298 : อาทิตย์ทรงกลดแบบ เส้นสัมผัสบน ที่เพชรบูรณ์ & การจำลองเหตุการณ์


 
คุณ Myanmar Tantanawat สมาชิกชมรมคนรักมวลเมฆ
ได้โพสต์ภาพอาทิตย์ทรงกลดที่น่าสนใจใน facebook ไว้ดังนี้
 
ภาพความละเอียดสูง : รอไฟล์
นี่เป็นการทรงกลดที่เรียกว่า เส้นสัมผัสบน (Upper Tangent Arc, UTA) ซึ่งพบไม่บ่อยนัก

เส้น UTA นี้เกิดจากการหักเหของแสงอาทิตย์ผ่านผลึกน้ำแข็งรูปแท่ง (columnar crystals) ที่วางตัวในแนวนอน (เส้นสีน้ำเงินในภาพข้างล่าง)


 
ในการจำลองเหตุการณ์ โดยใช้โปรแกรม HaloPoint 2.0 ได้ใช้โมเดลผลึกน้ำแข็ง 2 แบบ ดังนี้
1) ผลึกน้ำแข็งรูปแท่ง ขนาด c/a = 1.5 วางตัวในแนวนอน เอียง +/- 1 องศา ปริมาณ 80% (เพื่อให้เกิดเส้น UTA)

2) ผลึกน้ำแข็งรูปแท่ง ขนาด c/a = 1.5 วางตัวเอียงอย่างสุ่มๆ ไร้ทิศทาง ปริมาณ 20%

พิกัดจังหวัดเพชรบูรณ์ (Lat : 16.42 N, Long = 101.16 E) คำนวนโดยใช้ www.WikiMapia.org


มุมเงย (sun altitude) 4.5 องศา คำนวณจากวันที่ 4 มิถุนายน 2554 (ค.ศ. 2011) เวลา 6.06am โดยใช้โปรแกรมในเว็บ http://jamesrbass.com/sunform.aspx



 
ผลที่ได้สำหรับ โมเดลผลึกน้ำแข็ง แบบที่ 1 เป็นดังนี้ครับ
 
 
 
 

สรุปไว้ใน facebook ดังนี้

 
 

หมายเลขบันทึก: 442815เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2011 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

          ดีจังค่ะปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ชมหลายรูปแบบ อีกไม่กี่วัน 15 -16 มิย.54 นี้ก็คงได้ตื่นตาตื่นใจกันอีกแล้วนะคะ  จันทรุปราคาเต็มดวง และดวงจันทร์บังดาวฤกษ์ โอฟีอุชชื สงสัยพี่ดารอชมไม่ได้ เป็นเวลานอนหลังเที่ยงคืน พี่ดาคงได้ชมภาพเต็มอิ่มจากชมรมแน่ๆ เตรียมใจรอชมภาพแล้วค่ะ 

        สมาชิกชมรมมีกล้องถ่ายภาพเจ๋งๆ พี่ดาจะได้ชม ทางช้างเผือก ในขณะดวงจันทร์ถูกเงาโลกบัง หรือไม่นะ และดวงจันทร์บังดาวฤกษ์โอฟีอุชชี อีก  ดวงจันทร์จะเป็นสีแดงอิฐ เวลา 02.12 น.     เอ...หรือพี่ดาจะรอชมจริงๆดีนะ  มีถ่ายทอดสดให้ชมด้วย ผ่านเว๊ปไซต์   www.narit.or.th     ลุ้นที่จะได้ชมภาพ งดงาม สวยๆนะคะ

 

ขอบคุณค่ะ..เพิ่งเคยเห็น..งามไปอีกแบบหนึ่ง..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท