เล่าสู่กันฟังแบบสบายๆนะ


ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ

วันนี้ได้มีโอกาสเข้าไปเว็บไซต์เจ้าประจำ เพื่อสืบค้นข้อมูลและอ่านข่าวสารประจำวัน   แว๊บบบ..เข้าไปเจอหัวข้อน่าสนใจ สรุปคำวินิจฉัยคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง  ก็เลยหยิบขึ้นมาเขียนให้เพื่อนๆชาวการเงินการคลังอ่าน ค่ะ

ประเภทสำนวน  ทุจริต  เรื่อง การทุจริตการเบิกเงินเดือนเป็นเท็จ

ข้อเท็จจริงมีว่า ระหว่างเดือนตุลาคม 2532 ถึง เดือนสิงหาคม 2540 นาย ส. เจ้าหน้าที่การเงินของ หน่วย ร. ทุจริตการเบิกจ่ายเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ในหน่วยย่อยเกินกว่าความเป็นจริง โดยใช้วิธีจัดทำฎีกาเบิกเงินเดือนตามยอดเบิกเงินเดือนตามยอดเบิกจริงของหน่วยย่อย โดยตนเองเป็นผู้ลงนามในฎีกาแล้วนำเสนอหัวหน้าหน่วย ร. ลงนามอนุมัติให้เบิกจ่ายเงินในบัญชีเงินเดือน แต่นาย ส. มิได้นำฎีกาดังกล่าวไปเบิกเงินจากหน่วยใหญ่ (หน่วย อ.) โดยได้จัดทำฎีกาเบิกเงินปลอมขึ้นมาใหม่อีกฉบับหนึ่งซึ่งมียอดสูงกว่าฎีกาที่เสนอหัวหน้าหน่วย ร. แล้วนำไปขอเบิกที่หน่วย อ. ด้วยตนเอง ส่วนฎีกาต้นฉบับที่มียอดถูกต้อง นาย ส. จะทำลายเสีย  หลังจากนั้นเมื่อหน่วย อ. อนุมัติฎีกาแล้วจ่ายเช็คให้แก่หน่วย ร. และนาย ส. ได้รับเช็คจากหน่วย อ.  จะนำเข้าบัญชีของหน่วย ร. แล้วเสนอเช็คของ หน่วย ร.ให้หัวหน้าหน่วย ร.ลงลายมือชื่อในเช็คร่วมกับนาย ส. เพื่อสั่งจ่ายเงินเดือนให้หน่วยย่อยที่ขอเบิก โดยนาย ส. ได้แนบหลักฐานรายงานขออนุมัติรับเงินและฎีกาเบิกเงินเดือนฉบับที่ปลอมยอเงินเดือนที่มียอดสูงกว่าความเป็นจริงมาพร้อมกับเช็คด้วย เพื่อให้หัวหน้าหน่วย ร. ลงลายมือชื่อในเช็คในฐานะผู้สั่งจ่าย จากนั้น นาย ส. จะไปรับเงินสดตามเช็คและนำมาจ่ายให้หน่วยย่อยตามจำนวนเงินเดือน และทุจริตยกยอกเงินส่วนเกิน และนำเรียนหัวหน้าหน่วยทราบถึงการจ่ายเงินเดือน โดยแนบสมุดเช็คที่ต้นขั้วระบุยอดเงินที่ถูกต้องตรงกับยอดเงินที่จ่ายจริงในสมุดเงินสดจ่าย ตรวจสอบการจ่ายอีกครั้งหนึ่ง แล้วให้ นาย ป. ปลอมลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของฝ่ายการเงินหน่วย อ. ในฎีกาสำเนาเบิกเงินฉบับที่มียอดเงินถูกต้องตรงกับยอดเงินในบัญชีเงินเดือนที่ต้องจ่ายจริง  แล้วนำฎีกาฉบับดังกล่าวพร้อมสมุดบัญชีเงินสดเก็บไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบต่อไป หรือใช้วิธีแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของหน่วย อ. เพิ่มหมายเลขบัญชีของหน่วย อ. ซึ่งมิใช่หมายเลขบัญชีของหน่วย ร. ลงในเช็คที่หน่วย อ.ต้องจ่ายแก่หน่วย ร. แล้วนำเงินส่วนเกินเข้าบัญชีของนาย ส. ก่อนนำเสนอเช็คหน่วย ร.ให้หัวหน้าหน่วย ร.ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย นอกจากนี้ยังปรากฎว่าในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2539 ถึงเดือนสิงหาคม 2540 นาง พ.เจ้าหน้าที่การเงินของหน่วย ส. จะแจ้งยอดเงินคงเหลือในอัตราถือจ่ายหมวดเงินเดือนที่หน่วย ส. ต้องเบิกจ่ายให้การสนับสนุนให้แก่ นาย ส. ทราบ หลังจากหน่วยต่าง ๆ ขอเบิกมาที่หน่วย อ. ซึ่งสนับสนุนเบิกงบประมาณให้กับหน่วยดังกล่าว ทำให้นาย ส. นำข้อมูลดังกล่าวปลอมฎีกาเบิกเงินเดือน โดยไม่ได้เกินยอดเงินในอัตราถือจ่ายหมวดเงินเดือน และสามารถตั้งจำนวนเงินสูงกว่าความเป็นจริงเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย คิดเป็นเงินกว่า 21 ล้านบาท

       อ่านสำนวนความผิดแล้ว จำนวนเงินที่กระทำผิดขนาดนี้ จะมีคนกระทำผิดจะกี่คนนะ?  ขอเชิญเพื่อน ๆ ร่วมแสดงความคิดเห็นว่า..จะมีผู้ใดบ้างต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ทางราชการ?

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เล่าสู่กันฟัง
หมายเลขบันทึก: 43867เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท