คนท้องไม่ต้องกิน 2 เท่า


สำนักข่าว Telegraph.co.uk ตีพิมพ์เรื่อง Pregnant women warned not to 'eat for two' = "(เตือน)ผู้หญิงตั้งครรภ์ อย่ากินเพื่อคน 2 คน" หรือ "คนท้องไม่ต้องกิน 2 เท่า", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริสตอล อังกฤษ (UK) ทำการศึกษา (ตีพิมพ์ใน Am J Clinical Nutrition) กลุ่มตัวอย่าง 3,877 คน พบว่า การกินเพิ่มเป็น 2 เท่าเพิ่มเสี่ยงน้ำหนักเพิ่ม ส่งผลร้ายต่อทั้งคุณแม่ และคุณลูก 
.
ช่วง 6 เดือนแรกควรกินอาหาร 1,940 แคลอรี/วัน (ขนาดฝรั่ง) หรือประมาณ 1,600 แคลอรีในคนเอเชีย เท่ากับตอนไม่ตั้งครรภ์
.
คนเราตั้งท้องเฉลี่ย 9 เดือน แบ่งเป็น 3 ไตรมาส (trimester = ไตรมาส; ไตร = 3; มาส = เดือน)
.
ช่วง 3 เดือนสุดท้ายควรกินเพิ่ม 200 แคลอรี/วัน = แคลอรีในขนมปังปิ้งทาเนยบางมากๆ 2 แผ่น = ข้าวสวย 2.5 ทัพพีเล็ก-
 .
การศึกษานี้พบว่า ผู้หญิงที่อ้วนขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์มีโอกาสน้ำหนักเกิน หรือมีหุ่นแอปเปิ้ล (apple-shaped = หุ่นลงพุง หรือป่องตรงพุง) ใน 16 ปีต่อมาเพิ่มเป็น 3 เท่า
.
การตั้งครรภ์และการคลอดก็คล้ายกับอีกหลายๆ เรื่องในชีวิต คือ เป็นเรื่องของความเสี่ยง ไม่ได้ปลอดภัย 100% เสมอไป
.
สถิติอังกฤษปี 2007 หรือ พ.ศ. 2550 พบว่า ครึ่งหนึ่งของผู้หญิงที่เสียชีวิตในระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอดใหม่ๆ มีน้ำหนักเกิน
.
คนที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนทำให้โรงพยาบาลต้องใช้รถเข็น (wheelchairs), ประตู เตียงขนาดใหญ่ขึ้น, พนักงานเปลปวดหลังและเจ้าหน้าที่ เช่น พยาบาล ฯลฯ ปวดหลังมากขึ้น (จากการช่วยกันยกคนไข้)
.
การผ่าท้องทำคลอดหรือที่เรียกว่า "ทำซีซาร์ (caesarean sections)" ในคนที่มีน้ำหนักเกินเสี่ยงอันตราย เช่น ติดเชื้อ ตกเลือด หลอดเลือดดำอุดตันเพิ่มขึ้น ฯลฯ และเพิ่มเสี่ยงโรคอ้วน-เบาหวานในเด็กที่คลอดออกมาด้วย
.
หลักการสำคัญในการกินอาหารก่อนท้อง-ช่วงท้อง คือ ควรเพิ่มเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะการเพิ่มวิตามิน B หรือโฟเลต, ไอโอดีน, เหล็ก, แคลเซียม แร่ธาตุ-วิตามินให้พอ
.
ตัวอย่างเช่น ควรกินปลาทะเลที่ไม่ผ่านการทอด 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ กินยาเม็ดไอโอดีน-ยาบำรุงที่ได้รับให้ครบ กินนมไขมันต่ำหรือนมไม่มีไขมัน 2-3 แก้ว/วัน ฯลฯ
.
คนที่ตั้งใจจะท้องควรกินวิตามิน B9 หรือกรดโฟลิค (folic acid / folate) เสริมวันละ 1 เม็ด (400 ไมโครกรัม) ล่วงหน้า 3-6 เดือนก่อนท้องจนถึง 2-3 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เพื่อลดความเสี่ยงความพิการ เช่น สมอง-ไขสันหลัง-กระดูกสันหลังผิดปกติ (ลดลง 70%) ฯลฯ [ NIH ]; [ vic.gov.au ]; [ womenshealth ]
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 18 พฤษภาคม 2554.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
  • ยินดีให้ทานนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
หมายเลขบันทึก: 440262เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2011 12:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท