คุณธรรมจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงาน ในความคาดหวังของผู้รับบริการ


จะได้รับบริการที่ดีที่สุด อย่างเท่าเทียม ไม่แบ่งชั้น

    ประเด็นที่ 2 ในการเสวนา “คุณธรรมจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงานห้องปฏิบัติการ” เมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา (ดูที่มาของการจัดเสวนา  คลิก) คือ  “คุณธรรมจริยธรรมของผู้ปฏิบัติงาน ในความคาดหวังของผู้รับบริการ”  เป็นมุมมองจากความเห็นของผู้ปฏิบัติงานเอง  แต่ก็โชคดี ที่มีความเห็นจากคุณนุชจิเรช ซึ่งเคยเป็นผู้รับบริการของห้องแลบจริงๆ

ในมุมมองของผู้ที่ปฏิบัติงานในจุดสัมผัสกับผู้ป่วย/ผู้รับบริการโดยตรง (รับสิ่งส่งตรวจ บริจาคเลือด) ให้ความเห็นว่า
“ผู้รับบริการคาดว่า จะได้รับบริการที่ดีที่สุด อย่างเท่าเทียม ไม่แบ่งชั้น ปฏิบัติด้วยความเสมอภาค ได้รับความสะดวก มีน้ำใจช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการ ทุกคนที่เข้ามา คาดหวังว่า เขาจะได้รับบริการที่ดีที่สุด ได้การบริการที่เป็นเป็นมิตร ได้รับการช่วยเหลือทั้งญาติและคนไข้”

ในมุมมองของผู้ปฏิบัติงานในห้องแลบ ให้ความเห็นว่า  ผู้รับบริการคาดหวังว่า ….
ผู้ปฏิบัติงาน จะทำงานอย่างมีคุณภาพได้ผลที่ถูกต้อง แม่นยำมากที่สุด รวดเร็ว ทันเวลา 
ไม่แบ่งเส้นของผู้รับบริการ ให้เป็นเส้นเดียว (มาตรฐานเดียว) ให้บริการเสมอภาคกัน
เจ้าหน้าที่จะปกปิดความลับให้เขา การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
เราจะเลือกการทดสอบที่ดีที่สุดและวิธีที่เหมาะสมที่สุดให้เขา
เราจะต้องทำงาน routine ได้เท่ากับที่ทำ EQA (ทำ test เพื่อส่งตรวจประเมินคุณภาพภายนอก)

ในมุมมองของคุณนุชจิเรศ ซึ่งเป็นผู้ช่วยพยาบาลที่โอนย้ายมา ได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจมุมมองความคาดหวังของเจ้าหน้าที่พยาบาล ที่มีต่อคนห้องแลบดังนี้
“เจ้าหน้าที่พยาบาลในหอผู้ป่วย มีความคาดหวังว่า เจ้าหน้าที่ห้องแลบ ต้องรู้ทุกอย่าง ทุกขั้นตอน คิดว่าห้องแลบมีความสำคัญ เพราะบางครั้งแม้กระทั่งชีวิตคนไข้ก็ขึ้นอยู่กับห้องแล็บ  คิดว่าห้องแล็บ จะทำให้ได้ภายในเวลาเช่น 15 นาที แต่รอแล้วก็ยังไม่ได้  หมอก็เหมือนกัน ไม่ได้รู้ทุกอย่าง คิดว่าห้องแล็บจะทำให้เขาได้ทุกอย่าง  แต่พอมาอยู่ห้องแล็บ รู้เลยว่ามีขั้นตอนมากมาย  ความไม่เข้าใจเหล่านี้ หากมีการประสานระหว่างห้องแล็บกับฝ่ายพยาบาลหรือแพทย์ผู้รักษา ปัญหาก็จะหมดไป”
 
    ดังจะเห็นว่า พวกเราถูกคาดหวังไว้มาก ทั้งในการทำงานที่มีคุณภาพ การปฏิบัติต่อผู้รับบริการอย่างเท่าเทียม และ ที่สำคัญยิ่งคือการเก็บรักษาข้อมูลผู้ป่วย  และอื่นๆ … หวังว่าข้อมูลในบันทึกทั้งสองตอน จะเป็นประโยชน์ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับทุกคนในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ซึ่งถือเป็นทีมร่วมดูแลรักษาผู้ป่วยที่สำคัญทีมหนึ่ง 

 
หมายเลขบันทึก: 4431เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2005 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวดดดยอดดดดดด...ไปเลยลวกเพี้ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท