การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน


บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

     บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer – assisted instruction) เป็นสื่อการเรียนการสอนประเภทหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เพื่อให้การเรียนการสอน บรรลุวัตถุประสงค์ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สามารถนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน ได้มีนักการศึกษาหลายคนเชื่อว่า บทเรียน 7 คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้เนื้อหาวิชาได้ด้วยตนเอง และช่วยลดภาระการสอนโดยใช้เป็นสื่อเสริมการสอน

ความหมายของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
     คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนำเสนอเนื้อหาบทเรียนที่ได้ จัดกระทำไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองตามความพร้อม ความถนัดและความ สนใจของแต่ละคน โดยเนื้อหาจะอยู่ในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่เสนอเนื้อหา ความรู้ตามบทเรียนที่บรรจุไว้ในรูปแบบต่างๆ ที่มีทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิก เสียง และยังสามารถโต้ตอบกับผู้เรียนได้ทันทีเป็นการเสริมแรงแก่ผู้เรียน ทำให้ ผู้เรียนสนุกกับการเรียน ไม่เบื่อหน่าย

คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    1. สารสนเทศ
    2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
    3. การโต้ตอบ
    4. การให้ผลป้อนกลับโดยทันที

ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์
    2. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทแบบฝึกหัด
    3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทการจำลอง
    4. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกม
    5. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทแบบทดสอบ
           5.1 การสร้าง การตรวจและการคำนวณผลสอบจะมีความคล้ายคลึงกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทแบบ ฝึกหัด
           5.2 การจัดการสอบ หมายถึง การออกแบบระบบที่ทำ ให้เกิดความยืดหยุ่นและสะดวกเวลาใช้

ขั้นตอนการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
     1. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ (determine goals and objective) คือการตั้งเป้าว่าผู้เรียนจะสามารถใช้บทเรียนนี้เพื่อศึกษาในเรื่องใดและในลักษณะใด กล่าวคือ เป็นบทเรียนหลักเป็นบทเรียนเสริม หรือเป็นแบบทดสอบ ฯลฯ รวมทั้งการกำหนดผู้เรียน ความรู้พื้นฐาน และวัตถุประสงค์ทางการเรียนที่สอดคล้องกับเนื้อหา
     2. รวบรวมข้อมูล (collect resources) คือการเตรียมเตรียมพร้อมทางด้านทรัพยากรสารสนเทศ (information resources) ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนเนื้อหา การพัฒนาและออกแบบบทเรียน และสื่อในการนำเสนอบทเรียนก็คือคอมพิวเตอร์นั่นเอง
     3. เรียนรู้เนื้อหา (learn content) คือการศึกษาเนื้อหาอย่างละเอียด โดยค้นคว้าเพิ่มเติมและแนวทางในการออกแบบที่ท้าทายผู้เรียนให้อยากเรียนรู้

หมายเลขบันทึก: 443488เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2011 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณครับสำหรับบทความ

งานดี ต้องขอลอกนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท