เข้าระบบ
สมัครสมาชิก
หน้าแรก
สมาชิก
Dr. Phichet Banyati
สมุด
PracticalKM
คณะผู้ก่อการดีในก...
Dr. Phichet Banyati
สมุด
บันทึก
อนุทิน
ความเห็น
ติดต่อ
คณะผู้ก่อการดีในการจัดการความรู้
อย่างไรก็ตามในองค์กรหนึ่งๆที่สามารถพัฒนาได้นั้นจะมีคนเหล่านี้อยู่ในองค์กรและปฏิบัติหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว หากจะไม่ให้มากเรื่องมากความก็ไม่ต้องไปตั้งเป็นคณะกรรมการออกมาอย่างเป็นทางการก็ได้ เพียงแต่องค์กรมองให้ออกว่าใครทำหน้าที่อะไร ก็ไปคอยกระตุ้นส่งเสริมให้เขาทำหน้าที่ของเขาให้ดีขึ้น
คณะผู้ก่อการดีในการจัดการความรู้
เรามักได้ยินคนพูดกันเสมอเวลามีอะไรไม่ดีเกิดขึ้นเราก็มักจะมองว่าใครเป็นคนทำ ใครเป็นผู้ก่อการร้าย แต่พอมีอะไรดีๆเราไม่ค่อยดพูดถึงคณะผู้ก่อการดีกันเท่าไหร่ ในยุคนี้ที่การจัดการความรู้(
Knowledge Management : KM
)เฟื่องฟู แม้จะมาทีหลัง
MK
แต่ก็เริ่มดังไม่น้อยกว่าแล้ว ในการจัดการความรู้ให้สำเร็จได้นั้นเราต้องมีคนกลุ่มหนึ่งที่จะมาช่วยทำในเรื่องนี้ ผมก็เลยขอเรียกว่าคณะผู้ก่อการดี ซึ่งองค์กรเองอาจจัดตั้งออกมาให้เป็นคณะกรรมการที่เห็นเด่นชัดหรือเป็นทางการก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามในองค์กรหนึ่งๆที่สามารถพัฒนาได้นั้นจะมีคนเหล่านี้อยู่ในองค์กรและปฏิบัติหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว หากจะไม่ให้มากเรื่องมากความก็ไม่ต้องไปตั้งเป็นคณะกรรมการออกมาอย่างเป็นทางการก็ได้ เพียงแต่องค์กรมองให้ออกว่าใครทำหน้าที่อะไร ก็ไปคอยกระตุ้นส่งเสริมให้เขาทำหน้าที่ของเขาให้ดีขึ้น เด่นขึ้น ง่ายขึ้น ผมว่าแค่นี้การจัดการความรู้ขององค์กรก็วิ่งกระฉูดแล้ว ผมแบ่งผู้กระทำการในการจัดการความรู้ออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
1.
คุณเอื้อหรือผู้บริหารจัดการความรู้
(Chief Knowledge Officer:CKO) เป็นคนที่ช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดการจัดการความรู้ของคนในองค์กร เป็นผู้สนับสนุนหลักในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และเปิดโอกาสให้ใช้ความรู้ รายละเอียดอยู่ในบทความเรื่องผู้บริหารจัดการความรู้กับการจัดการความรุ้ที่ได้นำลงให้อ่านก่อนหน้านี้แล้ว คุณเอื้อจะมีบทบาทอย่างมากในขั้นการจัดการให้เกิดการเรียนรู้ตามLKASA EGG Model หรือ Bantak Model
2.
คุณอำนวยหรือผู้ส่งเสริมการจัดการความรู้
(KM Facilitator) เป็นกลุ่มบุคคลที่จะช่วยกระตุ้นให้คนกล้าเอาสิ่งที่รู้มาปฏิบัติจริง จัดเวที มีเวลา หาไมตรี ช่วยคุณเอื้อในแนวราบที่ไม่อำนาจบังคับบัญชาในมือโดยควรทำให้ได้ 4 บทบาทหลักคือ
Learn
เอื้อโอกาส
ให้เกิดเรียนรู้/อยากเรียนรู้/ใฝ่รู้(เวลา/เวที)
Care
เอื้ออาทร
ให้เกิดความห่วงใยใส่ใจกัน/ช่วยเหลือกัน
Shareเอื้ออารี
ให้เกิดการแบ่งปันความรู้/เล่าสู่กันฟ
Shine
เอื้อเอ็นดู
ให้เกิดความภาคภูมิใจ/ยกย่อง/กำลังใจ/มีไฟ พยายามกระตุ้นให้คนในองค์กรขับเคลื่อนความรู้ข้ามแดนทั้งระหว่างผู้ปฏิบัติกับผู้ปฏิบัติ รุ่นพี่กับรุ่นน้อง หัวหน้ากับลูกน้อง หัวหน้ากับหัวหน้าหรือผู้ปฏิบัติกับผู้ปฏิบัติต่างแผนกหรือต่างวิชาชีพ ระหว่างหน่วยงานกับหน่วยงานหรือระหว่างหน่วยงานกับลูกค้า เน้นความรู้ที่แนบแน่นกับงานประจำ เอาสิ่งที่ทำสำเร็จแล้วมาบอกต่อกันในวิธีการต่างๆที่เหมาะกับผู้ปฏิบัติ เช่นเรื่องเล่าเร้าพลัง, เพื่อนช่วยเพื่อน,สุนทรียสนทนา,ทบทวนหลังปฏิบัติ เป็นต้น หากจะให้เกิดความยั่งยืนต้องทำให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติ(Community of Practice)ขึ้นในองค์กรให้ได้ โดยคนที่จะมาเป็นคุณอำนวยต้องเป็นคนที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน อดทน ไม่ขี้ใจน้อย ไม่ขี้งอน พูดกับคนอื่นรู้เรื่อง เข้ากับคนอื่นง่าย หากจะแยกกลุ่มอีกอาจเป็นได้อีก 3 กลุ่มคือคุณหนุน(สนับสนุน) คุณลิขิต(ผู้บันทึกขุมความรู้หรือNote taker)และคุณประสาน(KM Coordinator)เป็นผู้เชื่อมประสานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน คุณอำนวยจึงมีบทบาทสำคัญในขั้นการจัดการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามLKASA EGG Model หรือ Bantak Model
3.
คุณกิจหรือผู้ปฏิบัติจัดการความรู้
(KM Practitioner) หมั่นเรียนรู้จากทำงานแล้วนำมาใช้ปฏิบัติ ในลักษณะทำงานประจำให้ดี มีอะไรให้คุยกันและขยันทบทวน ภายใต้วัฒนธรรมของการเรียนรู้ 3 ประการคือการมีส่วนร่วม การเสริมพลังอำนาจและการเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น กิจกรรมสำคัญๆที่คุณกิจจะต้องเกี่ยวข้องในขณะทำงานคือการทบทวนหลังปฏิบัติ(After action Review : AAR) และการย้อนรอยกรรม(Retrospect) คุณกิจถือเป็นบุคคลตัวจริงเสียงจริงในการสร้างความรู้จากการทำงานที่สอดคล้องกับบริบทขององค์กร จึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในขั้นการจัดการให้เกิดการใช้ความรู้ตาม LKASA EGG Model หรือ Bantak Model
4.
คุณประกอบหรือวิศวกรความรู้
(KM engineer) มีหน้าที่ตีความและแปลง สังเคราะห์ ยกระดับองค์ความรู้ให้จับต้องได้และนำไปปฏิบัติได้ง่ายโดยการหมุนเกลี่ยวความร้ตาม
SECI-Knowledge Conversion Process Model
ทำให้เกิดการสมาคมกันของผู้ปฏิบัติได้ขุมความรุ้ออกมาก็นำขุมความรู้นั้นมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความเพื่อนำมาสร้างเป็นวิธีการทำงานที่เป็น Best Practice แล้วส่งไปให้ผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติจริงในการทำงาน คุณประกอบจึงอาจเป็นได้ทั้งหัวหน้างาน ผู้บริหาร หัวหน้าทีมหรือคุณอำนวย ซึ่งคุณประกอบจะมีบทบาทสำคัญในการจัดการให้เกิดองค์ความรู้หรือBest practice ตาม LKASA EGG Model หรือ Bantak Model
5.
คุณเก็บหรือผู้เชี่ยวชาญความรู้
(KM specialist)หรือบรรณารักษ์ความรู้(KM Librarian) นำความรู้ที่ชัดแจ้งมาสังเคราะห์จัดหมวดหมู่ สามารถนำไปใช้ต่อยอดองค์ความรู้ได้อย่างสะดวกจึงต้องจัดทำทั้งรูปแบบ
การจัดเก็บองค์ความรู้
สถานที่จัดเก็บขุมทรัพย์ความรู้ การกำหนดการเข้าถึงขุมทรัพย์ความรู้
การจำแนกประเภทขุมทรัพย์ความรู้ คุณเก็บจะมีบทบาทสำคัญในขั้นตอนการจัดการให้เกิดขุมทรัพย์ความรู้ตาม
LKASA EGG Model หรือ Bantak Model
เขียนใน
GotoKnow
โดย
Dr. Phichet Banyati
ใน
PracticalKM
คำสำคัญ (Tags):
#kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 4423
เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2005 22:15 น. (
)
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:59 น. (
)
สัญญาอนุญาต:
จำนวนที่อ่าน
ความเห็น
ไม่มีความเห็น
หน้าแรก
สมาชิก
Dr. Phichet Banyati
สมุด
PracticalKM
คณะผู้ก่อการดีในก...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID
@gotoknow
สงวนลิขสิทธิ์ © 2005-2024 บจก. ปิยะวัฒนา
และผู้เขียนเนื้อหาทุกท่าน
นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท