๒๒.แนวคิดในการนำหลักธรรมมาใช้ทางการบริหาร


เรียนท่านผู้เข้าชมทุกท่าน-งานเขียนทั้งหมด ผู้เขียนยินดีให้ท่านคัดลอกและนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ควรอ้างอิงแหล่งที่มาด้วย ข้อเขียนทั้งหมดมาจากหนังสือ "รัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก" ของผู้เขียน

หลักพุทธธรรมกับการเมืองการปกครอง

 

.๑.แนวคิดในการนำหลักธรรมมาใช้ทางการบริหาร

            ๘.๑.๑.ลักษณะคำสอนของพระพุทธเจ้า

                หลักพุทธธรรม    เป็นหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นธรรมที่มีคุณสมบัติมากถึง  ๖  ประการประกอบไปด้วย [1]

           สวากขาโต      เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

           สันทิฏฐิโก       เป็นธรรมที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง

           อกาลิโก          เป็นธรรมที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล

           เอหิปัสสิโก      เป็นธรรมที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่าท่านจงมาดูเถิด

           โอปนยิโก        เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

           ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหิ      เป็นธรรมที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน

 

                                ดังนั้น ธรรมะจึงมีเนื้อหาสาระและขอบเขตที่กว้างขวางมาก ว่ากันตามจริงแล้วมิใช่แต่เฉพาะเรื่องของรัฐหรือการปกครองเท่านั้นแต่ยังครอบคลุมไปถึงกิจกรรมส่วนตัว  เรื่องของจิตใจ  ครอบครัว โดยมีความหมายลึกถึง ๔  ระดับดังนี้        ๑.  ธรรมะสำหรับการบริหารปกครองตน  ๒. ธรรมะสำหรับการครองเรือน  ๓. ธรรมะสำหรับการบริหารประเทศชาติ  ๔. ธรรมะสำหรับการอยู่เหนือธรรมชาติ  หรือเข้าสู่พระนิพพาน [2]

                                เมื่อเป็นเช่นนี้จึงอยู่ที่ว่าจะเลือกใช้หัวข้อธรรมไหน  เรื่องอะไร  ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์  โอกาส  เวลาและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ  และให้เหมาะกับบุคคล

            ๘.๑.๒.ความหมายของการเมืองการปกครอง

การเมือง                คืองานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน, การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหารประเทศ, กิจการอำนวยหรือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน  [3]

การเมือง                คือการดำเนินกิจกรรมทางด้านความสัมพันธ์ภายในประเทศรวมทั้งระหว่างประเทศของชนชั้นหนึ่ง ๆ , พรรคการเมืองหนึ่ง ๆ,  หมู่คณะของสังคมหนึ่ง ๆ รวมทั้งส่วนปัจเจกชน [4]

                               

                หลักพุทธธรรมกับการเมือง  คือหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอันมีนัยยะที่สัมพันธ์เกี่ยวกับรัฐหรือกิจกรรมทางด้านความสัมพันธ์ภายในประเทศของชนกลุ่มต่าง ๆ  เป็นต้น

                หลักพุทธธรรม    เป็นหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นธรรมที่มีคุณสมบัติมากถึง  ๖  ประการดังที่กล่าวมาแล้ว  ทีนี้จะได้อธิบายถึงการบริหาร  การปกครอง เป็นลำดับต่อไป

     คำว่า  บริหาร  คือ  ปกครอง  เช่น  บริหารส่วนท้องถิ่น, ดำเนินการ, จัดการ [5] 

     คำว่า  การปกครอง  คือ การบริหารราชการทางด้านการปกครอง  หรือ  administration [6]

                ดังนั้นคำว่า หลักพุทธธรรมกับการบริหาร  จึงหมายถึง การใช้หลักธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้กับการบริหาร, จัดการ, ดำเนินการ หรือปกครองส่วนราชการหรือองค์กรที่เป็นเอกชนก็ได้

                เพื่อไม่ให้นิสิตสับสนในเรื่องการเมืองกับการปกครองจึงขอแยกออกเป็น  ๒  ประเด็น  เพื่อง่ายต่อการจดจำและให้เนื้อหาของวิชานี้ชัดเจน  ดังนี้

                คำว่า  การเมือง    คือกิจกรรมทางการเมืองซึ่งมาจาก รัฐศาสตร์  [ Political  Scince ]

                คำว่า  การปกครอง  คือกิจกรรมที่ผู้บริหารใช้ในการปกครอง  มาจาก  รัฐประศาสนศาสตร์  [ Public   Administration ]  ซึ่งแยกออกเป็น ดังนี้

 

ที่

ศัพท์

วิชาการ

ภาษาอังกฤษ

กิจกรรม

การเมือง

รัฐศาสตร์

Political  Scince

เป็นกิจกรรมทางการเมืองที่ศึกษาทางกระบวนการของผู้สมัครรับเลือกตั้งก่อนที่จะเข้ามาบริหารงานทางด้านการปกครอง

การปกครอง

รัฐประศาสนศาสตร์

Public   Administration

เป็นกิจกรรมที่ผู้ชนะการเลือกตั้งกระทำหลังจากเข้ามาบริหารงานของรัฐแล้ว

 

.๒.หลักพุทธธรรมกับการปกครอง

                ธรรมะ  หรือคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีมากมาย  ซึ่งมีถึง  ๘๔,๐๐๐  พระธรรมขันธ์  รวมอยู่ใน  ๓  ปิฎก คือพระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  และพระอภิธรรมปิฎก

                การจะแยก แล้วระบุว่าอะไรเป็นพุทธธรรม สำหรับการบริหารหรือปกครองนั้นไม่ได้  เว้นเสียแต่เราจะสงเคราะห์หมวดธรรมเหล่านั้น ให้เข้ากับหลักการดังกล่าวเท่านั้นเอง  พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์ทางด้านจิตใจ  เน้นข้อเท็จจริงและประสบการณ์  เป็นศาสนามิใช่ปรัชญาดังที่เข้าใจกัน

                เพื่อให้เข้าใจร่วมกันจึงแบ่งหลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับการบริหารปกครองออกเป็น  ๗  กลุ่ม  ประกอบไปด้วย 

                ๑. หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการวางกรอบบริหารบ้านเมือง

                ๒. หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการเป็นผู้นำ

                ๓. หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการพัฒนาประเทศ

                ๔. หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการสงเคราะห์คนในสังคม

                ๕. หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการวินิจฉัยสั่งการ

                ๖. หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการพัฒนาองค์กร

                ๗. หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการวงแผนนโยบาย

                หลักธรรมทั้ง ๗ ประการนี้ แท้ที่จริงชาวพุทธให้ความเคารพกรุณาต่อธรรมชาติทั้งปวง เหตุเพราะชาวพุทธมองทุกสิ่งทุกอย่างในฐานะที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ไม่มีอะไรจะคงอยู่ได้แบบโดดเดียว แม้ใจและกายก็เนื่องอยู่กับกันและกัน ต้องได้รับการพัฒนาให้ไปด้วยกัน หากจะทำให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืนแล้ว จะต้องพัฒนาสิ่งทั้งปวงทั้งทางด้านร่างกาย(กายภาวนา), ด้านสังคม (สีลภาวนา), ด้านจิตใจ (จิตตภาวนา) และด้านปัญญา (ปัญญาภาวนา)  อันเป็นทุกมุมของชีวิตของคนเรา [7]  ซึ่งจะขอยกมาอธิบาย  ดังนี้

๘.๒.๑. หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการวางกรอบบริหารบ้านเมือง

                หลักธรรมหมวดนี้เป็นหมวดธรรมที่ใช้เป็นกรอบในการบริหารบ้านเมือง ที่สามารถทำให้ผู้บริหารจะมีแนวคิดอย่างไรเกี่ยวกับการบริหารบ้านเมืองจะมีรูปแบบการบริหารจัดการอย่างไร หรือหลักคิดอย่างไรและที่สำคัญควรจะบริหารจัดการไปในทิศทางไหน ประกอบไปด้วย  หลักอธิปไตย  ๓,  หลักสุจริต  ๓  และหลักปุริสัทธรรม  ๗

 

) หลักอธิปไตย  ๓ [8]

            เป็นหลักธรรมกว้าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้เพื่อให้เป็นกรอบในการพิจารณาถึงแนวความคิดที่เน้นทิฐิหรือความคิดเห็นของตัวบุคคลเป็นหลัก  ว่าเมื่อบุคคลเข้ามาบริหารงานแล้วมีทัศนะเกี่ยวกับอำนาจที่ดำรงอยู่อย่างไรบ้าง  โดยใช้คำว่า อธิปไตย  ซึ่งหมายความว่าความเป็นใหญ่มีอยู่  ๓  ระดับด้วยกัน  คือ          

) อัตตาธิปไตย   (Autocracy) การถือตนเป็นใหญ่   เป็นแนวคิดของบุคคลที่ใช้

อำนาจโดยยึดความคิดของตัวเองเป็นใหญ่  โดยไม่คำนึงถึงเสียงส่วนมาก  มีแนวความคิดออกจะเผด็จการ

                                ๒)โลกาธิปไตย  การถือโลกเป็นใหญ่ เป็นแนวความคิดของบุคคลที่ใช้อำนาจโดยยึดความคิดของคนหมู่มากเป็นใหญ่  โดยใช้ที่ประชุมในการออกเสียงประชามติ  มีแนวความคิดเป็นเหมือนประชาธิปไตย

                                ๓) ธรรมาธิปไตย  การถือธรรมเป็นใหญ่       เป็นแนวความคิดของบุคคลที่ใช้อำนาจโดยยึดหลักธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นหลัก  กล่าวคือใช้ธรรมะนำการเมือง  มีแนวคิดเป็นแบบธรรมาธิปไตย

                เมื่อจะกล่าวโดยสรุปจะใช้ตารางในการอธิบาย  ดังนี้

 

ที่

หลักอธิปไตย

แนวความคิด

เทียบหลักรัฐศาสตร์

อัตตาธิปไตย

มีตนเป็นใหญ่

ระบอบเผด็จการ  หรือคอมมิวนิสต์

โลกาธิปไตย

มีประชาชนเป็นใหญ่

ระบอบประชาธิปไตย

ธรรมาธิปไตย

มีธรรมเป็นใหญ่

ระบอบสังฆาธิปไตย

 

) สุจริต  ๓ [9]

                สุจริต  เป็นหมวดธรรมที่สำคัญมากในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลได้พยายามเน้นในเรื่องของการโปร่งใสในการบริหารบ้านเมือง เพื่อให้บ้านเมืองสะอาด นั้นก็หมายความว่าบ้านเมืองจะต้องปราศจากการทุจริตคดโกง มีสินบน โดยการพยายามออกกฏหมายในรูปแบบต่าง ๆ ออกมาใช้  หลักธรรมข้อนี้ประกอบด้วย

       ๑) กายสุจริต        เมื่อผู้นำมีการกระทำที่มีความสุจริตไม่โกงกิน บ้านเมืองก็มีความเจริญก้าวหน้า มีการพัฒนาตามศักยภาพ เงินงบประมาณก็ถูกใช้ให้เกิดความคุ้มค่ามีการพัฒนาอย่างทั่วถึงเต็มเม็ดเต็มหน่วย  เมื่อผู้นำไม่ทุจริตคดโกง ลูกน้องก็ไม่กล้า  ถ้าผู้นำทุจริตลูกน้องก็ทำตาม ซึ่งธรรมะข้อนี้มีความสำคัญต่อบ้านเมืองเป็นอย่างมาก

       ๒)วาจาสุจริต      แม้วาจาจะดูแล้วไม่น่าจะมีความสำคัญต่อการบริหารปกครอง  แต่โดยความเป็นจริงแล้วมีความสำคัญเป็นอย่างมากในเรื่องของการใช้คำพูด เช่น การพูดโน้มน้าวจิตใจคน  การพูดประสานคน  การเจรจาต่อรอง  งานด้านการทูต  เป็นต้น

       ๓) มโนสุจริต      มีคนกล่าวว่าจิตคิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น  คนพูดอย่างไรก็ทำอย่างนั้น  แม้บางครั้งการกระทำ-การพูด-การคิด อาจจะไม่ตรงกันเพราะความปิดบังของคน แต่โดยมากแล้วย่อมเป็นไปตามนัยดังกล่าว ดังนั้นในข้อนี้เป็นการแสดงออกมาทางความคิดเห็น ที่ผู้นำสูงสุดจะต้องแสดงให้ผู้ใต้ปกครองได้เห็น หรือที่เรียกว่าการแสดงวิสัยทัศน์  นั้นเอง

 

) สัปปุริสธรรม  ๗     [10]

                หมวดธรรมข้อนี้เป็นการแสดงถึงความยืดหยุ่นของผู้บริหาร, การใช้เหตุผล, การรู้จักประมาณตน, การรอจังหวะเวลา ตลอดไปจนถึงการรู้จักภูมิหลังของสังคมชุมชนเป็นต้น

             ๑) ธัมมัญญุตา     รู้จักเหตุ ผู้บริหารจำต้องเป็นคนที่รู้จักเหตุว่าปัญหา หรือความ

สำเร็จที่เกิดขึ้นในขณะนี้นั้นมีมาจากเหตุอะไร และเหตุที่เกิดขึ้นนั้นจะสามารถนำไปสู่ผลอะไรบ้าง

             ๒) อัตถัญญุตา     รู้จักผล  ในข้อนี้ผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องรู้จักผลของการกระทำทุกอย่างที่ได้กระทำลงไปว่าสิ่งที่ได้กระทำลงไปนั้นย่อมมีผลอะไรเกิดขึ้น  โดยเฉพาะการทำงานเชิงนโยบาย ย่อมจะมีการวางแผนงานที่เล็งถึงผลของการกระทำในสิ่งเหล่านี้

            ๓) อัตตัญญุตา     รู้จักตน  ผู้บริหารต้องสามารถประเมินตนเองออกว่ามีความรู้ความสามารถมากน้อยแค่ไหน  พร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพของตัวเอง

           ๔) มัตตัญญุตา     รู้จักประมาณ  ผู้บริหารจะต้องรู้จักประมาณในทุกด้าน ไม่ปล่อยให้ทำอะไรตามใจตัวเองจนก่อให้เกิดผลเสียหายทั้งส่วนตัวและส่วนรวม

           ๕) กาลัญญุตา      รู้จักเวลา  บางครั้ง บางเวลา บางโอกาสผู้นำต้องปล่อยให้งานช้าลง  บางเวลาต้องรีบทำงานให้ทันสถานการณ์ คือรีบในเวลาที่ควรรีบ เร่งในเวลาที่ควรเร่ง ให้จัดลำดับความสำคัญอะไรก่อนอะไรหลัง  แล้วลงมือทำงาน

           ๖) ปริสัญญุตา      รู้จักชุมชน  ผู้บริหารก่อนที่จะเข้ามาทำงานจำเป็นต้องมองดูภูมิหลังของชุมชนที่ตัวเองบริหารงานอยู่ว่าวัฒนธรรมองค์เป็นอย่างไร  ระเบียบวิธีปฏิบัติมีอะไรบ้าง 

           ๗) ปุคลปโรปรัญญุตา        รู้จักบุคคล  การใช้คนเป็นสิ่งสำคัญผู้บริหารจำต้องใช้คนให้ถูกกับงาน  หรือที่พูดกันว่า  Put  the  right  man  in  the  right  job  เป็นต้น

 

 



[1] มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. คู่มือสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น แปล. (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘).   หน้า  ๖.

[2]  ไชย  ณ  พล.  การปกครองของพระพุทธเจ้าระบอบธรรมาธิปไตย.  ( กรุงเทพฯ :  เคล็ดไทย,  ๒๕๓๗ ).  หน้า  ๖๐.

[3] ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. ( กรุงเทพฯ : บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคซั่นส์ จำกัด, ๒๕๔๖).  หน้า ๑๑๖.

[4] เธียรชัย  เอี่ยมวรเมธ. พจนานุกรมไทย ฉบับใหม่. (กรุงเทพฯ : บริษัทรวมสาส์น (๑๙๗๗) จำกัด,  ๒๕๔๔).  หน้า  ๘๑.

[5] ราชบัณฑิตยสถาน.  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒.   อ้างแล้ว   หน้า  ๖๐๙.

[6]  เธียรชัย  เอี่ยมวรเมธ. พจนานุกรมไทย ฉบับใหม่.  อ้างแล้ว  หน้า  ๘๐.

 

[7] พระเทพโสภณ (ประยูร  มีฤกษ์). โลกทัศน์ของชาวพุทธ. ( กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓).   หน้า  ๙๙ .

[8] ที่.ปา. (ไทย)  ๑๑ / ๓๐๕ / ๒๗๔,  อง.ติก. (ไทย)  ๒๐ / ๔๐ / ๒๐๑.

[9] ที. ปา.  (ไทย)  ๑๑ / ๓๐๕ / ๒๖๐,     อง. ติก.(ไทย)   ๒๐ / ๒ / ๑๔๑.

[10] ที.ปา.(ไทย)   ๑๑ / ๓๓๐ / ๓๓๓ ,   ที.ปา. (ไทย)  ๑๑ / ๓๕๗ / ๔๐๐ ,

อง. สตฺตก. (ไทย)  ๒๓ / ๖๘ / ๑๔๓.

หมายเลขบันทึก: 438651เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2011 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

หลักธรรมทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับการบริหารการปกครองมี 7กลุ่ม ผมอยากทราบกลุ่มอื่นด้วยผมจะดูได้จากไหนครับขอขอบพระคุณสมาชิกใหม่ครับ

เจริญพรคุณโยมพัฒน์ภูมิ แนวคิดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาทั้ง ๗ กลุ่มนั้น เป็นคำนิยามจากอาตมาเอง

ส่วนกลุ่มอื่น ๆ มีหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า...แล้วแต่ใครจะจัดกลุ่มเอาเอง

ธรรมะทั้งหมด ไม่ได้เป็นหมวดหมู่ว่าจะเป็นเชิงรัฐศาสตร์ หรือการจัดการ ซึ่งมีมากกว่านี้

เพียงแต่อาตมาเห็นว่าที่ยกมาน่าจะเพียงพอต่อความต้องการ เจริญพร

หาได้จาก หนังสือหลักธรรมต่าง ๆ หรือนวโกวาท ก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าจะประยุกต์ใช้กับศาสตร์ไหนเท่านั้นเอง เจริญพร

           วิชาธรรมประยุกต์

***ธรรมเพื่อความอยู่ดีท่างเศษฐกิจ***

๑. หลักธรรมทำไปประยุกต์อย่างไร ?

๒. ใช้ หลักธรรมกับคนกลุ่มไหน ?

๓. ผลของการใช้หลักธรรมมีอย่างไร ?

๔. สรุปการประยุกต์ใช้ หลักธรรมทังหมด ?


ขอตอบน่อยอาจารย์มหาศรีบรรดร ประมาณ ๔๐ หน้า

***เรื่อง  โทษของอาหารในพกไตรปิฎก  (วิชาสาธารณสุขในพระไตรปิฎก)

 

ผมก็อยู่ในเเวดวงดงขมิ้นนะครับ ผมมองว่าในพระไตรปีฏกมีหลักคำสอนเกี่ยวกับการปกครองที่ดีก็จริงแต่ อิงอยู่บนฐานคิดเชิงอุดมคติมากเกินไปจนไม่สามารถออกเเบบออกมาเป็นรูปเเบบการปกครองที่ประชาชนชาวโลกสามารกแตะต้องสัมผัสะได้ อย่างเช่นที่อ้างกันบ่อยๆ อะ หลักธรรมาธิปไตย ผมอยากถามหน่อยเถอะว่า จะออกเเบบออกมาเป็นโครงสร้างการปกครองอย่างรัย จะต้องมีระบบตัวแทนมัย จะใช้อะไรเป็นเครื่งอมือในการเลือกผู้เเทน ล่ะ พูดลอยๆว่า ธรรมาธิปไตยเป็นระบอกการปกครองที่ดีที่สุดอ่ะ ผมไม่เถียงแต่จะทำให้มันเกิดขึ้นจริงในโลกเเห่งความเป็นจริงที่เราต้องประสบได้อย่างรัย

มีประโยชน์มากๆๆเลยค่ะพระอาจารย์ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท