สรุปบทเรียนโครงการ การพัฒนาจิตสาธารณะ และศักยภาพของนักศึกษาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ


การพัฒนาจิตสาธารณะนักศึกษาพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สู้งอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง (active aging)


สรุปบทเรียน โครงการ การพัฒนาจิตสาธารณะ และศักยภาพของนักศึกษาพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง (active aging)

2.   กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษาพยาบาลชมรมวิชาการ และนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 30 คน

3.  ระยะเวลาดำเนินการ กุมภาพันธ์ 2552 – สิงหาคม 2553

4.  การดำเนินการ

         4.1 ระยะที่ 1  การวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้าของการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัย

กิจกรรมที่ดำเนินการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.  ประสานงานกับผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย และองค์กรภาคีเพื่อ     ประสานการมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้สูงอายุ

2. ประกาศเชิญนักศึกษาชมรมวิชาการผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ

3. ปฐมนิเทศนักศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดการประเมินสภาพเพื่อการสร้างเสริม    สุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

4. สร้างพันธะสัญญาการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการกับนักศึกษา

5. ประชุมวางแผน และดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการส่งเสริม    สุขภาพของผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลังร่วมกับ อสม. ผู้นำชุมชน และ    เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย

1. การให้ความหมายเกี่ยวกับการสร้างเสริม   สุขภาพตามการรับรู้ของนักศึกษา

6. นักศึกษานำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความต้องการของผู้สูงอายุ และผู้ดูแล    ผู้สูงอายุ

7. ตรวจสอบความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันกับผู้สูงอายุ อสม.    ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยด้วยการจัดทำเวทีสาธารณะ

2. ศูนย์บริการสุขภาพชุมชนมีข้อมูลเชิง   คุณภาพที่สะท้อนแบบแผนของความ   ต้องการในการสร้างเสริมสุขภาพ   ผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

  

กิจกรรมที่ดำเนินการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
7. นักศึกษาร่วมประชุมกับ อสม. ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย ตัวแทน    ผู้สูงอายุ จัดทำแผนงาน/โครงการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ   ให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง9. สรุปบทเรียนของนักศึกษาที่ได้รับจากรวบรวมข้อมูลการรับรู้ของ   นักศึกษาต่อ การมีจิตสาธารณะ

3. ได้แผนงาน/โครงการ และผู้รับผิดชอบ   โครงการต่าง ๆ ในการพัฒนาบริการ   สุขภาพเพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุใน   ชุมชนให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

4. ได้ทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการมีจิต    สาธารณะ และความสามารถในการ    ประเมินสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อสร้างเสริม   สุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

         4.2 ระยะที่ 2 กระบวนการพัฒนาจิตสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง และกระบวนการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้มีสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในสถานบริการปฐมภูมิ ให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

กิจกรรมที่ดำเนินการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1. นักศึกษา อสม. ผู้นำชุมชน. เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย และตัวแทนผู้สูงอายุ    ดำเนินกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

2. ประชุมนักศึกษา อสม. ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยเพื่อประเมินผล    และปรับปรุงการดำเนินกิจกรรม (formative evaluation)

3. ดำเนินการพัฒนากิจกรรมหรือการปฏิบัติเพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้    เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

4. สรุปถอดบทเรียนการรับรู้กระบวนการพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษา และ    กระบวนการพัฒนานักศึกษาให้มีสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ    ผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

1.ได้กลวิธีการพัฒนาให้นักศึกษามีจิตสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

2. ได้กระบวนการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้มีสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในสถานบริการปฐมภูมิ ให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

       4.3  ระยะที่ 3 ผลลัพธ์ของการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในสถานบริการปฐมภูมิ  ให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง 

กิจกรรมที่ดำเนินการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1. นักศึกษา อสม. ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย และตัวแทนผู้สูงอายุ    ร่วมกันประเมินผลการดำเนินกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็น    ผู้สูงวัยที่มีพลังด้วยการประชุม สนทนากลุ่ม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

2. ประชุมวางแผนเพื่อปรับปรุงกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้    สูงวัยที่มีพลัง

3. ดำเนินการพัฒนาตามที่ได้ปรับปรุงกิจกรรมการพัฒนา

4. นักศึกษา อสม. ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย และตัวแทนผู้สูงอายุ    ร่วมกันประเมินผลโดยรวม (summative evaluation) การดำเนินกิจกรรมการ    สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

5. สรุปบทเรียนที่นักศึกษาได้จากการดำเนินการในประเด็นการเปลี่ยนแปลง    ด้านจิตสาธารณะของนักศึกษา และการเปลี่ยนแปลงด้านการมีสมรรถนะด้าน    การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

1. ได้ผลลัพธ์ของการดำเนินการ     สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในสถาน-    บริการปฐมภูมิ ให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง    ได้แก่     - ความพึงพอใจต่อบริการ     - การเปลี่ยนแปลงสู่การมีพฤติกรรม       การสร้างเสริมสุขภาพ

2. นักศึกษามีการเปลี่ยนแปลงด้านการมี    จิตสาธารณะที่ดีขึ้น และมีสมรรถนะ    ด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้     เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

 5.     สรุปบทเรียน

 5.1  ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้าของการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

         5.1.1 นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดของการสร้างเสริมสุขภาพ

           นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ของนักศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพจากการเรียนในวิชาทฤษฎี และวิชาปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันความเจ็บป่วยที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันการเจ็บป่วยแบบองค์รวม และการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันการเจ็บป่วยของบุคคลวัยผู้สูงอายุแบบองค์รวม และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการทุกคนมีประสบการณ์ฝึกภาคปฏิบัติ ความรู้ที่นักศึกษาสรุปบทเรียนก่อนการเข้าร่วมโครงการพบว่านักศึกษามีการรับรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ 3 นัย คือ 

          ความหมายนัยแรก การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้ผู้สูงอายุเป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง หมายถึง แบบแผนของกิจกรรมที่นักศึกษาจัดให้กับผู้สูงอายุ ได้แก่ การให้คำแนะนำ การให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้สูงอายุ การสร้างสัมพันธภาพกับผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การผ่อนคลายความเครียด

        ความหมายนัยที่สอง การสร้างเสริมสุขภาพคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุให้มีพฤติกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น การสร้างเสริมสุขภาพกาย จิตสังคม อารมณ์ จิตวิญญาณ และวัฒนธรรม

       ความหมายนัยที่สาม การสร้างเสริมสุขภาพคือ ความสามารถของผู้สูงอายุในการดูแลตนเอง ได้แก่ ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การออกำลังกาย การทำงาน การกินอยู่หลับนอน เพื่อให้ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข

       จากการสรุปข้อมูลร่วมกันได้ข้อค้นพบว่านักศึกษายังไม่ได้ให้ความหมายที่เป็นนัยที่แสดงว่ามีการนำทฤษฎีแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพดังนั้นสิ่งที่ต้องพัฒนานักศึกษาเพื่อให้มีสมรรถนะนักศึกษาให้มีศักยภาพในการสร้างเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ ได้แก่ การนำแนวคิดทฤษฎีด้านการสร้างเสริมสุขภาพมาใช้เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

         5.1.2    สถานีอนามัยมีข้อมูลเชิงคุณภาพที่สะท้อนแบบแผนของความต้องการในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

           5.1.2.1  รูปแบบที่ 1 การสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุรายบุคคล เงื่อนไขของความต้องการนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ หรือชาวบ้านใช้คำว่า “คนแก่ที่อยู่ติดเตียง ติดบ้าน ไปยากมายาก” จึงต้องการกิจกรรมการดูแลรายบุคคลซึ่งเป็นการดูแลที่บ้าน ได้แก่ การตรวจสุขภาพที่บ้าน การออกกำลังกายอยู่กับบ้าน การจัดสิงแวดล้อมให้ปลอดภัยเพื่อป้องกันผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้สามารถดูแลตนเอง เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การจัดการความเครียด เป็นต้น

            5.1.2.2   รูปแบบที่ 2 การสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง หรือการสนับสนุนให้คนในครอบครัวร่วมสร้างเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุ เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุที่เรียกว่า ผู้สูงอายุกลุ่ม “ติดบ้าน” กล่าวคือ สามารถไปไหนมาไหนได้ แต่ได้เฉพาะที่บ้านของตนเอง ไม่สามารถเดินทางไปร่วมกิจกรรม หรือไปที่อื่นได้ด้วยตนเอง การเดินทางเข้าร่วมกลุ่ม หรือทำกิจกรรมในงานบุญต่าง ๆ ต้องให้ลูกหลานพาไป หรือไปรับไปส่ง กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่ต้องการ ได้แก่ การส่งเสริมให้ญาติดูแลผู้สูงอายุทั้งทางร่างกาย จิตใจ เช่น การรับประทานอาหาร การป้องกันโรค การรำลึกความหลัง การออกกำลังกาย การจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้สะอาด และปลอดภัย

           5.1.2.3  รูปแบบที่ 3 การทำกิจกรรมรวมกันเป็นกลุ่ม สำหรับผู้สูงอายุที่สามารถเดินทางด้วยตนเอง เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมได้ การสร้างเสริมสุขภาพที่ผู้สูงอายุต้องการทำร่วมกัน ได้แก่ การออกกำลังกาย การเล่นดนตรี และการได้สนทนากลุ่มพูดคุยกันในกลุ่มผู้สูงอายุ

    5.1.3   ได้แผนงาน/โครงการ และผู้รับผิดชอบโครงการต่าง ๆ ในการพัฒนาบริการสุขภาพเพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

        5.1.3.1  โครงการวิจัย เรื่อง การศึกษาผลของบทบาทครอบครัวในการสร้างเสริมพลังอำนาจให้ผู้สูงอายุแสดงบทบาทเป็นผู้สูงวัยอย่างมีพลัง เพื่อตอบสนองแบบแผนความต้องการในการสร้างเสริมสุขภาพแบบที่ 1

        5.1.3.2  โครงการวิจัย เรื่อง การศึกษาผลของการส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อตอบสนองแบบแผนความต้องการในการสร้างเสริมสุขภาพแบบที่ 2 

        5.1.3.3  โครงการวิจัยเรื่อง การ ศึกษาผลของการออกกำลังกายโดยใช้ขวดทรายต่ออัตราการเต้นของชีพจร และความผาสุกในชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อตอบสนองแบบแผนความต้องการในการสร้างเสริมสุขภาพแบบที่ 2

5.1.4   ได้ทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อการมีจิตสาธารณะ และความสามารถในการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

         5.1.4.1  การรับรู้ต่อการมีจิตสาธารณะประกอบด้วย 2 แบบแผน ดังนี้

                     1) การรับรู้จิตสาธารณะที่มาจากความเมตตา กรุณา ความปราณี ที่มีอยู่ในจิตใจของนักศึกษา นักศึกษาได้สะท้อนจากบันทึกการเรียนรู้ของตนเอง ดังตัวอย่างที่ว่า

“ได้พบจิตสาธารณะแล้ว การลงไปในชุมชนทำให้ได้ทราบปัญหาหลายอย่าง เกิดความรู้สึกที่อยากจะช่วยเหลือ อยากช่วยให้เขาสุขภาพดีขึ้น เราอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาให้เขาได้ รู้สึกสงสาร และเห็นใจผู้สูงอายุ รู้สึกว่าตนเองสามารถสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่นได้

                      2) การรับรู้จิตสาธารณะที่มาจากการการรับรู้ผลลัพธ์ที่เกิดจากการมีจิตสาธารณะ ได้แก่ การมีความสุข การรู้ว่าตนเองมีคุณค่าที่ได้ทำ การได้ฝึกทักษะการสร้างสัมพันธภาพ และการมีสมรรถนะด้านวิชาชีพของนักศึกษาเอง ดังตัวอย่างคำพูดที่ว่า 

“เมื่อทำแล้วทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ดีใจที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำโครงการ”

“พบแล้วรู้สึกดีมาก รู้สึกว่าตนเองสามารถสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่นได้”

“ดีใจที่ได้พบเห็นสภาพความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ และรู้สึกว่าจะทำยังไง ให้เขามีคนดูแล เข้าไปช่วยเหลืออย่างจริงจัง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้เห็นคุณค่าของตัวเองว่ายังมีคนที่ยังคอยให้ความช่วยเหลือเขาอยู่ การช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดี เหมือนกับการทำบุญอย่างหนึ่ง ซึ่งรู้สึกว่าเป็นการหาโอกาสที่ทำได้ยาก และรู้สึกดีใจที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการนี้ หากมีโอกาสอีกครั้ง ก็อยากเข้าร่วมโครงการดี ๆ นี้อีกค่ะ          

 5.2   ระยะที่ 2 กระบวนการพัฒนา (development process) การดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

        การถอดบทเรียนตามตัวชี้วัดนี้เป็นการแสดงองค์ความรู้ทางการพยาบาลที่เรียกว่า ความรู้เชิงสุนทรียศาสตร์  (aesthetic knowledge) ที่เป็นความรู้ที่แสดงว่าพยาบาลได้ใช้ศิลปะสำหรับการปฏิบัติการพยาบาล หรืออีกนัยหนึ่งหากพิจารณาว่านักศึกษานำแนวคิดทฤษฎีมาใช้อย่างไรที่สะท้อนให้เห็นว่าความรู้ที่เกิดขึ้นเป็นความรู้สำหรับการปฏิบัติที่เรียกว่า practical knowledge หรือหากถึงขั้นสูงสุดของความรู้ที่พบคือ ความรู้สำหรับการปลดปล่อยให้คนมีอิสรภาพที่เรียกว่า emancipate knowledge หรือได้ความรู้ใหม่ที่เรียกว่า transform knowledge ในโครงการนี้สามารถสรุปบทเรียนที่สะท้อนวิธีการสำหรับการพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษา และขั้นตอนของการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้มีสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง ดังนี้

         5.2.1   กระบวนการพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษา

                    นักศึกษาสะท้อนคิดว่าจริง ๆ แล้วนักศึกษามีจิตสาธารณะอยู่แล้ว กระบวนการพัฒนาจิตสาธารณะของโครงการเกิดประกอบด้วย 3 ขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้

                     5.2.1.1. การเรียนรู้จากสภาพจริง (authentic learning)  ได้แก่ การได้มีโอกาสเข้าไปสนทนากับผู้สูงอายุทำให้เห็นบริบทความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ เรียนรู้ความต้องการของผู้สูงอายุ รับรู้ และเข้าใจปัญหา และต้องการช่วยเหลือ

                “จากเดิมคิดว่าตัวเองมีจิตสาธารณะอยู่ในระดับหนึ่งแล้ว แต่เมื่อได้เข้าไปเรียนรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน เห็นความต้องการของบุคคลที่อยู่ในชุมชนในการที่จะสร้างเสริมสุขภาพ จึงเกิดพลัง และแรงขับเคลื่อนที่จะทำสิ่งดี ๆ เพื่อคนในชุมชนต่อไป

                    5.2.1.2  การมีสัมพันธภาพที่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว เหมือนเป็นญาติ โดยนักศึกษาเข้าไปสร้างเสริมสุขภาพในฐานะของลูกหลาน เหมือนเราเป็นคนหนึ่งในครอบครัวของเขา ผู้สูงอายุเรียกนักศึกษาว่า “หมอน้อย” นักศึกษาเรียกผู้สูงอายุว่า “พ่อใหญ่ แม่ใหญ่” “คุณตา คุณยาย” ซึ่งผู้สูงอายุรู้สึกผูกพันกับนักศึกษาอยากให้มาเที่ยวที่บ้าน พูดคุย เยี่ยมเยือน

                    5.2.1.3  การรับรู้เกี่ยวกับการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อผู้สูงอายุให้ความสนใจ กระตือรือร้นต่อการเข้าร่วมกิจกรรม เช่น ผู้สูงอายุบางคนลงทุนไปตัดกางเกงเพื่อเตรียมออกกำลังกาย “ค่าตัดตัวละ 30 บาท” ผู้สูงอายุเตรียมขวดทรายมาร่วมออกกำลังกาย ผู้สูงอายุออกมาขอให้ไปตรวจสุขภาพให้ที่บ้าน ผู้สูงอายุจัดเตรียมบ้านรอการมาเยี่ยมเยือนของนักศึกษา ผู้สูงอายุสั่ง และย้ำให้อาสาสมัครพานักศึกษาไปเยี่ยมบ้านตนเองให้ได้ “อย่าลืมมาบ้านยายนะ” “เขากระตือรือร้น เขาให้ feedback กลับมาดี”

     5.2.2   กระบวนการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง           

                5.2.2.1  ขั้นที่ 1 ขั้นการรับรู้ทฤษฎีจากการเรียนในห้องเรียน นักศึกษามีความรู้จากการเรียนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในห้องเรียนแล้ว แต่ยังไม่สามารถนำความรู้เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพมาใช้จริงในการปฏิบัติงานได้ เช่น แนวคิดการสร้างเสริมพลังอำนาจ แนวคิดแนวคิดสมรรถนะแห่งตน แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา เป็นต้น ซึ่งเป็นขั้นของการเรียนรู้เพื่อให้จำและนำไปสอบได้

                5.2.2.2   ขั้นที่ 2 การเชื่อมโยงทฤษฎีกับการปฏิบัติด้วยตนเอง และเรียนรู้ด้วยตนเองว่า จะใช้ทฤษฎี ณ โอกาสใด เวลาใด ดังเช่น กรณีการนำทฤษฎีการสร้างเสริมพลังอำนาจเพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุป้องกันภาวะสมองเสื่อม หรือเพื่อสนับสนุนความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ดังตัวอย่างคำสนทนาของนักศึกษาที่ว่า

                “บางทีทฤษฎีก็ใช้ได้ บางทีก็ใช้ไม่ได้ บางทีก็ต้องปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับความแตกต่างของแต่ละบุคคลเพื่อให้ตรงกับการรับรู้ และประสบการณ์เดิมของผู้สูงอายุ อย่างเช่น คุณยายทราบไหมครับว่าโรคสมองเสื่อมเป็นอย่างไร ยายตอบไม่ได้ ก็เลยขยายความบอกยายว่า โรคหลง ๆ ลืม ๆ นะครับ พอผู้สูงอายุเริ่มเข้าใจโดยแสดงออกทางคำพูด ต้องการที่จะรู้จึงเสริมรายละเอียดเกี่ยวกับโรคนั้นเข้าไป ก็ไม่ได้เสริมสร้างพลังอำนาจในตอนนี้

                “หนูรู้เลยว่ายิ่งชมเขายิ่งทำ พอเขาเอาสมุดบันทึกการออกกำลังกาย การคิดเลขมาให้ดู หนูชมเขา เขาก็ยิ่งทำ แล้วเขาก็เห็นผลลัพธ์ที่เกิดกับตัวเอง       

5.3   ระยะที่ 3 ผลลัพธ์ (output) ของการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

        5.3.1   ผลลัพธ์ของการพัฒนาจิตสาธารณะ       

                   5.3.1.1   ทำให้นักศึกษารับรู้ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง มีความสุขมากขึ้น ดังที่นักศึกษาสะท้อนความรู้สึกผลลัพธ์ของการพัฒนาจิตสาธารณะของตนเองว่า

                “จิตสาธารณะดีขึ้นกว่าเดิม เพราะได้เห็นสภาพชีวิตผู้สูงอายุ พอได้ทำงานจริง ๆ แล้วทำให้เรารับรู้ว่าเราอยากช่วยเหลือเขา ยิ่งทำให้เขาดีขึ้นเรายิ่งรับรู้ว่าเรามีจิตสาธารณะมากขึ้น พอรู้ว่าเขามีความสุขมากขึ้นก็ยิ่งรับรู้ผลของการมีจิตสาธารณะ เขาดีขึ้นเพราะว่าเราไปเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับเขาโดยการค่อย ๆ เข้าไปกระตุ้นจากการที่คุณตา คุณยายไม่ค่อยได้ดูแลสุขภาพเพื่อตนเองเลย         แต่หลังจากที่พวกเราเข้าไปแนะนำแล้วผู้สูงอายุก็ทำตามทำให้รู้สึกมีความรู้สึกอิ่มเอมใจและมีความสุข

                    5.3.1.2   มีการรับรู้การเสียสละของตนเองมากขึ้น นักศึกษาให้ความเห็นสอดคล้องกันหลายคนว่า  

“ได้สร้างจิตสาธารณะเกิดขึ้นกับตนเอง และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี”  

    5.3.2   ผลลัพธ์ของการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง         

               5.3.2.1   นักศึกษารับรู้เกี่ยวกับวิธีการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุว่า การเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลังว่ามีผลทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง รับรู้เป้าหมายของการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุว่าในกิจกรรมที่ดำเนินการนั้นต้องนำไปสู่การสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองให้กับผู้สูงอายุ

               5.3.2.2   นักศึกษาได้เรียนรู้ว่าการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุต้องการวิธีการปฏิบัติกิจกรรมที่แตกต่างกัน ทั้งนี้รวมถึงควรนำประเด็นเพศภาวะมาพิจารณาจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับความเป็นหญิง และความเป็นชายของผู้สูงอายุด้วย ดังเช่นคำพูดที่ว่า

                “ผมว่าสูงอายุหญิงกับชายไม่เหมือนกัน ผู้ชายเขาคิดเลขเก่ง คำนวณเก่ง ผู้หญิงเขาชอบเข้ากลุ่มพูดคุย ถ้าจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ผมว่าน่าจะจัดให้หญิงชายแตกต่างกัน ควรจัดในกิจกรรมที่เขาสนใจ และถนัดมากกว่าทำเหมือนกันหมดทุกคน ไม่ว่าหญิงว่าชาย

                “ผมว่าการดูแลผู้ป่วยแต่ละคนนั้นถึงแม้สภาพปัญหาความเจ็บป่วยจะเหมือนกัน แต่วิธีการการสร้างเสริมสุขภาพเราต้องประยุกต์หลากหลายทฤษฎีเข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมกับความแตกต่างของแต่ละบุคคล เพื่อให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพที่เขาสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง”

                โดยสรุปในภาพรวมของโครงการกระบวนการพัฒนานักศึกษาให้มีจิตสาธารณะเกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กับการปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง โดยพบขั้นตอนที่สำคัญในการพัฒนานักศึกษาคือ (1) การให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติเรียนรู้จากสภาพจริงผ่านการสนทนากับผู้สูงอายุ (2) การสร้างสัมพันธภาพแบบคนในครอบครัวเดียวกันเหมือนเป็นญาติ (3) การรับรู้ว่าผู้สูงอายุ และครอบครัวผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในโครงการหรือกิจกรรม (4) การสร้างเสริมพลังอำนาจเพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุรับรู้ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และ(5) การพัฒนากิจกรรมหรือโครงการเพื่อตอบสนองความต้องการบริการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุหญิง และชายที่มีความต้องการสนับสนุนบริการสุขภาพที่แตกต่างกัน

สรุปบทเรียน โครงการ การพัฒนาจิตสาธารณะ และพัฒนาสมรรถนะ      นักศึกษาพยาบาลด้านการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง (active aging) โดย ดร.บุญสืบ โสโสม อ.ขวัญชนก ดำเกลี้ยง            วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท

 1.  วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาเพื่อจัดการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้เป็นผู้สูงวัยที่มีพลัง

หมายเลขบันทึก: 437730เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2011 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ละเอียดมากเลยครับอาจารย์ ขอเอาไป link ให้ผู้สนใจนะครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท