สะพานชีวิตเชื่อมโยงเด็กและเยาวชนจากก้าวที่พลาดคืนสู่ครอบครัว


สงขลาฟอร์รั่มเป็นชื่อกลุ่มคนที่รวมกันทำงานเพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาชนซึ่งขณะนี้ทำงานช่วยเหลือเด็กที่เคยก้าวพลาดในชีิวิตให้คืนสู่ครอบครัวและสังคมโ่ดยใช้ชื่อว่าโครงการสะพานชีวิตทำงานในพื้นที่ภาคใต้ร่วมกับศูนย์ฝึกและอบรมเด็กเยาวชนคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยด้วยการให้ความรู้และฝึกทักษะที่เรียกว่าสื่อมวลชนศึกษา เมื่อเยวชนกลับคืนสู่ชุมชนก็มีผู็จัดการรายการณีติดตามช่วยเหลือ

ในคราวนี้ต้องการขยายเครือข่ายการทำงานให้สหวิชาชีพในภาคใต้เข้าร่วมโครงการจึงจัดอบรมที่ใช้ case management เข้ามาใช้ในเครือข่ายด้วยบรรยากาศสบายๆและกันเองจึงใช้เกาะมุก จ.ตรังเป็นสถานที่อบรมผู้ปฏิบัติงานที่มาจากหลายหน่วยงาน เช่น สถานพินิจ ศูนย์ฝึกและอบรมฯ โรงพยาบาล ศอบต. พมจ. คุมประพฤติ

สาระของการอบรมเป็นเรื่องของการจัดทำแผนการติดตามหลังปล่อยซึงจะต้องเป็นแผนเดียวที่ทำร่วมกันทุกเครือข่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งครอบครัวของเยาวชนที่มาร่วมกันวิเคราะห์ความเสี่ยงและความต้องการบริการหลังปล่อยและกำหนดภาระหน้าที่ของหน่วยงานที่ให้บริการตามที่ตกลงกันในที่ประชุมการจัดทำแผน

 

หมายเลขบันทึก: 437749เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2011 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะท่านอ. โสภา

มาชมกิจกรรมดีๆ เพื่อเด็กและเยาวชนค่ะ ส่งกำลังใจค่ะ

ห่างหายกันไปนานมากๆ เลย อ. สบายดีนะคะ

ปูยังจดจำเมนูอร่อยๆ จากหลายบันทึก ตู้กับข้าวแม่ ชอบๆ มากๆ ค่ะ

ขอบพระคุณ ภาพธรรมชาติงามๆ ค่ะ

ปูไม่ได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้น ตก ครึ่งเดือนแล้วค่ะ  สุขสันต์ สดใส รับเดือนใหม่นะคะ

ขอบคุณมากค่ะปู

ไปอยู่เกาะมุกนี้เองถึงได้มีโอกาสเงยหน้ามองดาวเดือนยามค่ำคืน

เดินเท้าเปล่าบนผืนทรายละเอียดและนั่งดูพระอาทิตย์ตกและขึ้นในวันใหม่

แต่ชีวิตเมืองกรุงมันเร่งและรีบจนลืมเงยหน้ามองความสวยงามเหล่านี้เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท