำ  เช่น การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  นำไปสู่ความเข้าใจ  ความสำเร็จ
  5. ปฏิบัติการเชิงรุก  ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง  ทำให้ชาวบ้านตื่นตัว  ทำแล้วมีอุปสรรค  ปรับวิธีการใหม่
  6. การบริหารความขัดแย้ง  มีตั้งแต่หลีกเลี่ยง  หรือต้องเผชิญปัญหา  มีลูกล่อลูกชน  มองหลาย ๆ มุม  บริหารคนให้ถูกกับงาน   บริหารทรัพยากรต้องให้คุ้มค่า  
  7. การแลกเปลี่ยนครั้งนี้  บางคนคิดว่า  แต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน  นพ.สสจ.หนองบัวลำภูเคยพูดว่า  เวลาเรามาตลาดนัดความรู้  มาแลกเปลี่ยนกัน  ไม่ควรเลียนแบบที่รูปแบบ  แต่ควรเลียนแบบที่ระดับแนวคิด  ต้องเข้าใจแนวคิดเค้าก่อนว่า  เค้าทำอันนี้เพื่ออะไร  ถ้าไม่เข้าใจ  เมื่อเอาไปเลียนแบบก็เพี้ยนได้ เช่น ธนาคารขนม

ถอดรหัส  ปรับแต่งเงื่อนไขและปัจจัยแห่งความสำเร็จ (ความคิดของอ้อ)

1.  สร้างความสัมพันธ์จริงใจกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ด้วยการเรียนรู้ชาวบ้าน  ค้นหาศักยภาพชุมชน  เปิดใจยอมรับ  เคารพคุณค่าซึ่งกันและกัน.....เป็นทีมเดียวกัน

2.  สร้างความไว้วางใจ  จะได้ข้อมูลรอบด้านที่เป็นจริง  ทั้งข้อมูลจากนักวิชาการ  และข้อมูลสิ่งที่เกิดขึ้นจริงจากชาวบ้าน  เข้าใจข้อมูลนำไปสู่ความตระหนัก....อยากเปลี่ยนแปลงตนเอง 

3.  หาเป้าหมายร่วมของชาวบ้านและราชการที่ดีที่สุด.....แสวงจุดร่วม  สงวนจุดต่าง

4.  มีเวทีของชาวบ้าน  แลกเปลี่ยนเรียนรู้  ติดตาม  ตัดสินใจเอง  รับผิดชอบเอง  บริหารความขัดแย้ง  คน  ทรัพยากร  ประเมินผล  สะท้อนข้อมูล  พัฒนาต่อเนื่อง  ราชการเป็นพี่เลี้ยง.....ร่วมปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องโดยเวทีชาวบ้านเป็นเจ้าของ  เจ้าหน้าที่รัฐเป็นแค่พี่เลี้ยงในเวลาที่ชาวบ้านต้องการ

5.  ทำพื้นที่เดิมให้ยั่งยืน  เรียนรู้ทั้งล้มเหลวและสำเร็จจากที่อื่น ๆ ขยายแนวคิด  ประยุกต์ SRM ให้ง่ายขึ้น  ปรับเข้ากับบริบทพื้นที่ใหม่.....เรียนรู้ไม่อยู่นิ่ง  ต่อยอดสิ่งที่ดี

แล้วจะต่อด้วยการนำ เครื่องมือ Outcome Mapping (OM)  ไปใช้วางแผนติดตาม  ประเมินผลงาน  ที่เกิดจากการร่วมทำของภาคีหลายภาคส่วน

รอสักครู่นะคะ

สุดยอดครับหมอ ถอดมาเป็นเปลาะๆ เหมาะในการเรียนรู้

มาชวนหมอไปให้กำลังใจ คลิกนิกวัยรุ่น จิตรอาสา รพ ปากพะยูฯ

ว้า ละเอียดมากครับ

ผมคงขอไปปรับใช้บ้างนะครับ

ขอบคุณครับ

ว้า ละเอียดมากครับ

ผมคงขอไปปรับใช้บ้างนะครับ

ขอบคุณครับ

ตามคุณหมออดิเรกมาครับ...อ่านแล้วถึงได้รู้ว่าทำไมคุณหมอถึงร้อง...ว้าว (ฮ่าๆ)

ปล. อ่านแล้วดีใจแทนคนในท้องที่ครับ เมื่อกลไกขับเคลื่อนด้วยความเข้าใจ...ต่อไปชุมชนก็จะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

  • ตามมายิ้มแก้มปริ ฮ่าๆๆ
  • ดีใจที่มีประโยชน์ครับ
  • กลัวเสียชื่อแม่หมอนนทลี
  • ฮ่าๆๆ
  • เขียนได้ละเอียดมากเลยครับ
  • กิจกรรมแบบนี้ใครสนใจอ่านสามารถเอาไปทำต่อยอดได้เลย
  • ขอบคุณมากๆๆครับ

สวัสดีค่ะ ท่านลุงบัง

  • ขอบคุณนะคะ
  • ทีมปากพะยูนเยี่ยมมากค่ะ
  • เด็กเล็กเด็กโต...ทำมาบรรจบกันกับทางอิสานพอดีเลย
  • ว่าจะบอกให้พี่พยาบาลมาเขียน Blog เล่าเรื่องวัยรุ่น...ก๊อไม่ได้บอกสักที
  • ติดตามอ่านจากท่านลุงบังไปพลางก่อนแล้วกัน

สวัสดีค่ะ คุณทิมดาบ

  • ยินดีค่ะ
  • ว่าแต่....ว้า เนี่ย  เหมือนผิดหวังหน่อย ๆ เน้าะ 
  • คือ  ทีมที่บันทึกเนี่ยหลายคนไงคะ 
  • อ้อก๊อเลยเสียดาย...หากจะตัดใจทิ้งอะไรไป

ยินดีที่ได้รู้จัก  ท่านอาจารย์หนานวัฒน์นะคะ

  • ยังค้นหาตัวเองไม่เจอ...ว่าจะเขียนสั้น ๆ ได้อย่างไร....พยายามต่อไป
  • ดีนะคะมีระฆัง ปล. มาช่วยชีวิตไว้
  • ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีภาคค่ำนะคะ...ท่านอาอาจารย์ขจิต

  • เดี๋ยวจะส่ง Night cream ไปที่ศิลปากรนะคะ....ป้องกันแก้มแตก
  • ปกติจะอุ่นเครื่องด้วยกิจกรรมอื่น
  • พอใช้ "เจ้าตัวเล็ก" แล้ว  เมื่อถึงกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ใช้ World Cafe เป็นหลัก....ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจง่ายขึ้นมาก
  • ด้วยเหตุดังนั้น...อาจารย์เขียนกิจกรรม  กระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ อีกเยอะ ๆ นะคะ
  • อิ อิ....ไม่เลียนแบบค่ะ  ไม่เลียนแบบ  แค่ขยายแนวคิดเฉย ๆ
  • ไว้เจอตัว...จะกราบงาม ๆ
  • ขอบคุณค่ะ  ขอบพระคุณมาก  เป็นพระคุณยิ่ง...และยิ่ง ๆ สำหรับที่ อ.จะเขียนอีก
  • ไม่หวังมากไปใช่ไหมคะ ?

สวัสดีค่ะคุณหมอ

มาเป็นกำลังใจกับกิจกรรมดีๆนี้ค่ะ เห็นบรรยากาศแล้วน่าสนุกและผ่อนคลาย ได้ความรู้ ชื่นชมค่ะ

ตอนนี้ขอนแก่นฝนตกพรำๆค่ะ ทางโน้นเป็นอย่างไรบ้างค่ะ

สุขสันต์วันทำงานค่ะ

ประทับใจคุณหมอฟันจังเลยเวลาไปที่โรงพยาบาลบึงกาฬ โรงพยาบาลหนองคาย อัธยาศัยดีมากค่ะ หากมีโอกาสคงได้ไปที่โรงพยาบาลสระใคร (สระไม่มีคนเป็นเจ้าของหรือคะ ) 

คุณหมอเขียนรายละเอียดได้ละเอียด และเห็นอิริยาบทการทำงานแล้วสบายและสนุก น่านอน อิอิ

ขอบคุณค่ะ ดีใจที่มีเครือข่ายคนอีสานฟันดี..ช่วยกันทำงานอย่างขยันเช่นนี้ คนอีสานฟันดีแน่นอน

ทีมทันตสาธารณสุขเข้มแข็งจริงๆ

ช่วยเชียร์ด้วยคน

คุณหมอนน  มาอ่าน  คงจะดีใจ

เหมือนอาจารย์ขจิตว่า ..

สวัสดีค่ะ...คุณถาวร

  • ขอบคุณนะคะ
  • ฝนตกเรื่อย ๆ ค่ะ  ตก  2  วัน เว้นวัน
  • เริ่มดำนากันบ้างแล้ว
  • อสม.บอกว่า   ช่วงนี้อย่าเพิ่งรู้จักกันนะหมอ..ว่างั้น

สวัสดีค่ะ...คุณ Krukorkai

  • เชิญคุณครูมาเยี่ยมเยียนกันนะคะ
  • สระโรงพยาบาลนี่ละค่ะ  นายอำเภอตนเก่า ๆ ให้คนขุดลอกไว้  แต่โรงพยาบาลล้อมไว้ในเขตรั้ว
  • เปล่า...ล้อเล่น  ไม่ใช่นะคะ  ถ้าจะฟังจริง ๆ มี  3  ที่มาค่ะ  สำหรับคำว่า "สระใคร"
  • เอาไว้ว่าง ๆ จะเขียนบันทึกอีกทีนะคะ
  • ขอบคุณที่แวะมานะคะ

สวัสดีค่ะ คุณมนัญญา

  • ขอบคุณนะคะที่มาเชียร์
  • ดีใจ  มีกำลังใจ...เชียร์กันไปเชียร์กันมา

แวะมาทักทายยามเช้าครับคุณหมอ ...ได้ยินว่าที่บ้านเราฝนตกทุกวัน รักษาสุขภาพด้วยนะครับผม

ปล. เห็นคุณหมอแวะไปที่บล็อกผมตอนตีสามกว่าๆ เลยไม่แน่ใจว่าคุณหมอยังไม่ได้นอน หรือเพิ่งตื่น (หากเป็นกรณีหลังผมจะต้องเปลี่ยนเป็นราตรีสวัสดิ์แทนครับ...อิๆ)

อ.หนานวัฒน์คะ

  • ขอบคุณค่ะ...อ.ก็เช่นกันนะคะ
  • ยิ่งเวลาเดินทางระวัง E. coli  ด้วย
  • ตอนนั้นยังไม่นอน (เพราะงีบกลางวันทั้งบ่าย)
  • ตอนนี้เพิ่งตื่น...อรุณสวัสดิ์ค่ะ..อิอิ

 

 

  • มาเรียนคุณหมอว่า อยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนครับ
  • ไม่ใช่ม.ศิลปากร
  • เอามาฝากอีก
  • เย้ๆๆๆ
  • http://www.gotoknow.org/blog/yahoo/446259

เรียน  อ.ขจิต  ที่เคารพ

  • โอ๊ยตาย...ขอภัยอย่างสูงค่ะ
  • สงสัยอ่านประวัติอาจารย์นานเกินไปแล้ว...ฟังขึ้นไหมเนี่ย
  • อายมากเลย...ไม่เคยหน้าแตกทางอากาศขนาดนี้
  • ขอบคุณมากค่ะที่นำกระบวนการดี ๆ มาฝากเสมอ
  • กราบงาม ๆ ค่ะ

ตามมาเก็บด้วยอ่าจร้าพี่อ้อ เพราะไม่ได้ไปอ่าครับ

เดี๋ยวจะกลับไปทำงานในพื้นที่ต่อ( อีกหลายปี) อิอิ

ดูแล้วหนุกหนานมากมาย อยากไปอ่า

แบงค์คะ

  • อยากมาก็มาซิคะ...ไม่มาเองนี่นา
  • จะไปภาคกลางอีกแล้วนะ
  • ไปดูวิธีคิดของชาวบ้านอย่างเป็นระบบ (System thinking)
  • สุดยอดไปเลยค่ะ กิจกรรมที่ได้ทั้งความรู้และความสามัคคีค่ะ

 

 

ขอบคุณมากค่ะ  อ.ผู้เคยถอดบทเรียนให้เครือข่ายทันตแพทย์ผู้นำสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก  เมื่อ 2 - 3 ปี ที่แล้ว  ที่อยุธยา

ขอบคุณที่อาจารย์มาติดตามดูความก้าวหน้านะคะ

ตอนนี้เครือข่ายที่ถูกใจ....ก็รักษาสัมพันธ์ไว้ให้แน่นแฟ้น

แล้วก็ขยายในส่วนที่มีคนสนใจดึงดูดใจในเรื่องเดียวกัน

ยินดีมากค่ะที่อาจารย์แวะมา  ท่าน อ.ศิลา Ico48

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท