ใบความรู้ที่ 4 บัตรรายการหนังสือ(ตอนที่2)


วิชาการใช้ห้องสมุด

4.  บัตรแจ้งหมู่หนังสือ  (Shelflist  Card)  คือ  บัตรที่มีรายการต่าง ๆ เหมือนบัตรผู้แต่ง          แต่ไม่มีแนวสืบค้น  และเพิ่มเลขทะเบียนหนังสือเพื่อแสดงให้ทราบว่าหนังสือเล่มนั้นเข้าห้องสมุด  เป็นเล่มที่เท่าใด  และมีจำนวนกี่เล่ม  บัตรประเภทนี้จะเรียงตามลำดับเลขเรียกหนังสือซึ่งจะแตกต่างจากการเรียงบัตรรายการชนิดอื่น ๆ  และจะใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานของบรรณารักษ์ได้อีกด้วย 

 

796.325                 จักรกฤษณ์  นรนิติผดุงการ.                              

จ216ส                        สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ        

กับกระทรวงมหาดไทย.  พิมพ์ครั้งที่  2.  กรุงเทพฯ :             

                   โอเดียนสโตร์, 2537.                                                                   

1566                            604  หน้า. ภาพประกอบ. (ชุดไทยศึกษา)                              

1567 ฉ2                                     ISBN  974-275-396-4

1568 ฉ3                                     1.  การบริหารรัฐกิจ- ส่วนกลาง.  2.  ชื่อเรื่อง.  3.  ชื่อชุด.          

 

 

 ตัวอย่าง  บัตรแจ้งหมู่หนังสือภาษาไทย 

 

808.0426              Shaw,  Harry, 1905 -                                     

S845e                         Errors  in  English  and  ways  to  correct  them /

Harry  Shaw.  3 rd  ed.  New  York,  NY :  Harper & Row,

                                1986.                                                                    

                                     288  p.  :  index.                                          

2442                            ISBN  0-06-097047-2.

2443 C2                     1.  ENGLISH  LANGUAGE—GRAMMAR.  1. Title.          

 

 

 ตัวอย่าง  บัตรแจ้งหมู่หนังสือภาษาต่างประเทศ 

                5.  บัตรโยง  (Cross  Reference  Card)  เป็นบัตรซึ่งโยงจากชื่อผู้แต่ง  หรือหัวเรื่อง           จากชื่อหนึ่งซึ่งห้องสมุดไม่ใช้ไปยังอีกชื่อหนึ่งที่ห้องสมุดใช้  มี  2  ชนิด  ดังนี้

                 5.1  บัตรโยง  “ดูที่”  (See  Cross  Reference  Card)  ได้แก่  บัตรที่โยงจากหัวเรื่อง                ที่ห้องสมุดไม่ใช้ไปยังหัวเรื่องที่ห้องสมุดใช้  และบัตรโยงจากนามแฝงของผู้แต่งไปยังนามจริง

 

 

 

ภูไทย

ดูที่

ผู้ไทย

 

 

 

 

 

 ตัวอย่าง  บัตรโยงหัวเรื่องที่ห้องสมุดไม่ใช้ไปยังหัวเรื่องที่ใช้ในห้องสมุด  หนังสือภาษาไทย

 

 

 

Primary  Education

See

EDUCATION  ELEMENTARY

 

 

 

 

 

 ตัวอย่าง  บัตรโยงจากหัวเรื่องที่ห้องสมุดไม่ใช้ไปยังหัวเรื่องที่ใช้ในห้องสมุด  หนังสือภาษาอังกฤษ 

 

 

 

กนกเรขา

ดูที่

วิมล  ศิริไพบูลย์

 

 

 

 

 

 ตัวอย่าง  บัตรโยงนามแฝงไปยังนามจริง

                 5.2  บัตรโยง  “ดูเพิ่มเติม”  (See  Also  Cross  Reference  Card)  หมายถึงบัตรที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเพื่อใช้โยงหัวเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

 

                                                พฤติกรรมศาสตร์

                                                     ดูเพิ่มเติม

                                                พฤติกรรมเด็ก

                                                พฤติกรรมมนุษย์

                                                พฤติกรรมร่วม

                                                พฤติกรรมสัตว์

 

 ตัวอย่าง  บัตรโยง  “ดูเพิ่มเติม”  หนังสือภาษาไทย 

 

 

 

     FOOTBALL

          See  Also

SOCCER

 

 

 

 

 

 ตัวอย่าง  บัตรโยง  “ดูเพิ่มเติม”  หนังสือภาษาต่างประเทศ 

            6.  บัตรเพิ่ม  (Added  Card)  คือบัตรที่จัดทำเพิ่มเติมขึ้น  เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บัตรรายการในการค้นหาหนังสือที่ต้องการรายการต่าง ๆ  ในบัตรเพิ่มจะเหมือนบัตรผู้แต่งแต่                ไม่มีแนวสืบค้น  และเพิ่มรายการที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งอาจเป็นชื่อบุคคล  หรือชื่อชุดไว้ในบรรทัดแรก          ของบัตร  ดังนี้

                       ก่องกัญจน์  ภัทรากาญจน์, ผู้แต่งร่วม.

513                         ธิดาสิริ  ภัทรากาญจน์.                                                 

ธ234ค                         คณิตคิดสนุก : คณิตศาสตร์รอบตัวเรา.  พิมพ์ครั้งที่  2.

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.          

                                     203  หน้า.  ตาราง.                                             

                                     ISBN  974-13-0303-3

 

 

                 6.1  บัตรผู้แต่งร่วม  (Joint  Author  Card)  เป็นบัตรที่มีชื่อผู้แต่งร่วมอยู่บนบรรทัดแรกของบัตร  ห้องสมุดจัดทำบัตรนี้ในกรณีที่หนังสือเล่มนั้นมีผู้แต่งไม่เกิน  3  คน  ใช้บัตรนี้เมื่อทราบ        ชื่อผู้แต่งร่วมคนที่ 2 หรือคนที่  3  เพื่อตอบคำถามว่าห้องสมุดมีหนังสือที่มีผู้แต่งร่วมที่ตนต้องการหรือไม่

 ตัวอย่าง  บัตรผู้แต่งร่วมหนังสือภาษาไทย

                                     Vittal,  Vijay. Jt.  Auth.

621.31                   Bergen,  Arthur  R.                                

B-P                             Power  Systems  Analysis.  2 nd  ed.              

Upper  Saddle  River,  New  Jersey : Prentice  Hall, 

                                2000.                                                                   

                                     619  p.  :  Illus.                                          

                                     ISBN  0-13-691990-1

 

 ตัวอย่าง  บัตรผู้แต่งร่วมหนังสือภาษาอังกฤษ

                 6.2  บัตรผู้แปล  (Translator  Card)  เป็นบัตรที่มีชื่อผู้แปลอยู่บนบรรทัดแรกของบัตร           ใช้บัตรนี้เมื่อทราบชื่อผู้แปล  เพื่อใช้ตอบคำถามว่าห้องสมุดมีหนังสือที่เป็นผลงานของผู้แปล           คนที่ต้องการหรือไม่

                       งามพรรณ  เวชชาชีวะ,  ผู้แปล. 

823.914                 โรว์ลิ่ง,  เจ. เค.                                               

ร942ฮ                         แฮร์รี่  พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี.  พิมพ์ครั้งที่  2.       

กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2544.          

                                     832  หน้า.       .                                              

                                     ISBN  974-472-964-3

 

 

 ตัวอย่าง  บัตรผู้แปลหนังสือภาษาไทย

                 6.3  บัตรชื่อชุดหนังสือ  (Series  Card)  คือบัตรที่มีชื่อชุดหนังสืออยู่บนบรรทัดแรก        ของบัตร  ผู้ที่จะใช้บัตรนี้ได้เมื่อทราบชื่อชุดหนังสือ  และเมื่อต้องการจะทราบว่าหนังสือ                       ในชุดเดียวกันมีชื่อเรื่องว่าอะไรบ้าง

                       ชุดความรู้เพื่อชุมชน  เล่มที่  39.     

513                         ธิดาสิริ  ภัทรากาญจน์.                                                

ธ234ค                         คณิตคิดสนุก : คณิตศาสตร์รอบตัวเรา.  พิมพ์ครั้งที่  2.

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.          

                                     203  หน้า.  ตาราง.                                             

                                     ISBN  974-13-0303-3

 

 

 ตัวอย่าง  บัตรชื่อชุดหนังสือภาษาไทย

            หนังสือเล่มหนึ่ง ๆ  จะมีบัตรรายการที่สำคัญ  และเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้ใช้อยู่  3  บัตร                      คือ  บัตรผู้แต่ง  บัตรชื่อเรื่อง  และบัตรหัวเรื่อง  ซึ่งจะเรียงไว้ตามลำดับอักษรในตู้บัตรรายการ           ในการค้นหานั้นหากทราบชื่อผู้แต่งให้ค้นจากบัตรผู้แต่ง  ถ้าไม่ทราบชื่อหนังสือให้ค้นจากบัตรชื่อเรื่อง  ถ้าไม่ทราบทั้งสองอย่างที่กล่าว  ให้ค้นที่บัตรหัวเรื่อง  โดยเลือกหัวเรื่องให้ตรงหรือใกล้เคียง      กับเรื่องที่ต้องการให้มากที่สุด  เมื่อพบบัตรที่ต้องการแล้วให้จดรายละเอียดเกี่ยวกับเลขเรียกหนังสือ           ผู้แต่ง  ชื่อหนังสือแล้วไปค้นหาหนังสือจากชั้น  

 7. การเรียงบัตรรายการ 

            เมื่อห้องสมุดหรือแหล่งสารสนเทศได้รับหนังสือเข้ามาในแต่ละชื่อเรื่องก็จะทำบัตรรายการ         เพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้ใช้บริการได้ค้นหาสารสนเทศตามที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว  โดยเมื่อจัดทำ เสร็จเรียบร้อยแล้ว  ต้องนำมาเก็บเรียงในลิ้นชักของตู้บัตรรายการ  โดยมีวิธีในการเรียง  ดังนี้

            1.  การเรียงบัตรแบบพจนานุกรม  (Dictionary  Catalog)  โดยการนำบัตรทุกประเภท           มารวมกันและเรียงตามลำดับตัวอักษรตามข้อความที่อยู่ในบรรทัดแรกของบัตร  การเรียงแบบนี้ เหมาะกับห้องสมุดขนาดเล็ก  ที่มีผู้ใช้ไม่มากนัก

            2.  การเรียงโดยแยกประเภทของบัตร  (Divied  Catalog)  โดยการแยกบัตรรายการ                    แต่ละประเภทออกจากกัน  แล้วนำมาเรียงตามลำดับตัวอักษรของข้อความที่อยู่ในบรรทัดแรกของบัตร  สำหรับบัตรเพิ่มและบัตรโยง  ถ้าสัมพันธ์กับบัตรประเภทใดก็จัดเรียงไว้กับประเภทนั้น ๆ เช่น                บัตรผู้แต่งร่วม  บัตรผู้แปล  จะจัดรวมไว้กับบัตรผู้แต่ง

            3.  การเรียงตามเลขหมู่หนังสือ  (Classified  Catalog)  วิธีนี้จะเรียงบัตรรายการตามลำดับ        เลขเรียกหนังสือที่ปรากฏตรงมุมซ้ายของบัตร  ไม่นิยมใช้กับการเรียงบัตรทั่วไป  แต่จะใช้กับ                  การเรียงบัตรแจ้งหมู่  หรือบัตรทะเบียนหนังสือของห้องสมุด

            การเรียงบัตรรายการที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย  คือ  การจัดเรียงแบบแยกประเภทของบัตร              คือ  บัตรผู้แต่ง  บัตรชื่อเรื่อง  บัตรหัวเรื่อง  และจัดเรียงตามเกณฑ์การเรียงแบบพจนานุกรม

            7.1  หลักเกณฑ์การเรียงบัตรรายการภาษาไทย 

                   7.1. 1  จัดเรียงตามลำดับพยัญชนะตัวแรกของคำที่ปรากฏ  โดยยึดถือหลักเกณฑ์                 การจัดเรียงตามแบบพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  คือ  ตั้งแต่  ก – ฮ  ตัว  ฤ  ฤๅ                จัดเรียงไว้หลังตัว  ร  และ  ฦ  ฦๅ  จัดเรียงไว้หลัง  ล  ทั้งนี้  โดยไม่คำนึงถึงการออกเสียง                            เช่น  อยาก   จัดเรียงไว้ที่พยัญชนะ  อ  ดังตัวอย่าง

 

                                รัถพร

                                ฤดู

                                ฤาษี

                                ลับ

                                ฦๅชา

                                อย่า

                    7.1.2   หากพยัญชนะตัวแรกเหมือนกัน  ให้จัดเรียงพยัญชนะตัวที่ไม่มีรูปสระเกาะไว้ก่อน  ดังตัวอย่าง

                                ศรี

                                ศิริ

                    7.1.3  หากพยัญชนะตัวแรกเหมือนกัน  มีรูปสระเกาะ  ให้จัดเรียงตามลำดับรูปสระ             ที่เกาะอยู่ที่พยัญชนะตัวนั้น  ตามที่กำหนดไว้ในพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ซึ่งมีดังนี้ 

กลุ่มที่  1

กลุ่มที่  2

กลุ่มที่  3

กลุ่มที่  4

กลุ่มที่  5

-ะ

เ -

แ -

โ -

ใ -

 

เ - ะ

แ - ะ

โ - ะ

ไ -

- า

เ - า

 

 

 

 

เ - าะ

 

 

 

             หมายเหตุ  อ.  เป็นพยัญชนะ  ไม่ใช่รูปสระ  เวลาจัดเรียงถือเป็นพยัญชนะ  ตัวอย่างเช่น

                                กอบชัย

                                กางเขน

                                กินข้าว

                                เกราะ

                                เกลือ

                                เกา

                                เกิน

                                เกือบ

                                แกะ

            หมายเหตุ  เก/ราะ  รูปสระที่เกาะที่  ก   คือ  เ -  เท่านั้น  ส่วน  - าะ  เกาะ  อยู่ที่พยัญชนะ  ร             จึงจัดเรียงไว้ก่อน  เกา  ซึ่งมีรูปสระ  เ – า  เกาะอยู่ที่พยัญชนะ  ก  เช่นเดียวกันกับ  เก/ลือ  รูปสระ               ที่เกาะที่  ก  คือ  เ -  เท่านั้น  ส่วน  -ื  เกาะอยู่ที่  ล  จึงเรียงไว้ก่อน  เกา 

                    7.1.4   หากพยัญชนะและรูปสระตัวแรกเหมือนกัน  ให้จัดเรียงตามลำดับพยัญชนะและ           รูปสระของตัวที่ถัดไปเรื่อย ๆ  ดังตัวอย่าง

                                เกรียง

                                เกลือ

                                เกิน

                                เกียรติ์

                                เกียรติศักดิ์

                                เกือบ

            หมายเหตุ  ไม้ทัณฑฆาต  (  ์ )  ไม่นำมาคิดในการจัดเรียงเพราะไม่ใช่พยัญชนะหรือรูปสระ

                    7.1.5  หากพยัญชนะและรูปสระของชื่อผู้แต่งเหมือนกัน  ให้จัดเรียงตามลำดับตัวอักษร  ของนามสกุล  ดังตัวอย่าง

                                เพ็ญ  ต้นสกุล

                                เพ็ญ  สมชาติ

                                เพ็ญพรรณ  เพ็ญประทุม

                    7.1.6  อักษรย่อจัดเรียงไว้หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเดียวกัน  ดังตัวอย่าง

                                น.  นิรมล

                                น.  ประภาสถิต

                                น.ม.ส.

                                น้องน้อย  สุวรรณวารี

                                นารถ  ถาวรบุตร

            หมายเหตุ  วรรณยุกต์  ไม่นำมาคิดในการจัดเรียง  เพราะไม่ใช่พยัญชนะ  หรือรูปสระ

                    7.1.7  คำย่อ  ให้จัดเรียงตามลำดับตัวอักษรของคำย่อนั้น ๆ  ดังตัวอย่าง

                                ดร.  โน  (จัดเรียงเหมือนคำเต็ม  คือ  ดอกเตอร์  โน)

                                ดอกกุหลาบ

                                ดอกเตอร์ครก

                                มร.  ทอม

                                มิสเตอร์เกลน

 

 

 

                    7.1.8  ผู้ที่มีนามบรรดาศักดิ์ตรงกัน  ให้เรียงตามลำดับบรรดาศักดิ์จากสูงไปหาต่ำ            ดังตัวอย่าง

                                พระคลัง,  เจ้าพระยา

                                พระคลัง,  พระยา

                                ศรีสุนทรโวหาร,  พระยา

                                ศรีสุนทรโวหาร,  พระ

                    7.1.9  ผู้แต่งคนเดียวกัน  แต่งหนังสือหลายเล่ม  ให้จัดเรียงตามลำดับตัวอักษรของชื่อเรื่อง  ดังตัวอย่าง

                                เดโช  สวนานนท์

                                จิตวิทยาทั่วไป

                                เดโช  สวนานนท์

                                จิตวิทยาสังคม

                    7.1.10  หนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน  และเขียนโดยผู้เขียนคนเดียวกัน  ให้จัดเรียงตามลำดับ ครั้งที่พิมพ์  หรือปีที่พิมพ์  จากใหม่ไปหาเก่า  ดังตัวอย่าง

                                ลมุล  รัตตากร

                                                การใช้ห้องสมุด.  พิมพ์ครั้งที่  3

                                ลมุล  รัตตากร

                                                การใช้ห้องสมุด.  พิมพ์ครั้งที่  2

                                ลมุล  รัตตากร

                                                การใช้ห้องสมุด

                    7.1.11  ตัวเลขในชื่อหนังสือหรือชื่อเรื่อง  ให้จัดเรียงตามลำดับค่าของตัวเลขจากน้อย        ไปมาก  ดังตัวอย่าง

                                30  ชาติในเชียงราย

                                100  ปีของสุนทรภู่

                                101  เมืองคนงาม

                                1001  ทิวา 

                    7.1.12  หากคำในบรรทัดแรกเหมือนกัน  ให้จัดเรียงตามลำดับตัวอักษรของคำที่อยู่ในบรรทัดถัดไป  ดังตัวอย่าง

                                                บรรณารักษศาสตร์

                                นนทนา  เผือกผ่อง

                                                บรรณารักษศาสตร์

                                แม้นมาส  ชวลิต

                                                บรรณารักษศาสตร์

                                ลุมล  รัตตากร

                    7.1.13  หัวเรื่องเดียวกันที่มีหัวเรื่องย่อย  ให้จัดเรียงลำดับตัวอักษรของหัวเรื่องย่อย                ดังตัวอย่าง

                                ไทย

                                ไทย - - เขตแดน

                                ไทย - - ความเป็นอยู่และประเพณี

                                พม่า

                                พม่า - - เขตแดน

                    7.1.14  หัวเรื่องทางประวัติศาสตร์ที่แบ่งตามสมัย  ให้จัดเรียงตามลำดับปี  หรือเหตุการณ์         ที่เกิดขึ้น  ไม่ใช่เรียงตามลำดับตัวอักษร  ดังตัวอย่าง

                                ไทย - - ประวัติศาสตร์

                                ไทย - - ประวัติศาสตร์ - - สมัยสุโขทัย, 1800 – 1900

                                ไทย - - ประวัติศาสตร์ - - กรุงศรีอยุธยา, 1893 – 2310

          

หมายเลขบันทึก: 440942เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2011 23:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2018 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มี 3 ตอนเพราะเหนื้อหายาวเกินไปจ้ะ

ตั้งใจสรุปหน่อยนะจ้ะนักเรียนที่น่ารัก

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท