การประเมินผลตนเองและการถอดบทเรียน (Self evaluation) c4h


การประเมินผลตนเองและการถอดบทเรียน (Self evaluation) c4h

รายงานการประชุมวาระพิเศษ
การประเมินผลตนเองและการถอดบทเรียน (Self evaluation)
วันที่ 19 กันยายน 2548


Update 21/09/48 (อ.กาญจนาแก้ไข).

ที่มา

            วาระการประเมินตนเองนั้น สืบเนื่องมาจาก (1) การทำงานครบรอบสองปีของโครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพ ซึ่งจะประเมินผลตนเองเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการประเมินผลของ สสส. (ทั้ง external evaluator และ external reviewer) (2) เพื่อเป็นการมอง “ย้อนหลัง” การทำงานที่ผ่านมาด้านการสื่อสารและสุขภาพนั้น มีปัญหาอุปสรรค หรือข้อเด่นอย่างไร (3) การมองไป “ข้างหน้า” หรือวางแผนไปข้างหน้า เพื่อการทำงานในรอบปีที่สาม และ (4) การถอดบทเรียนอันจะนำไปสู่ความรู้ด้านการสื่อสารกับสุขภาพให้กับสังคมไทย
            การประเมินในครั้งนี้ ถือเป็นการ “มองย้อนกลับไปข้างหลัง” ในลักษณะ After Action Reflection (AAR) โดยจะมาจากทั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความหลากหลายในด้านความรู้ ความคิด และการมีส่วนร่วม
            รายละเอียดของการประชุมในครั้งนี้ กล่าวถึง การประเมินผลมีความหลากหลาย อย่างน้อยสองด้าน คือ การประเมินจากภายนอก และการประเมินจากภายใน ในลำดับแรกจะเสนอให้เห็นแนวทางการประเมินผลโครงการจากภายนอกหรือ สสส. เป็นอันดับแรก (รายละเอียดในหัวข้อที่ 1 และ 2) และภายหลังจากนั้น จึงจะนำเสนอให้เห็นการประเมินผลตนเอง (self evaluation) หรือการถอดบทเรียนเพื่อผลการเรียนรู้และการมุ่งสู่การพัฒนาโครงการต่อไป (รายละเอียดในหัวข้อที่ 3 เป็นต้นไป)
(1) การประเมินโครงการจากภายนอก
รศ.ดร.กาญจนา แก้วเทพ ได้อธิบายให้เห็นการประเมินโครงการของ สสส. มีสองแบบ คือ การประเมินโครงการจาก “external evaluation” และ “external review” ดังแผนภาพนี้


 

“จุดเหมือน”ของการประเมินทั้งสองคือ การประเมินการทำงานของโครงการที่ได้รับทุนจาก สสส. แต่”จุดที่แตกต่าง”ก็คือ “external evaluation” เป็นการประเมินของ สสส. เพื่อให้ทราบถึงการตัดสินใจให้ทุนสนับสนุนของ สสส. เป็นไปอย่างคุ้มค่าหรือไม่ อันเนื่องจาก สสส. ทำงานในลักษณะองค์กรพิเศษกึ่งราชการและกึ่งเอกชน กล่าวคือ ทำงานด้วยเงินภาษี (แบบราชการ) แต่มุ่งการทำงานแบบเน้นผลสัมฤทธิ์ (แบบเอกชน) แต่ก็ต้องมีการตรวจสอบให้รัดกุม การประเมินดังกล่าวจึงจะช่วยให้ทราบกระบวนการทำงานของ สสส. ว่าถูกต้องทั้งแนวทาง/ยุทธศาสตร์ของ สสส. /ความคุ้มค่าด้านเงินและการจัดการหรือไม่
ส่วนกรณีของ external review เป็นการประเมินของโครงการเพื่อต่อสัญญา รวมถึง พิจารณาว่า โครงการฯ ได้ดำเนินการไปอย่างได้ผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ของตัวโครงการเองหรือไม่/อย่างไร
(2) ความสอดคล้องของ ยุทธศาสตร์ของ สสส. และงานของโครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพ
            ในขณะที่โครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพเป็นหนึ่งในโครงการเชิงรุกที่ได้รับทุนสนับสนุนในวงเงินขนาดใหญ่ของ สสส. จึงจำเป็นต้องมีการประเมินผลจาก สสส. ด้วย ดังนั้น เพื่อความเข้าใจในการประเมินผลโครงการ จึงขอนำเสนอให้เห็น “ที่มาที่ไป”ของการประเมินผลโครงการโดยสังเขป โดยเริ่มจากยุทธศาสตร์ของ สสส. และงานของโครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพ
            รศ.ดร.กาญจนา ได้อธิบายให้เห็นยุทธศาสตร์ของ สสส. ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ (1) การสร้างเสริมขบวนการสุขภาพ (movement) (2) การพัฒนาระบบบริการ (system development) (3) เกิดรูปธรรมในชีวิตจริงในการรักษาสุขภาพ โดยอาจแยกดูเป็น พื้นที่ องค์กร ประเด็น กลุ่มคน (4) พัฒนาทุนทางสังคม ดังเช่น ผู้นำ โครงสร้างพื้นฐาน ระบบจัดการความรู้ และระบบจัดการทรัพยากร ดังแผนภาพ
<p>
 </p>             จากยุทธศาสตร์ทั้งสี่ด้าน ปัจจุบัน สสสได้จัดแบ่งระบบการทำงานออกเป็นแผนงานต่างๆ 13 แผนด้วยกัน โดยโครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งในแผนที่เรียกว่า “แผนการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม” ซึ่งประกอบไปด้วยงานย่อยอีก 4 งาน คือ งานการรณรงค์ งานการให้ทุนสนับสนุน การประชาสัมพันธ์ และงานสนับสนุนโครงการต่าง ๆ(C4Hอยู่ในงานสุดท้ายคืองานโครงการ)
            ในกรณีของโครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพนั้น เป็นโครงการในลักษณะโครงการเชิงรุก ซึ่งหมายถึงโครงการที่ สสส. เป็นฝ่ายริเริ่มและมักมีขนาดใหญ่ เพื่อมุ่งหวังให้การสร้างผลกระทบนั้นมีการกระเพื่อมอย่างแรง  รวมทั้งเป็นโครงการที่มีระยะเวลายาวนานพอที่จะก่อให้เกิดการสั่งสมองค์ความรู้เพอื่การนำไปขยายผลในที่อื่นๆ
โครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพจึงเกิดขึ้นจาก รศ.ดร.กาญจนา แก้วเทพ (ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ สสส.ในขณะนั้น) ซึ่งทำงานอยู่ในสายการสื่อสาร จึงพัฒนาโครงการการสื่อสารกับสุขภาพ โดยตั้งเป้าดำเนินการ 3 ปี ในตัวโครงการ แบ่งเป็นโครงการย่อยสองโครงการคือ (1) โครงการสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข ทำหน้าที่ใช้และพัฒนาสื่อพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ (2)โครงการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ มุ่งเน้นการพัฒนาบุคคลให้เกิดการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ และ (3) ทีมประสานงานกลางอีกหนึ่งทีม ทำหน้าที่ประสานความรู้ และการบริหารจัดการให้กับสองทีมย่อย
เมื่อพิจารณาจากเป้าหมายของโครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพ จะพบว่า มีแนวทางการทำงานที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ของ สสส. อย่างน้อย 3 ข้อ คือ 
ยุทธศาสตร์ข้อที่หนึ่ง การสร้างเสริมขบวนการสุขภาพ (movement) นั้น โครงการฯ ได้มุ่งเน้นการทำงานกับภาคี ทั้งภาคีด้านสื่อและสุขภาพ และมุ่งเน้นการถักทอเครือข่ายให้ประชาชนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
ยุทธศาสตร์ข้อที่สาม การกระตุ้นให้เกิดรูปธรรมในชีวิตจริง เช่น  ในโครงการสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุขอันเป็นหนึ่งในโครงการย่อยของโครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพ มุ่งเน้นพื้นที่การทำงานด้านการนำสื่อพื้นบ้านมาสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ท้องถิ่นทั่วประเทศ หรือการมุ่งเน้นกลุ่มคน ทั้งเยาวชน ศิลปิน และกลุ่มคนที่ทำงานด้านสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ข้อที่สี่ การพัฒนาทุนทางสังคม โดยมุ่งเน้นผู้นำ เช่น ศิลปินพื้นบ้าน ปราชญ์ชุมชน นักวิชาการวัฒนธรรมของกระทรวงวัฒนธรรม และการจัดการความรู้ อาทิ ความรู้เรื่องสื่อพื้นบ้านกับสุขภาพ และการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ
3. การประสานการประเมินผลของ สสส. และนพ. ชาตรี เจริญศิริ สู่การประเมินผลตนเองของโครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพ
            ในการดำเนินการโครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพนั้น จำเป็นต้องมีการประเมินโครงการจากบุคคลภายนอก (เพื่อนำสู่การประเมินการทำงานและการต่อสัญญา) รวมถึง การประเมินผลตนเอง (เพื่อนำสู่ความเข้าใจ การปรับแก้ไข และข้อเสนอองค์ความรู้ของโครงการฯ)
            ดังนั้น ในที่นี้จะแสดงให้เห็นภาพรวมของการประเมินผลของ สสส. นพ. ชาตรี เจริญศิริ ในฐานะ external evaluator และการประเมินผลตนเองของโครงการ ว่ามีความสอดคล้องกันในลักษณะใด ดังแผนภาพนี้


 

            ในขณะที่การประเมินผลของ สสส. มีมิติของการประเมินใน 3 ด้าน คือ (1) ผลลัพธ์เชิงยุทธศาสตร์ (2) การประเมินความคุ้มค่า (cost benefit) ดังเช่น การผลิตเอกสารและใช้กับการประชุมกี่ครั้ง คนที่ใช้มีจำนวนเท่าไร และ (3) การประเมินผลกระทบ (impact) ว่าเกิดอะไรกับใคร ส่วนการประเมินของคุณหมอชาตรี จะมีแนวทาง 4 ด้านคือ ด้านแรก กระบวนการทำงาน ด้านที่สอง กระบวนการเรียนรู้ ด้านที่สาม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น(output) และด้านที่สี่ การประเมินประเด็นเฉพาะๆ เช่น ความยั่งยืน ความสอดคล้อง ฯลฯ
            และทั้งสองนี้ก็จะนำมาสู่ “การประเมินผลตนเอง”ของโครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพ ที่จะเน้นสี่แง่มุมคือ มิติแรก การประเมินผลงาน มิติที่สอง การประเมินกระบวนการทำงาน มิติที่สาม การเรียนรู้ และมิติที่สี่ การประเมินความยั่งยืน ทั้งกรณีความรู้ คน เครือข่าย และการมุ่งสู่สถาบันต่างๆ
            ตัวอย่างรูปธรรมก็เช่น อ.จรรยา จากโครงการรำนกโตที่เคยเป็นภาคีของ สพส. หลังจากสิ้นสุดโครงการแล้ว ก็ยังปวารณาตัวเข้ามาช่วยเป็น”วิทยากร/รุ่นพี่” และขอติดตามการเรียนรู้ร่วมกับ สพส.ตลอดไป ซึ่งหมายความว่า แม้”โครงการหมดสิ้นไป แต่สายใยใจยังไม่ขาดจากกัน”
            หรือกรณีโครงการกลองอสะบัดไชยของอ.สุวัฒน์ ที่ปัจจุบันและอนาคต ไม่จำเป็นต้องขอการสนับสนุนจากโครงการ สพส. เนื่องจาก อบต.ได้เห็นความสำคัญของสื่อพื้นบ้านที่ส่งเสริมสุขภาพของเยาวชน และได้จัดสรรงบประมาณให้แก่หมู่บ้าน 14 แห่งเพื่อโครงการกลอง เป็นต้น
            ภารกิจการประเมินตนเองนี้มีความสำคัญต่อการก้าวสู่ปีที่สาม และอาจกล่าวได้ว่าเป็นแผนสำคัญของ”กิจกรรมการถอดบทเรียน”ในปีที่ 3 ของโครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพ อันจะเป็นแนวทางสำคัญของการทำงานด้านการสื่อสารและสุขภาพต่อ ๆ ไป
 
(4) การประเมินผลตนเอง : การถอดบทเรียนในปีที่สาม
            ที่ผ่านมาการทำงานของโครงการสื่อพื้นบ้านฯ ดำเนินการด้วยการทำกิจกรรม โดยมีเป้าหมาย 3 ประการคือ  (1) ผลอันเกิดต่อกลุ่มเป้าหมาย (2) ผลต่อการเรียนรู้ของคนในโครงการฯเอง  และ (3) องค์ความรู้ (ในส่วนขององค์ความรู้นี้จะนำมาสู่การพัฒนาหรือขยายผลต่อสังคม)
            จากทั้งสามเป้าหมายนี้ ทำให้เมื่อจะดำเนินการทำกิจกรรมต้องหวนคิดพิจารณาอยู่เสมอโดย “ไม่ทำกิจกรรมเพียงเพื่อกิจกรรม” แต่จะเน้นการทำกิจกรรมบน “ฐานความรู้” กล่าวคือ ต้องรู้ที่มาที่ไปของการทำกิจกรรม เช่นต้องตอบได้ว่า ทำไมจึงทำกิจกรรมนี้ ทำไมจีงทำแบบนี้ ไม่ทำแบบนั้น  ที่อาจสรุปเป็นคำขวัญได้ว่า “เตรียมความคิดก่อน และจึงทำกิจกรรม” และเมื่อทำไปแล้วก็อาจต้องหวนกลับมาพิจารณาความคิดเพื่อมุ่งสู่การยกระดับกิจกรรมในลำดับต่อไป รายละเอียดในแผนภาพ
           
<p>
 </p>             สำหรับพัฒนาการของการดำเนินงานของโครงการฯ ก็เป็นไปตามลำดับขั้นตอน กล่าวคือ ในปีแรก เป็นการเรียนรู้ค้นหาแสวงหาแนวทางการทำงาน ปีที่สอง ก็เริ่มเน้นการลงมือทำกิจกรรมตามแนวทางที่ค้นพบ ส่วนในปีที่สาม จะมุ่งสู่การถอดบทเรียน
<p>
 </p>             ความจำเป็นของการเน้นหนักกิจกรรมการถอดบทเรียนในปีที่ 3 นี้ มาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ในโลกความเป็นจริง มีปัญหาอยู่มากมาย แต่โครงการเล็กๆเช่น โครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพนั้น ไม่มีความสามารถจะเข้าไปแก้ไขได้ทั้งหมด รวมทั้งโครงการเองก็เป็นเรื่องชั่วคราว ดังนั้น  หากเปรียบตัวโครงการเป็นเสมือนพระพุทธเจ้า  สิ่งที่จะทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลัง ก็น่าจะเป็น
”พระธรรม”(องค์ความรู้ )เพื่อให้บทเรียนของการทำงานได้ขยายผลไปสู่กลุ่มพระสงฆ์ที่จะมาสืบทอดต่อ่ไป (ดังเช่นที่เราได้รับมาจากบรรพบุรุษ)
<p>
 </p>

           
(5) ที่มาของความรู้ของโครงการการสื่อสารเพื่อสุขภาพและการถอดบทเรียนจากทุกฝ่าย

 

 

            ก่อนที่จะสร้างองค์ความรู้นั้น จำเป็นต้องพิจารณาว่า ความรู้นั้น จะมีที่มาจากทิศทางใด รายละเอียดดังแผนภาพ
            ความรู้นั้นได้มาจากที่ใดบ้างนั้น เจ้าหน้าที่และคณะกรรมการโครงการฯ ได้จำแนกเป็น การได้ความรู้จากตำรา งานวิจัย นักวิชาการ การเข้าร่วมกิจกรรม และที่สำคัญคือ การได้ความรู้จากภาคี นอกจากนั้น หากพิจารณาในด้านทิศทางก็พบว่า ความรู้ของการสื่อสารเพื่อสุขภาพมีทิศทางอย่างน้อยสามทางคือ ทิศทางแรก จากบนลงล่าง หรือจากวิทยากรพูดหรือเล่าให้ฟัง ทิศทางที่สอง จากล่างขึ้นบน เช่น การให้ภาคีเป็นผู้บรรยายหรือเล่าประสบการณ์ หรือการถอดบทเรียนจากเจ้าหน้าที่การทำงาน และทิศทางที่สาม ระหว่างภาคีด้วยกัน หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน ดังกรณีพี่สอนน้อง อันจะก่อให้เกิดความยั่งยืน
            จากที่มาแห่งความรู้ที่หลากหลายยังผลให้ทุกฝ่ายจึงควรตระหนักถึงการถอดบทเรียนความรู้ที่ต้องมาจากทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน กล่าวคือ “พวกเราทุกคนมีบทบาทเป็นผู้สร้างความรู้ทุกคน”
(6) การสร้างเงื่อนไขการถอดบทเรียน
            ที่ผ่านมาการถอดบทเรียนอาจทำอย่างไม่เป็นระบบ เช่น การสรุปบทเรียนภายหลังการทำกิจกรรม (แต่มิได้มีการบันทึก) หรือการสรุปบทเรียนในการประชุมคณะกรรมการฯ ประจำเดือน (แต่ก็มิได้ให้ระยะเวลามากนัก) หรือเป็นการสรุปบทเรียนในช่วงการส่งงวดงานหรือท้ายปีเท่านั้น
            ด้วยเหตุนี้ ในปีที่สามนั้น การถอดบทเรียนอาจจะต้องมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบมากขึ้นโดยอาจดำเนินการด้วยแนวทางดังนี้
            (1) ภายหลังการประชุมประจำเดือนแล้ว อาจมีการจัดการประชุม “กลุ่มศึกษา” เพื่อถอดบทเรียน ในวันที่สอง โดยมีทีมประสานงานกลางเป็นผู้ดำเนินการ
            (2) ในการถอดบทเรียนนั้น เป้าหมายนอกจากคณะกรรมการ และ staff แล้ว ยังเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ของ node และผู้ช่วย หรือภาคีต่าง ๆ ในการแลกเปลี่ยนวิธีคิดและการทำงาน
            (3) เพื่อให้การถอดบทเรียนดำเนินการได้อย่างมีระบบ อาจแบ่งงานการถอดบทเรียนรับผิดชอบกับคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่คนละ 1 หัวข้อ และเขียนเอกสารเพื่อนำเข้าการประชุม และนำเสนอต่อกลุ่ม เช่น ธิดารัตน์จากทีมรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ อาจเตรียมการถอดบทเรียนเรื่องการจัดกิจกรรมการดูหนังเพื่อสุขภาพของพยาบาลจะมีลักษณเช่นไร เช่น การฉายหนังครั้งนี้แตกต่างจากการดูหนังทั่วไป เพราะวิธีการแตกต่าง การดูเป็นกลุ่ม เป็นต้น


 

(7)การถอดบทเรียน คืออะไรกันแน่
          การถอดบทเรียนมิใช่เป็นเพียงแค่การเล่าสู่กันฟังหรือเพียงการบันทึกหรือผู้ทำกิจกรรมได้เรียนรู้อะไรเท่านั้น แต่เป็นการวิเคราะห์แบบย้อนกลับไปดูข้างหลังของการทำงาน อันเปรียบเสมือนกับงานวิจัยที่ทำไปในบทที่สี่แล้ว จะต้องย้อนกลับไปพินิจโดยใช้ทฤษฎีและแนวความคิดเป็นโคมส่องทาง เพื่อที่จะทำให้เกิดความกระจ่างแจ้งแก่ใจ/การเรียนรู้ในการทำงานมากขึ้น
            อย่างไรก็ดี ในระดับแรก สิ่งที่จำเป็นก็คือ เมื่อทำกิจกรรมแล้ว จะต้องบันทึกกิจกรรมก่อน และในระดับที่สอง จึงนำกิจกรรมดังกล่าวมาพิจารณาทบทวนอีกครั้ง เช่น ผลลัพธ์ กระบวนการทำงาน การเรียนรู้ และความยั่งยืน ฯลฯ  โดยต้องมีการตั้งคำถามเพื่อการขบเคี้ยวทางความคิด(inquiry question)
<p>
 </p> (8) ตัวอย่างการถอดบทเรียนในปีที่สาม
          ที่ประชุมได้ทิ้งโจทย์ประเด็นการถอดบทเรียนในปีที่สามแก่โครงการสื่อสารเพื่อสุขภาพ ดังนี้
            โครงการสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข อาจถอดบทเรียนในหัวข้อ “การใช้การประชุมเป็นเครื่องมือ” โดยเบื้องต้นจะต้องวิเคราะห์คุณลักษณะของการประชุม เช่น เผชิญหน้า ค่าใช้จ่ายสูง ทรัพยากรสูง และใช้ในโอกาสการอธิบายเนื้อหารายละเอียดทางด้านความคิด นอกจากนั้น ยังอาจถอดประเด็นเรื่อง “การทำงานกับสื่อศิลปินการแสดง” การทำงานกับสื่อร้อน เช่น ดาบ” มีวิธีการทำงานอย่างไร เป็นต้น
            ในส่วนของโครงการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพนั้น อาจวางแผนการถอดบทเรียนด้าน “การสร้างเครือข่าย” การทำวิทยุชุมชนกับกลุ่มเป้าหมายพระ / เด็ก / อสม.” “กิจกรรมรู้ทันภาพยนตร์”
            ทีมประสานงานกลาง อาจถอดบทเรียนในด้านการจัดการประสานความรู้ และการประสานด้านการบริการจัดการ เป็นต้น
(9) บทเรียนในปีที่สองของโครงการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ
          โครงการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ ได้ประเมินการทำงานของตนเองในรอบปีที่สองจำแนก เป็น 5 ด้านดังนี้ (1) บทเรียนด้านแนวคิด (2) บทเรียนการทำงานกับเครือข่าย (3) บทเรียนด้านการสื่อสาร (4) บทเรียนที่ล้มเหลว และ (5) บทเรียนจากเจ้าหน้าที่
(1)               บทเรียนด้านแนวคิด พบว่า แนวคิดด้านการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพมีความหลากหลาย และในการปฏิบัติก็มีผู้ปฏิบัติที่หลากหลายเช่นกัน
ดังนั้น ในการทำงาน โครงการรู้เท่าทันฯ ได้เลือกกลยุทธการดำเนินการทั้งสองแบบ คือ การทำงานทั้งกับคนที่มีความคิดแตกต่าง และคนที่มีความคิดคล้ายกัน โดยที่การทำงานกับทั้งสองกลุ่มจะมีการตั้งเป้าหมายที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ขณะที่การทำงานกับ”คนที่มีความคิดเหมือนกัน” ก็ตั้งเป้าหมายเพื่อทำให้เขาเป็น”นางนกต่อ”ขยายวิธีคิดชุดรู้เท่าทันของโครงการฯ ออกไปในวงกว้าง แต่การทำงานกับ”คนที่มีความคิดต่างกัน” จะตั้งเป้าหมายเพื่อการปรับกระบวนคิดให้ต่อกันติด และเมื่อพัฒนาความคิดได้ก็จะกลับกลายเป็นการขยายพันธมิตรที่มากขึ้น
อย่างไรก็ดี ที่ประชุมนำเสนอว่า ในระดับถัดไปควรจะถอดบทเรียนถึง “กลไก” หรือ “วิธีการ” ที่จะทำงานกับคนที่มีความคิดแตกต่างและเหมือนให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน รวมถึง การใช้ “เนื้อหา” อะไรในคนแต่ละส่วนด้วย
นอกจากนั้น แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพนั้น จะมุ่งเน้นมิติของการพัฒนาผู้รับสารให้เป็นผู้ชมตาคม (Active audience) โดยมองว่าผู้ชมแต่ละคนก็มีศักยภาพของตนอยู่ที่แตกต่างกัน ดังนั้น เมื่อจะพัฒนาก็จะต้องวิเคราะห์”กลุ่มเป้าหมาย”ให้ชัดเจนก่อน แล้วจึงจะเชื่อมโยงไปถึง “การคัดเลือกสื่อและสาร”ให้สอดรับกับกลุ่มเป้าหมาย  
(2)               บทเรียนการทำงานกับเครือข่าย การทำงานกับเครือข่ายมีสองรูปแบบคือ การทำงานในเชิงรุก และเชิงรับ ขณะที่การทำงานในเชิงรุก หมายถึงการจัดกิจกรรมและการวางแผนการทำงานกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรงแล้วนั้น อาจต้องพิจารณาให้เห็นว่า ใช้เกณฑ์อะไรในการเลือกรุกทำงานกับใครที่ไหนอย่างไร
                        ส่วนบทเรียนในการทำงานในเชิงรุกจะใช้เทคนิคสำคัญสองประการคือ ประการแรก การยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กับพันธมิตร การใช้ความจริงใจ(เช่นการแบ่งปันทรัพยากร) และประการที่สอง การประสานงานอย่างครบวงจรด้วยการมีส่วนร่วมทั้งสองฝ่าย ทั้งก่อน ระหว่าง และหลัง เช่น การพูดคุยให้ตกผลึกก่อน การทำงานด้วยการร่วมมือ share resource และการพูดคุยสรุปประเด็นภายหลัง
ในกรณีของการทำงานเชิงรับนั้น ที่ผ่านมามีทั้งการทำงานที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว อันเนื่องจาก เป็นกิจกรรมที่ทางทีมไม่สามารถกำหนดเนื้อหา ประเด็น และกลุ่มเป้าหมายได้ บทเรียนที่ทีมได้รับคือ ต้องใช้หลักการสองประสานคือ”ทั้งร่วมมือและทั้งต่อรอง” ไปพร้อมๆกัน
(3) บทเรียนด้านการสื่อสาร แนวทางการทำงานด้านการสื่อสารของทีมงาน จะเน้นหนักการทำงานการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม อันหมายถึงการให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมจะได้ผลดีที่สุด ดังเช่น การให้พ่อแม่ครูจัดกิจกรรมการทำของเล่นร่วมกัน การจัดวิทยุชุมชนของคนในชุมชน การให้เด็กพยาบาลเลือกหนังและวิจารณ์กันเอง เป็นต้น
(4)               บทเรียนที่ล้มเหลว ในบางกรณี โครงการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพก็ดำเนินกิจกรรมที่ผิดพลาด อันเนื่องมาจากการขาดทำความรู้จักและการวิเคราะห์ผู้รับสารให้กระจ่าง โดยใช้วิธีการ”คิดเอาเอง” หรือมาจากฐานความรู้ที่ไม่เพียงพอ เช่น การจัดกิจกรรมวิทยุชุมชนกับพระ มิได้วิเคราะห์ว่ากลุ่มพระมีความแตกต่างหลากหลายในนิกายและความรู้ทำให้การจัดประชุมมีปัญหา เป็นต้น ดังนั้น การจัดประชุมครั้งต่อ ๆ ไป จึงต้องย้อนกลับพิจารณาถึงการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน โดยใช้กลไก”การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ”ในด้านต่าง ๆ ในการช่วยดำเนินการ เช่น การจัดวิทยุชุมชนเด็กก็จะใช้เครือข่ายตาสับประรดช่วยดำเนินการ
(5)   บทเรียนจากเจ้าหน้าที่
staff ทีมรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพได้เพิ่มเติมประเด็นของการถอดบทเรียน เช่น กรณีของคุณกรรณิการ์  เพ็งปรางค์ได้พิจารณาถึงการถอดบทเรียนของตน และการทำงานดังนี้
(i) การปรับบทบาท การถอดบทเรียนของตน staff พบว่า ในอดีต การทำงานจะทำงานโดยตนเป็นเพียงช่องทางของการสื่อสาร กล่าวคือ เมื่อมีคำถามจากภาคีก็ถามปัญหาต่อกับคณะกรรมการฯ แต่ในปัจจุบันภายหลังการเรียนรู้ก็เริ่มเข้าใจเนื้อหาและสามารถกลายเป็นผู้ส่งสารหรือผู้ตอบปัญหาได้
(ii) การเสกของเล่นให้เป็นสื่อ ในส่วนของการทำงาน เนื่องจากคุณกรรณิการ์มีหน้าที่รับผิดชอบด้านของเล่นพื้นบ้านกับสุขภาพ จึงได้ทบทวนการทำงานได้ว่า การจะมองของเล่นกับสุขภาพได้นั้น จะต้องจำแนกแยกแยะคุณลักษณะของของเล่นเสียก่อน ต่อจากนั้น จึงวิเคราะห์คุณลักษณะนั้นว่ามีความสัมพันธ์สุขภาพอย่างไร เช่น ของเล่นชนิดนี้พัฒนาสุขภาพกาย จิตใจ และผู้ปกครอง ต่อจากนั้น จึงจะเริ่มจัดกิจกรรมเพื่อขยายความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย เช่น กับกลุ่มผู้ปกครอง หรือกลุ่มเด็กพิเศษเป็นต้น ทั้งนี้ การถอดบทเรียนในงานนี้สามารถโยกไปใช้พัฒนากับงาน “จักรยาน” เพื่อสุขภาพได้ด้วย
การถอดบทเรียนของเจ้าหน้าที่ทำให้เห็นว่าการพัฒนาความรู้เรื่องการสื่อสารเพื่อสุขภาพสามารถไหลจากคณะกรรมการสู่เจ้าหน้าที่ และจากเจ้าหน้าที่คนหนึ่งสู่เพื่อนร่วมงาน และสู่ภาคีร่วมจัดกิจกรรมได้
(10) บทเรียนในปีที่สองของโครงการสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข
          โครงการสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุขมีบทเรียนในการดำเนินงานจากปีที่สอง 5 ด้าน ดังนี้ (1) การสร้างคน (2) การสร้างเครือข่าย (3) การสร้างความรู้ (4) การสร้างความยั่งยืน และ (5) บทเรียนจากเจ้าหน้าที่
(1)   การสร้างคน เช่น การทำงานกับผู้ประสานงานภาค
ในด้านการทำงานกับผู้ประสานงานภาค พบว่า ผู้ประสานงานภาคมีความหลากหลายด้วยเกณฑ์ต่างๆ เช่น อายุ อาชีพ ภูมิลำเนา ระดับการศึกษา ฯลฯ แต่เมื่อถอดบทเรียนแล้ว ทีมพบว่า ความแตกต่างดังกล่าวนั้น ไม่ใช่ตัวแปรที่สำคัญ เพราะตัวแปรที่ชี้ขาดคือ “ความมีใจรัก มีความสนใจในสื่อพื้นบ้านกับสุขภาพ และมีเครือข่าย”
จากเรื่องความหลากหลาย  ก็มีการตั้งคำถามต่อไปว่า จะใช้กลยุทธอะไรในการทำงานกับความหลากหลาย เช่น ใช้วิธีการทำงานแบบเดียวกันหมด ก็สามารถบรรลุเป้าหมายได้เหมือนกัน หรือต้องใช้วิธีการที่แตกต่าง หรือต้องใช้ทั้งสองอย่าง ตรงไหนที่ใช้ “วิธีการร่วม ตรงไหนที่ใช้”วิธีการที่แตกต่าง”
 นอกจากนั้นในปีที่สอง  ทาง สพส.ยังได้เริ่มทำงานกับนักวิชการวัฒนธรรม (นวธ.) อันเป็นหนึ่งในโซ่ของกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสื่อพื้นบ้านกับสุขภาพ และตอบเป้าหมายของโครงการที่จะทำงานเพื่อเสริมศักยภาพของกลไกภาครัฐ
            (2) การสร้างเครือข่ายนั้น ในปีที่สอง สพส.ค้นพบการทำงานในลักษณะถ่ายโอนความรู้ทั้งในระดับบนลงล่าง ล่างขึ้นบน และระดับแนวนอน โดยที่ระดับสองและสามนั้น เริ่มกลายเป็นจุดสำคัญสำหรับการพัฒนาความรู้ให้เกิดความยั่งยืน ดังเช่

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4432เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2005 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท