ศรีตรังเบิกบาน
สำนักงาน กศน.จังหวัดตรัง ศรีตรัง

ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร..คุณก็สามารถคิดสร้างสรรค์และคิดนอกกรอบได้ ..เพียงแต่


และสิ่งที่อ.รัศมีพยายามปลูกฝังให้พวกเรานอกเหนือจากวิธีคิดคือการชื่นชมให้กำลังใจคนรอบข้าง รับฟังเขาอย่างเข้าใจ การมีจิตอาสาสมัคร(จิตสาธารณะ เช่นกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ ) ยอมรับคนอื่นโดยไม่วิจารณ์

 เรียนจบแล้วถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับอ.รัศมี  ธันยาธร

 คนทั่วไปมักคิดว่า การคิดสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบ ล้วนแต่เป็นพรสวรรค์ที่พระเจ้าสร้างมาให้คนสำหรับคนบางคนเท่านั้น คนธรรมดาแบบเราคงทำไม่ได้  ผู้เขียนเองก็เคยคิดเช่นนั้น จนกระทั่ง วันที่ 28-29 เมษายน 2554  ผู้เขียนมีโอกาสหลบลมร้อนจากเมืองตรังไปเข้าคอร์ส    สัมมมนาของ อ.รัศมี ธันยาธร ลูกศิษย์ของ ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอโบโน เจ้าของทฤษฎีหมวก 6 ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ที่โรงแรมสวิส เลอ คองคอร์ด กรุงเทพ ฯ  ความคิดดังกล่าวจึงเปลี่ยนไป และขอยืนยันว่าไม่ว่าคุณจะเป็นใคร คุณก็สามารถคิดสร้างสรรค์ได้..เพียงแต่คุณมีเครื่ิองมือและยอมรับการเปลี่ยนแปลง ทุกคนฝึกได้เรียนได้  และที่ศูนย์ความคิดสร้างสรรค์เขาสอนและฝึกเครื่องมือนี้ให้ติดตัวคุณได้จริง ๆ

เรียนแบบเพลินนิ่ง ทุกคนมีความสุข ฝึกปฏิบัติตลอด

ยอมรับความคิดของทุกคน ..ความคิดที่จะเปลี่ยนรูปแบบอาหารว่างเพื่อสุขภาพมันเยี่ยมมาก..เก่งมากเลยน้อง

การจัดห้องประชุม แบบ กศน. ทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

      หลักสูตรที่ไปเรียนชื่อหลักสูตร Creative/Lateral Thinking ( เน้น แนวคิดจากหมวกใบสีเขียว ) เป็นหลักสูตรเกี่ยวกับ 9 เทคนิคคิดนอกกรอบคิดสร้างสรรค์ พอไปถึงวันแรกก็เจอเพื่อร่วมชั้นซึ่งมี 14 คน และที่น่าแปลกใจส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจหรือทำงานในแวดวงธนาคาร เพื่อนบางคนบอกว่าเคยมาเข้าสัมมนากับอาจารย์แล้วติดใจเพราะทำได้จริง อาจารย์สอนให้ปฏิบัติจริง บางคนเจ้านายเคยเข้าอบรมแล้วเห็นว่าได้ผลจึงส่งลูกน้องมา ส่วนผู้เขียนเองเราเป็นครู และมาตรฐานการเรียนรู้ก็บอกให้เราสอนให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์เป็น มีความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบได้ ซึ่งผู้เขียนเองก็ยอมรับว่าไม่ค่อยจะมีความคิดสร้างสรรค์แต่ยังมีความเชื่อว่าถ้าเราพยายามเราจะต้องเจอคนที่ช่วยฝึกและสอนเราได้  เนื้อหามีเรื่อง1.ความสำคัญของการคิดสร้างสรรค์ต่อความสำเร็จ 2. ประวัติผลงานของดร.เอ็ดเวิร์ด ผู้คิดค้นเทคนิค Lateral Thinking 3...9 เทคนิคการคิดนอกกรอบ4.การฝึกปฎิบัติจริง ซึ่งใช้วิธีการเรียนการสอนแบบเพลิน เราไม่ต้องจดบันทึก เพิ่มทักษะโดยการฝึกคิดและลงมือปฎฺิบัติ บรรยากาศสนุกสนานแต่ได้สาระ และสิ่งที่อ.รัศมีพยายามปลูกฝังให้พวกเรานอกเหนือจากวิธีคิดคือฝึกการชื่นชมให้กำลังใจคนรอบข้าง รับฟังเขาอย่างเข้าใจ การมีจิตอาสาสมัคร(จิตสาธารณะ เช่นกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นที่สร้างสรรค์ ) ยอมรับคนอื่นโดยไม่วิจารณ์โดยยึดหลักคิดที่ว่า คำพูดบางคำถ้าพูดออกไปมันจะทำให้เราไม่เหลืออะไรเลย    ทำงานและมีอารมณ์ขันบ้างโดยอ.ให้พวกเราเรียนรู้ผ่านจากภาพยนต์สุดฮาของ Mr.Bean  ซึ่งใช้้ big idea แก้ปัญหาการทำแซนวิช โดยใช้กรรไกรตัดขนมปัง ใช้บัตรเครดิตปาดเนย ชงน้ำชากับกระเป๋าน้ำร้อน  ไม่ต้องทำตัวให้สมบูรณ์แบบจนเกินไป ต้องใช้ความคิดเชิงบวกเป็นกุญแจเปิดใจ ให้อภัยคน

  ขอบคุณอ.รัศมีและเพื่อนๆ ทั้ง 14 คน ที่ทำให้การสัมมนาของผู้เขียนในครั้งนี้มีโอกาสเติมเต็มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีความกล้าในการคิดสร้างสรรค์ กล้าคิดท้าทาย ขอบคุณ ดร.เอ็ดเวิร์ดที่คิดค้นออกแบบเทคนิคการคิดเพื่อใช้เป็นวิธีที่จะฝึกสมองให้คิดนอกกรอบได้ คิดสร้างสรรคได้ และจะพยายามฝึกเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวันและทำงาน และสิ่งที่ประทับใจอ.รัศมี คือ ท่านเป็นนักอ่าน กว่าที่จะตกผลึกความคิดมาสอนท่านต้องอ่านหนังสือมากมาย และท่านยังเอาหนังสือที่อ่านมาแนะนำให้แก่พวกเราด้วย

 การถ่ายรูป บางครั้งก็ไม่ต้องการความสมบูรณ์แบบ

ความคิดสร้างสรรค์เป็น อากาศ ที่สร้าง โอกาส.

ฝึกได้ เรียนได้  รับรองชัวร์

ชัวร์



ความเห็น (1)

เห็นด้วยกับคุณศรีตรังเบิกบานค่ะ ว่า "ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ก็เหมือนกับความคิดชนิดอื่นๆ ที่สามารถพัฒนาได้ แต่เด็กและเยาวชนไทยไม่ค่อยจะได้รับการพัฒนาการคิดประเภทนี้ เริ่มตั้งแต่การเลี้ยงดูในครอบครัว ที่เด็กมักจะได้ยินคำว่า "อย่า" ซึ่งเป็นคำที่เป็นตัวสะกัดกั้นการคิดสร้างสรรค์ และพอเข้าเรียนเวลาคิดต่างไปจากครู อย่างเช่นดิฉันเองครูก็จะไม่พอใจ และเมื่อเป็นผู้ใหญ่คิดต่างไปจากคนในสังคม ก็จะถูกตราหน้าว่า "เป็นคนนอกคอก" ดิฉันมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ เพราะเขียนตำราวิชาการคิดสร้างสรรค์ อบรมครูเกี่ยวกับการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ให้กับผู้เรียน และเป็นกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโทสาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา ม.ราชภัฏอุบลฯ ที่ทำวิจัยเกี่ยวกับการคิดทุกประเภท เมื่อวานนี้ก็เพิ่งสอบเค้าโครงวิจัยนักศึกษาไป 1 รายที่ทำวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาความใฝ่รู้ให้กับนักเรียนชั้นป.4 ในจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งดิฉันได้ให้วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการวิจัยเพื่อพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นป. 4 ในจังหวัดมุกดาหาร (เป็นวิทยานิพนธ์ของมหาบัณฑิตที่ดิฉันเป็นที่ปรึกษา และได้รับการประเมินในระดับดีเยี่ยม) เพื่อไปศึกษาเป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย

ในปี 2549 ดิฉันได้ไปเสนองานวิจัยที่มาเลเซีย (ภาพขวา ในภาพ ขวามือของดิฉันเป็นนักศึกษาจากยะลาไปเรียนปริญญาเอกที่มาเลเชีย และมาขอคำปรึกษาดิฉันเกี่ยวกับการเขียนเค้าโครงวิจัย) ก็ได้ไปซื้อหนังสือของ Tony Buzan ที่แนะนำเคล็ดลับ 10 ประการของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (ภาพซ้าย) ส่วนการคิดด้วยหมวกหกใบซึ่งใช้พัฒนาการคิดได้หลายประเภทนอกไปจากการคิดสร้างสรรค์ ดิฉันก็ได้ใช้เป็นเทคนิคหนึ่งในการพัฒนาการคิดให้กับนักศึกษามรภ.อุบลฯ 

 

ยินดีด้วยค่ะที่ได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่าจากการอบรม หวังว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดีทั้งในการทำงานและการดำเนินชีวิตนะคะ   

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท