กอดอกไว้แล้วใจ(สมอง)จะเจ็บน้อยลง [EN]


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'In pain? Crossing your arms may help' = "กอดอก (ไขว้แขน) ไว้ อาจช่วยลดปวดได้", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ  
.
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลับคอลเลจ ลอนดอน (UCL) ทำการศึกษา (ตีพิมพ์ใน Pain) พบว่า การทำให้สมองสับสนนิดหน่อยจะทำให้ความเจ็บปวดทางกายน้อยลงได้
.
สมองคนเรามีแผนที่เสมือน 2 ชุด ชุดหนึ่งจำลองพื้นที่อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย อีกชุดหนึ่งจำลองพื้นที่นอกร่างกาย (เช่น ภาพที่ตามองเห็น เสียงที่หูได้ยิน ฯลฯ)
.
ปกติคนเรามักจะใช้มือข้างซ้ายสัมผัสของนอกกายทางด้านซ้าย และใช้มือข้างขวาสัมผัสของนอกกายทางด้านขวา
.
ถ้า "ซ้ายตรงกับซ้าย-ขวาตรงกับขวา" แบบนี้, เรียกว่า ไม่เกิดความขัดแย้ง (no conflict; conflict = ความขัดแย้ง), สมองจะไม่งง
.
ทว่า... ปัญหา คือ ถ้าสมองไม่งง จะประมวลผล (process) ความเจ็บปวดได้ดี ทำให้การรับรู้ความเจ็บปวดเป็นไปอย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง
  • [ conflict ] > [ ค้อน - ฝลิค - t ] > http://www.thefreedictionary.com/conflict > noun = ความขัดแย้ง; verb = ทำให้ขัดแย้ง ทำให้ไม่เข้ากัน; ศัพท์นี้มาจากภาษาละติน (con- = ร่วมกัน; -flict = ตี; รวม = ตีกัน ต่อสู้กัน)
  • [ process ] > [ พร้อ - เสส - s ] - คำนามเน้นเสียงพยางค์หน้า; [ ผร่อ - เซส - s ]  - คำกริยาเน้นเสียงพยางค์หลัง > http://www.thefreedictionary.com/process > noun = การประมวลผล วิธีการ กระบวนการ; verb = ประมวลผล ลงมือทำ (ตามกระบวนการ วิธีการ)
  • [ interest ] > [ อิ่น - เถอะ - เหรส - t; เสียง "เถอะ" สั้นมาก ] แบบอเมริกัน หรือ [ อิ๊น - เถรส - t ] แบบอังกฤษ> http://www.thefreedictionary.com/interest > noun = ความสนใจ ผลประโยชน์ ดอกเบี้ย; verb = ทำให้สนใจ
 
หลักการใหม่อาจเลียนแบบ หรือได้รับแรงบันดาลใจจากการเมืองไทย โดยทำให้เกิดความขัดแย้งของผลประโยชน์ (conflict of interest; conflict = ความขัดแย้ง; interest = ผลประโยชน์ ความสนใจ) หรือทำให้ระบบ "ผลประโยชน์ทับซ้อน" แปรปรวนเรรวนนิดหน่อย
.
หลักการใหม่นี้เรียกว่า 'conflicting information' = "การทำให้ข้อมูลขัดแย้ง" ภายในสมอง โดยนำแขนมาไขว้ข้ามส่วนกลางลำตัว เช่น กอดอกแน่นๆ เวลาเจ็บปวด ฯลฯ
.
การกอดอกทำให้มือขวาข้ามไปอยู่ด้านซ้ายของลำตัว มือซ้ายข้ามไปอยู่ด้านขวาของลำตัว สมองจะงงนิดหน่อย ประมวลความเจ็บปวดได้ไม่ชัดเจน ทำให้ปวดน้อยลง
.
การศึกษาใหม่ ทำในกลุ่มตัวอย่าง 8 คน โดยการใช้เลเซอร์ฉายไปที่ผิวหนังนาน 4 มิลลิวินาที (millisecond) = 4/1,000 วินาทีครั้งหนึ่ง, ฉายครั้งที่ 2 หลังให้ไขว้แขน (arm crossed; arm = แขน; cross = ข้าม) ก่อนฉาย
.
มีการติดแถบวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) วัดว่า ปฏิกริยาตอบสนองเป็นอย่างไร มากหรือน้อย
.
ผลการศึกษาพบว่า การไขว้แขน หรือกอดอก ทำให้การรับรู้ความเจ็บปวดทางกายลดลง, ส่วนความเจ็บปวดทางใจ เช่น อกหัก ฯลฯ จะลดลงหรือไม่ คงต้องไปลองกอด (อก) กันดูเอง
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.
 

> [ Twitter ]

  • Thank Reuters > SOURCE: bit.ly/fy9NIu Pain, June 2011.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 21 พฤษภาคม 2554.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
  • ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
หมายเลขบันทึก: 440259เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2011 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท