โรงพยาบาลบ้านตาก : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง


เราจะพบว่าถ้าเจ็บป่วย(ทุกขภาวะ) เราต้องให้การรักษา(Curative)จะเกิดความเสี่ยงสูง(High risk)และค่าใช้จ่ายสูง(High cost) แต่ถ้าเราทำเรื่องไม่ป่วย(สุขภาวะ)เราก็ส่งเสริมป้องกัน (Prevention & promotion) เราจะมีความเสี่ยงต่ำ(Low risk)และค่าใช้จ่ายต่ำ(Low cost)
  1. บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง  โรงพยาบาลบ้านตาก : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
                 Bantak  hospital : Health Promoting Hospital Focus on citizen
รายชื่อคณะผู้วิจัย
                1.  นายแพทย์พิเชฐ  บัญญัติ นายแพทย์ 8 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านตาก จ.ตาก
                2.  นางสุภาภรณ์  บัญญัติ  พยาบาลวิชาชีพ 5 โรงพยาบาลบ้านตาก จ.ตาก
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
                การศึกษาเรื่อง โรงพยาบาลบ้านตาก : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เป็นการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบ้านตากที่สามารถผ่านการประเมินรับรองคุณภาพโรงพยาบาลได้พร้อมกันทั้งHAและHPHและเพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพของโรงพยาบาลบ้านตากโดยการวิจัยเชิงคุณภาพในการสังเกต สัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานร่วมกับการวิจัยจากเอกสารและวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิโดยใช้แนวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเป็นกรอบในการวิเคราะห์
                ผลการศึกษาพบว่าโรงพยาบาลบ้านตากมีแนวทางในการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเป็นของตนเองโดยใช้แนวคิดการจัดการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวม(Total Healthy Management : THM) ทำให้โรงพยาบาลสามารถพัฒนาสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพพร้อมไปกับการรับรองโรงพยาบาลคุณภาพส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขององค์กรที่ดีขึ้นทั้งต่อต่อองค์การ เช่น ขยายและพัฒนาโรงพยาบาลโดยไม่ใช้เงินงบประมาณด้านอาคารสถานที่ เครื่องมือแพทย์  พัฒนาโรงพยาบาลได้แม้จะมีทรัพยากรจำกัด  ผ่านการประเมินHA/HPH/HWP เป็นที่ศรัทธาของชุมชน ต่อเจ้าหน้าที่ เช่นความเครียดในการทำงานลดลง การกระทบกระทั่งกันระหว่างแผนก/วิชาชีพลดลงบรรยากาศการทำงานดีขึ้น ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่มากขึ้น คุ้นเคยกันมากขึ้น ต่อประชาชน เช่นสถานะสุขภาพดีขึ้น ความพึงพอใจบริการสูงขึ้น ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนลดลงลดลง ต่อผู้บริหาร ทำให้มีเวลาคิดวิเคราะห์งานมากขึ้นไม่ต้องตามควบคุมผู้ปฏิบัติมากนัก
                สรุปผลการศึกษานี้โรงพยาบาลต่างๆสามารถนำแนวคิดการจัดการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพได้ แต่ต้องมีความเข้าใจแนวคิดสำคัญของแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจนและสามารถเชื่อมโยงเครื่องมือต่างๆได้อย่างดี โดยเฉพาะการมองในเชิงระบบที่เห็นความเชื่อมโยงของทุกส่วนของโรงพยาบาลและทุกภาคส่วนของสังคม จากตัวแบบการวางแผนกลยุทธ์เพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์องค์กรและตัวแบบ รวบ หรือตัวแบบบูรณาการพลังชุมชนเพื่อการสร้างสุขภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนอย่างยั่งยืน โดยประชาชน เพื่อประชาชน ทำให้โรงพยาบาลกลายเป็นโรงพยาบาลใกล้บ้านใกล้ใจได้ง่าย

อ่านฉบับเต็มได้ใน www.bantakhospital.com ครับ

คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 4422เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2005 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เคยพาแฟนเข้ารักษาฉุกเฉิน ระหว่างทางเดินทางกลับบ้านที่เพชรบุรีคะ หมอและพยาบาลโรงพยาบาลบ้านตาก(ตึกผู้ป่วยชาย) ดูแลคนใข้ดีมากคะ ทั้งที่เราใช้บัตรทอง รักษาฟรี คนไข้ร้องขอให้ดูอาการอย่างไร ก็ไม่มีหน้างอ ไม่มีอารมณ์ เสีย เหมือนโรงบาลรัฐ ที่เคยเข้าคะ นิสัยดีทุกคน แม้กระทั่งพี่เข็นรถอาหาร และพี่ รปภ. คะ ประทับใจมากๆคะ และขอขอบคุณมากๆที่ดูแลคนไข้ต่างจังหวัดอย่างเรา โรงพยาบาลเล็กๆ แต่ สะอาด มาก รุ้สึกอบอุ่น ไม่สบายหายเร็วดีคะ ชื่นใจคะที่มีโรงพยาบาลรัฐเล็กๆ แต่ดีอย่างนี้คะ

ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการมีบุตรยากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท