ความจริงของเคเอ็ม(KM)ส่วนราชการ


สี่ห้าปีประมาณนั้น  ผมพอได้เรียนรู้  เลียนแบบ  จากท่านอาจารย์จิตเจริญ  (JJ)  เรื่องของ  การจัดการความรู้  หรือ  knowledge  management  โดยเฉพาะในส่วนของการเป็นส่วนราชการ 

 

       สำหรับผมก็อยู่  2  ขั้ว  คือ

              1.  km  ตามเกณฑ์

              2.  km  แบบใจต้องการ(kmธรรมชาติ)

 

       ประเด็นที่  1  คือ  km  ตามเกณฑ์  ของต้นสังกัด  ผู้ที่เราต้องทำตามเกณฑ์  ต้องมี  ข้อ  1  ....  ข้อ  2  ....  ข้อ  3  ....  ข้อ  4  ....  ข้อ  5  ....  อันนี้ก็ต้องทำกันไป  เพื่อตอบเกณฑ์ให้ครบถ้วน  แต่ก็เถอะครับ  ในประเด็นแรกนี้ผมว่ามันขัดแย้งกับความเป็นจริงของการจัดการความรู้  ทำไม่ยาก  แค่กางเกณฑ์คู่มือมาวางดู  แล้วก็ทำตามเกณฑ์  และรวบรวมแบบเป็นลายลักษณ์อักษร(หลักฐานเชิงประจักษ์)ให้ครบ  พอกรรมการมาตรวจประเมินก็  “เต็ม”  ไม่มีปัญหา

 

       ประเด็นที่  2  คือ  km  แบบใจต้องการ(kmธรรมชาติ)  ผมว่านี้แหล่ะ  คือ  ปรัชญา  หรือเจตนารมณ์ของคำว่า  “การจัดการความรู้”  หมายความว่า  การกำหนดประเด็น  หรือ  หัวปลา  นั้น  ต้องมาจากคนหน้างาน  (คุณกิจ)  มาพร้อมกับความต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เพื่อแก้ปัญหา  หรือพัฒนางานให้ดีขึ้น  แต่ในทางตรงกันข้าม  คือ  km  ตามเกณฑ์  นั้น  ถ้าผู้บริหารเป็นผู้กำหนด  ซึ่งผู้บริหารก็ไม่ได้มาลง  ลปรร  ด้วยซ้ำ..  (ผมว่าล้มเหลว  แต่ได้คะแนนตามเกณฑ์ประเมิน)  คำถามต่อว่า  “ลปรร  กันแล้วเกิดการพัฒนา  หรือเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างไร  ?”  อันนี้ก็หาหลักฐานเชิงประจักษ์ได้ยากครับ  นอกจากจะใช้กระบวนการประเมิน  โดย  story  telling  (แบบ  nonaka)  มาเล่าให้ฟัง        

 

       สุดท้ายอย่างไรก็ตาม  ผมคิดว่าทั้ง  km  ตามเกณฑ์  และ km  แบบใจต้องการ(kmธรรมชาติ)  ก็ต้องบูรณาการเดินคู่ขนานไปด้วยกัน  คือ  ตอบทั้งเกณฑ์ประเมิน  และได้ผลการพัฒนางานของคุณกิจจริงๆ  ครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 444458เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2011 19:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท