นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ : ตู้อบแห้งเครื่องมือแพทย์


ใช้เป็นเครื่องอบแห้งเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ก่อนส่งนึ่งอบไอน้ำฆ่าเชื้อโรค
ชื่อสิ่งประดิษฐ์ ตู้อบแห้งเครื่องมือแพทย์

ชื่อผู้ประดิษฐ์/คิดค้น

1.   นายสมเกียรติ  จันต๊ะโพธิ์            หัวหน้าหน่วยซ่อมบำรุง งานบริการสุขภาพชุมชน
ชื่อผู้นำเสนอ
1.   นายสมเกียรติ  จันต๊ะโพธิ์            หัวหน้าหน่วยซ่อมบำรุง งานบริการสุขภาพชุมชน
2.   นางสุภาภรณ์  บัญญัติ                  พยาบาลวิชาชีพ 5 งานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์
3.   นายไชยา ทับเอี่ยม                        พนักงานจ่ายกลาง โรงพยาบาลบ้านตาก

สถานที่ติดต่อกลับ

                โรงพยาบาลบ้านตาก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก  โทรศัพท์ 0-5559-1435-6                   โทรสาร 0-5554-8066 มือถือ 0-1888-9011  e-mail address : [email protected]

หลักการเหตุผล

                ในการให้บริการผู้ป่วยและผู้มารับบริการของโรงพยาบาล การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลมีความสำคัญมากเพราะการติดเชื้อถือเป็นความเสี่ยงสำคัญของผู้ป่วยและโรงพยาบาลที่ทำให้เกิดอันตราย ภาวะแทรกซ้อนและความสูญเสียทั้งชีวิตและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาจำนวนมาก  เครื่องมืออุปกรณ์ที่เป็นโลหะทางโรงพยาบาลจะใช้การฆ่าเชื้อโดยการนึ่งอบไอน้ำด้วยความดันสูงหลังจากที่ผ่านการล้างจนสะอาดแล้ว  เมื่อล้างเครื่องมือเหล่านี้เสร็จแล้วจะต้องทำให้แห้งก่อนแล้วจึงจะห่อเข้าชุดรักษาแล้วจึงส่งนึ่ง แต่เดิมทางหน่วยจ่ายกลางจะใช้วิธีตากให้แห้งซึ่งจะใช้เวลาค่อนข้างนาน ขณะตากให้แห้งก็มีการปนเปื้อนฝุ่นผงละออง บางชิ้นที่มีเขี้ยวจะมีไอน้ำอยู่ก็ต้องนำมาเช็ดใหม่  บางชิ้นอยู่ชุดเดียวกันแต่แห้งไม่พร้อมกันก็ต้องรอไม่สามารถจัดชุดได้ ทำให้นึ่งของได้ช้า ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ทำให้ต้องซื้อไว้สำรองในปริมาณมากขึ้น เป็นภาระในการจัดเก็บและเสียงบประมาณเพิ่มขึ้น ด้วยปัญหาเหล่านี้ผู้ประดิษฐ์จึงได้นำอุปกรณ์ที่ชำรุดแล้วนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องอบแห้งเครื่องมือที่จะช่วยให้เครื่องมือแห้งเร็ว ตรวจสอบจำนวนได้ง่ายและไม่สัมผัสกับฝุ่นผงละอองขึ้นมาใช้

วัตถุประสงค์

1.       เพื่อเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยทำให้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องนึ่งแห้งเร็ว ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน
2.       เพื่อเป็นอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันการสัมผัสปนเปื้อนฝุ่นละอองแก่เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ล้างสะอาดแล้ว
3.     เพื่อสามารถควบคุมจำนวนของที่ต้องทำให้แห้ง สามารถจัดเป็นชุดได้เลย ลดระยะเวลาในการจัดชุดใหม่และลดการจัดชุดเครื่องมือผิดพลาดและลดการสูญหาย
4.       ลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของการเตรียมอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แห้งก่อนนำไปนึ่งอบไอน้ำ

วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์

1.       อุปกรณ์ที่ใช้
1)      ตู้อบฟิล์ม X-ray เก่าที่ชำรุดแล้ว
2)      แมกเนติก  220 V.A.C. (CN.18)  พร้อมโอเวอร์โหลดป้องกันกระแสเกิน
3)      Timer สวิทซ์ 220 V.A.C.
4)      เบรกเกอร์  20 A.  220 V.A.C.
5)      หลอดไฟ Control
6)      สวิทซ์กริ่ง
7)      ตะแกรงสแตนเลส  ช่อง 1” X 1”  กว้าง 40 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร
2.  งบประมาณ   3,000.- บาท

3.  วิธีการทำงาน

1)      เมื่อกดเบรกเกอร์ไฟฟ้าขึ้น  หลอดไฟสีเขียวจะติดแสดงว่าพร้อมที่จะทำงานแล้ว
2)    เมื่อยกเบรกเกอร์แล้วก็กดสวิทซ์ควบคุมการทำงานของแมกเนติก เมื่อแมกเนติกทำงานก็จะทำการจ่ายกระแสไฟฟ้าขดลวดความร้อนทำงาน  หลอดไฟสัญญาณสีแดงจะติดพร้อมกับพัดลมกระจายความร้อนให้ทั่วภายในตู้อบ (พัดลมทำงานหลอดไฟสีเหลืองจะติด)
3)    เมื่อลวดความร้อนพัดลมทำงานตามเวลาที่กำหนด  ควบคุมโดย Timer รีเลย์ประมาณ 15 นาที หรือมากหรือน้อยก็ได้ เพราะ Timer ปรับค่าได้
4)    เมื่อ Timer ทำงานครบเวลาที่ตั้งไว้ Timer ก็จะตัดวงจรทั้งหมด  ถ้าจะให้ทำงานอีกก็กดสวิทซ์ควบคุมอีกครั้งหนึ่งหรือเริ่มจากวิธีการทำงานจากข้อ 2 

การทดสอบประสิทธิภาพสิ่งประดิษฐ์

                หลังจากประดิษฐ์เครื่องอบแห้งเครื่องมือเสร็จแล้วได้นำไปทดลองใช้ที่หน่วยจ่ายกลางโรงพยาบาลบ้านตากเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ พบว่า
1.     ระยะเวลาในการอบแห้งเครื่องมือใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที ในขณะที่ถ้าตากให้แห้งเองจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที โดยที่ถ้าตากให้แห้งเองเครื่องมือที่มีเขี้ยวจะมีไอน้ำเกาะจะต้องเช็ดอีกครั้งก่อนจะจัดชุดอุปกรณ์ส่งนึ่ง  การใช้เครื่องอบแห้งจะสามารถกำหนดเวลาทำงานได้ชัดเจน  สามารถตั้งเวลาได้
2.     ปริมาณที่อบได้ประมาณ 200 ชิ้นต่อครั้งต่อ 15 นาที โดยสามารถจัดเป็นชุดได้ตั้งแต่อบแห้งเลย ทำให้เกิดความรวดเร็ว ทำงานรอบเดียว  ตรวจสอบจำนวนอุปกรณ์ได้และลดความผิดพลาดในการจัดชุดเครื่องมือ
3.       ระยะเวลาในการนึ่งประมาณ 15 นาทีใช้กระแสไฟฟ้าไม่มาก
ประโยชน์และการนำไปใช้
                ใช้เป็นเครื่องอบแห้งเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ก่อนส่งนึ่งอบไอน้ำฆ่าเชื้อโรค

เอกสารอ้างอิง

1.       ประสิทธิ์  พิทยพัฒน์. การออกแบบระบบไฟฟ้า Electrical System Design. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: ทีซีจี พริ้นติ้ง,2545.
2.     ลือชัย  ทองนิล. การออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าตามมาตรฐานของการไฟฟ้า. พิมพ์ครั้งที่ 11(ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น),2547.
3.       ไวพจน์  ศรีธัญ. การติดตั้งไฟฟ้า1. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมอาชีวะ,2545.
4.       ศุลี  บรรจงจิตร. หลักการและเทคนิคการออกแบบระบบไฟฟ้า. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น,2547.
ศุลี  บรรจงจิตร. อุปกรณ์และการติดตั้งในระบบไฟฟ้า. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น,2547
คำสำคัญ (Tags): #kmกับนวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 4425เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2005 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ได้รับรางวัลผลงานดีเด่นประเภทสิ่งประดิษฐ์ ในการประกวดผลงานวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 เมื่อ 24-26 สิงหาคมที่ผ่านมาครับ

คุณเก่งมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

หนูชื่นชมคุณมากค่ะ

หนูคิดจะประดิษฐ์เครื่องมือการแพทย์เหมือนกาน

อยากขอคำปรึกษษจากคุณจะได้ไหมค่ะ

ตอนนี้หนูกำลังทำงานวิจัยค่ะ

จาก นักเรียนพยาบาลทหารอากาศ

ถ้ามีส่งประดิษฐ์มาใหม่ๆ ก็มานำเสนออีกนะครับ จะเข้ามาชมครับ เพราะเราทำงานในแนวเดียวกันครับ ช่วยเหลือคนไข้ เครื่องมือแพทย์ดี หมอดี คนไข้ก็ได้กลับบ้านเร็วขึ้น

ขออนุญาต นำไปให้งานซ่อมบำรุงประดิษฐ์ได้มั้ยคะ  เพราะรพช.ที่มีประชากรน้อย  งบก็น้อยตามไปด้วย  ทุกวันนี้ใช้วิธีการทำให้แห้งโดยการต้ม  ซึ่งมีผลต่อเครื่องมือที่มีความคมเหมือนกัน  ขนาดตู้อบเครื่องมือ และสายยางยังต้องประดิษฐ์เองจากหลอดไส้ 100 watt เลยค่ะ (เปลืองไฟเหมือนกัน)แต่งบผลิตไม่เกิน10000 บาท ซื้อเกือบแสนค่ะ...

ขอบคุณนะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท