ศรีตรังเบิกบาน
สำนักงาน กศน.จังหวัดตรัง ศรีตรัง

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามหน่วยงาน กศน. จังหวัดตรังและสหกรณ์การเกษตรทุ่งใหญ่พัฒนา อ.วังวิเศษ


สมาชิกสหกรณ์เชื่อมั่น ศรัทธา ในความซื่อสัตย์ ความมีวิสัยทัศน์ของประธานและทีมงานบริหาร

 

       บรรยากาศในการสวนาเต็มไปด้วยอัธยาศัยไมตรีที่เป็นมิตร

   ตามที่จังหวัดตรังได้กำหนดวาระงาน 7  สร้าง เพื่อเป็นทิศทางการขับเคลื่อนไปสู่ ตรังเข้มแข็ง เมืองตรังน่าอยู่  และได้จัดทำโครงการ หนึ่งองค์กรหนึ่งสหกรณ์การเกษตร ขึ้น เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาสถาบันสถาบันเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพ มีระบบการจัดการที่ดีและทันสมัย โดยจะให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานข้ามสายงานระหว่างหน่วยงานราชการ เพื่อเป็นการเยี่ยมเยียน ระหว่างองค์กร และเพื่อทราบปัญหาอุปสรรคในการทำงานระหว่างสหกรณ์และสหกรณ์การเกษตร  และจังหวัดตรังได้มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ เป็นเจ้าภาพตรวจเยี่ยม โดย สำนักงาน กศน. ตรัง ออกไปตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้และบันทึกผลการเสวนา  สหกรณ์กองทุนสวนยางทุ่งใหญ่พัฒนาจำกัด 23  ต.ท่าสะบ้า อ.วังวิเศษ จ.ตรัง   ในวันอังคารที่ 26 เมษายน 2554 เวลา 10.00 -12.00น. สรุปผลการไปร่วมเสวนาและตรวจเยี่ยมดังนี้

                   1. ผู้ประสานงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ นายสาโรจน์   ถาวรรัตน์

                    2. ผู้เข้าร่วมเสวนา ประกอบด้วยคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มสหกรณ์กองทุนสวนยางทุ่งใหญ่พัฒนาจำกัด จำนวน 12 คน ครูและบุคลากรสำนักงาน กศน. จังหวัดตรังและกศน. อำเภอวังวิเศษ จำนวน 7  คน เจ้าหน้าที่จากสำนักงานส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรจังหวัดตรังจำนวน 3  คนผู้ตรวจสอบบัญชีสหกรณ์จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี จำนวน 1 คน รวม 23  คน

                   3.  พิธีกรดำเนินการสนทนา   นายนพรัตน์  โชติเกษมกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผน กศน. ตรัง

คุณสุธรรม พลบุญ  ประธานกลุ่ม ..นำชมโรงเก็บตรวจสอบและปรรูปยางพาราพร้อมกับอธิบายถึงการระวังสิ่งแวดล้อมโดยมีบ่อบำบัดน้ำเสีย

                   4. ข้อมูลสภาพทั่วไปเป็นสหกรณ์การเกษตร จดทะเบียนเมื่อวันที่ 17  มีนาคม 2537เขตดำเนินงาน คือตำบลโคกสะบ้า  สมาชิกแรกตั้ง 24 คน ทุนเรือนหุ้น 6000. บาท ปัจจุบัน (31 มีนาคม 2554 )มีสมาชิก 150 คน มีทุนดำเนินการ 6,228,879.31 บาท(หกล้านสองแสนสองหมื่นแปดพันแปดร้อยเจ็ดสิบเก้าบาทสามสิบเอ็ดสตางค์ ) สภาพปัญหา ยังไม่มีที่เป็นของกลุ่ม อาคารเดิมคับแคบ ถ้ามีน้ำยางมากจะมีปัญหาในการผลิตยางแผ่น ข้อเสนอแนะอยากได้อาคารใหม่ที่กว้างขวางและจะได้ขยายกิจกรรมอื่น ๆ นอกจากเรื่องยางพารา ประเด็นที่ราชการควรให้การสนับสนุน  การขยายพื้นที่และเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 

                   ผอ.คมกฤช..(รก.ผอ. กศน. วังวิเศษ )..ให้ความสนใจกับข้อมูลราคาน้ำยางและข้อมูลข่าวสารของกลุ่ม

5. การจัดทำบัญชีของสหกรณ์  ทำเป็นระบบบัญชีคู่ มีการปิดบัญชีทุก 31  มีนาคม ของทุกปี  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการอบรมให้ก่อนจึงไม่มีปัญหา ตอนนี้มีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เวอร์ชั่น 2  (โปรแกรมแยกประเภท/ โปรแกรมทุนเรือนหุ้น / โปรแกรมสินค้า  ) เริ่มใช้มา 2 เดือน อยากให้มีการอบรมอย่างสม่ำเสมอ เช่น 3-4 เดือนครั้ง  

  

การควบคุมและตรวจสอบคุณภาพน้ำยางพาราของสมาชิก มีการสุ่มตรวจอย่างละเอียด  ขั้นป็นอีกหนึ่งขั้นตอนของการควบคุมคุณภาพภายในที่ได้รับการยอมรับอยู่ในระดับดี  ทำให้เกิดการยอมรับทั้งผู้ซื้อผู้ขายและกลุ่มผู้ร่วมค้า       

 6.การใช้ข้อมูลทางบัญชีในการบริหารงาน  มีการรายงาน งบทดลอง งบการเงิน  บทวิเคราห์ แจ้งกรรมการ มีการประชุมทุกเดือน  มีการติดตามแผนและผลทุกเดือน  กรรมการชุดปัจจุบันมี 7  คน มีผู้ตรวจสอบกิจการ 3 คน มีฝ่ายจัดการ 3 คน มีฝ่ายดำเนินธุรกิจ  4  ฝ่าย  คือ 1) ธุรกิจรวบรวมผลผลิต (ซื้อ-ขาย น้ำยางสด)  2.ธุรกิจแปรรูปผลผลิต (ซื้อน้ำยางสดมาแปรรูปเป็นแผ่นยางรมควัน ) 3. ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย (ขายปุ๋ย ) 4.เป็นจุดบริการ จ่ายปุ๋ยสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอสิเกา

7.การให้บริการด้านเงินฝากแก่สมาชิก             

       ขณะนี้ ยังไม่มี

8. การให้บริการด้านเงินกู้แก่สมาชิก

          ขณะยังไม่มี

9. การจัดหาสินค้ามาจำหน่ายแก่สมาชิก  

         มีการจำหน่ายปุ๋ย แก่สมาชิก บางส่วน แต่ไม่เต็มรูปแบบเพราะเป็นจุดบริการจ่ายปุ๋ยของกองทุนสงเคราะห์

10. การรวบรวมผลผลิตยางพารา/ปาล์มน้ำมัน

         ในการรับซื้อน้ำยางพารา จะมีการควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน

11. การแปรรูปผลผลผลิตยางพารา

        สหกรณ์ซื้อน้ำยางสดมาแปรรูปเป็นยางแผนรมควัน สภาพปัญหา  เครื่องจักรอุปกรณ์อยู่ในสภาพใช้งานได้แต่ไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้มีต้นทุนสูง สหกรณ์ขาดโรงเรือนเก็บรักษาสินค้า  โรงงานไม่สามารถขยายได้ ทำให้น้ำยางล้นระบบ บางช่วงสหกรณ์มีเงินทุนหมุนเวียนไม่พอ  ขาดสภาพคล่อง  สิ่งที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือจากทางราชการ ต้องการ ต้องการได้งบสนับสนุน ในการซ่อมแซมโรงงาน อุปกรณ์ เครื่องมือ  และการอบรมความรู้ด้านวิชาการ ด้านการทำบัญชีจากภาครัฐอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

12. การจัดสวัสดิการ/การให้การสงเคราะห์แก่สมาชิก    มีการช่วยสวัสดิการสมาชิก การช่วยเหลือกรณีบ้านสมาชิกถูกน้ำท่วม การศึกษาบุตร งานศพ และพาสมาชิกไปศึกษาดูงาน และกำลังจะจัดทำสวัสดิการด้านรักษาพยาบาล แก่สมาชิก

13.จากการสัมภาษณ์พูดคุยกับสมาชิกของกลุ่ม พบว่า การเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม ทำให้สมาชิกขายผลผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรม ซื้อปุ๋ยในราคาถูกและมีคุณภาพ สมาชิกได้รับเงินปัน เงินเฉลี่ยคืน จากกำไรสุทธิประจำปี สมาชิกได้จากกำไรสิทธิประจำปี และทุกคนมีความเชื่อมั่นว่ากรรมการ ประธานมีความโปร่งใส และซื่อสัตย์

สรุปวิเคราะห์ความสำเร็จของกลุ่มกองทุนสวนยางทุ่งใหญ่พัฒนา

ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก หมายเหตุ
1. กลยุทธ์และยุทศาสตร์กลุ่มสหกรณ์ทุ่งใหญ่พัฒนาท่าสะบ้าใช้วิธีการช่วยเหลือตัวเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยใช้หลักสหกรณ์ และมีระบบจัดการที่ทันสมัย จากทุนเรือนหุ้น 6000บาท สามารถพัฒนาเป็น 6,000,000,บาท โดยมีการทำธุรกิจซื้อขายน้ำยาง  มีการนำน้ำยางมาแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเป็นยางแผ่นรมควัน ทำให้กองทุนมีรายได้เพิ่มขึ้น  2.โครงการสร้างองค์กรมีการคัดเลือกประธานกันในกลุ่มกรรมการ  และให้อยู่ในวาระไม่เกิน 2  วาระ มีผู้ตรวจสอบกิจการ ถึง 3  คน  คือ นายเสถียร ละเอียด นางพลอยศิริ นิลจันทร์ และสุรพล มายูร  มีฝ่ายจัดการ คือ นายสุธรรม พลบุญ ประธานกรรมการทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ นางวรรณรัตน์ โพธิ์สุวรรณ กรรมการทำหน้าที่บัญชี และนางอภิญญา วงศ์วิวัฒน์ เหรัญญิกที่ทำหน้าที่ ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ 3.ระบบการปฏิบัติงาน มีการวางตัวบุคลากรที่มีความรู้ตรงกับสายงานที่เรียนมา เช่น เจ้าหน้าที่การเงิน บัญชี ก็จบโดยตรงมาทางด้านนี้ 4.ระบบการบริหาร มีการคัดเลือกกรมการจากคนที่มีความซื่อสัตย์ มีจิตสาธารณะ ให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของส่วนรวม  มีการนำข้อมูลมาใช้ในการบริหารจัดการ มีการนำข้อมูลทางบัญชีมาใช้ในการบริหารงาน5.บุคลากร บุคลากรทุกคนมีความซื่อสัตย์ ทำงานเพื่อส่วนรวม มีจิตสาธารณะ  พัฒนาตนเอง เข้ารับการอบรมและไปศึกษาดูงานเสมอ ประธานกลุ่ม คือ นายสุธรรม พลบุญ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดตามภาวะความเป็นไปของตลาดยางพาราโลก และมีเครือข่าย ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  6. ความรู้ความสามารถ ประธานและกรรมการคือคุณสุธรรม พลบุญ เป็นคนเรียนรู้อนาคตและความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ  ตลอดจนคณะทำงาน เช่น คุณอภืญญา วงศ์วิวัฒน์  คุณเจริญศักดิ์ พิมพ์โคตร คุณกัลยา จบถิ่น คุณปัญญา สงบดี  คุณวิรัตน์ นกศรีแก้ว คุณวรรณรัตน์ โพธิ์ศรีแก้ว มีความรู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องยางพารา การแปรรูป การควบคุมคุณภาพ มีการตรวจสอบคุณภาพทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปลูก การกรีด การบำรุงดูแลรักษา การควบคุมคุณภาพน้ำยาง การควบคุมคุณภาพการแปรรูปเป็นแผ่นยางรมควัน ทำให้สมาชิก กลุ่มผู้ค้ามีความเชื่อถือ 7. มีความเชื่อศรัทธา ในองค์กร ทุกคนที่มีส่วนในกลุ่มตั้งแต่กรรมการ ผู้ตรวจสอบและสมาชิกต่างก็มีความไว้เนื้อเชื่อใจ องค์กรมีความโปร่งใส และมีการนำผลกำไรไปจัดเป็นสวัสดิการของสมาชิกภายในกลุ่ม เช้าช่วยเหลือสมาชิกที่โดนน้ำท่วม  งานศพ การศึกษาบุตร และคนอื่นๆ ภายในชุมชน   1.กฏหมายที่เกี่ยวข้อง สหกรณ์ทุ่งใหญ่พัฒนาได้ดำเนินการภายใต้กฏหมายหลักคือ กฎหมาย/รัฐธรรมนูญ/ กฎหมายแพ่งพาณิชย์/กฎหมายแรงงาน/กฎหมายศาลปกครอง /พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 /ข้อบังคับระเบียบสหกรณ์ /กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ของเศรษฐกิจ ของตลาดยางพาราโลก มีส่วนผลักดัน ให้กิจการดีขึ้น มีการทำธุรกิจเสริมและติดตามความเคลื่อนไหวตลาดโลกตลอด3.  สหกรณ์ตั้งขึ้นสอดคล้องกับบริบทของชุมชน ชาวบ้านที่ตำบลท่าสะบ้าส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนยาง การรวมกลุ่มกันทำธุรกิจน้ำยาง จึงสอดคล้องกับวิถีชีวิต ทำให้คนรักท้องถิ่น มีความสามัคคี  เห็นความสำคัญของการรวมกลุ่ม เป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในชุมชน4. การรับเทคโนโลยีมาใช้ประกองการทธุรกิจ เช่นการใช้โปรแกรมระบบบัญชีในการบริการ การวิเคราะห์งบทดลอง งบการเงิน การใช้คอมพิวเตอร์ การติดตามการขึ้นลงยางพาราในตลาดโลก ของ กลุ่ม โดยเฉพาะประธานกลุ่ม คือคุณสุธรรม พลบุญ เป็นผู้มีวิสัยทัศน์เป็นที่ยอมรับของสมาชิกและกรรมการกลุ่ม ผู้ดำเนินการสนทนา 1. นายนพรัตน์  โชติเกษมกุล(นักวิเคราะห์นโยบายและแผน )ผู้จดบันทึก1. นางเพียงใจหอยสังข์ (ครูชำนาญการพิเศษ )2. นายกฤษดา บิลเกษม ( เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ )ผู้วิเคราะห์นางสุรีย์  นาคนิยม ครูชำนาญการพิเศษ  

ขอขอบคุณ ทีมงานกองทุนสหกร์ทุ่งใหญ่พัฒนา  อ.วังวิเศษ และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ จ ตรัง  ไว้ ณ โอกาสนี้ ที่ทำให้พวกเราได้เปิดโลกทัศน์ที่แตกต่าง .........และหวังว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มพลังความคิดสร้างสรรค์ แก่ชาวกศน. ตรัง ทุกคน

  หมายเหตุ  

  • การเรียนรู้ข้ามสายงาน (Cross Functional Learning) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของสัมคมโลก  ถ้าระหว่างทีม ถ้าไม่มีการเรียนรู้ข้ามสายงาน ปัญหาในการประสานงานจะเกิดขึ้น การแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และทักษะวิธีคิด ข้ามสายงาน จะทำให้เข้าใจระบบงานซึ่งกันและกัน  จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ บุคลากรระดับผู้นำ ต้องรอบรู้ในทุกสายงานขององค์กร  ควรได้มีการหมุนเวียนให้เรียนรู้ภายในครบทุกสายงานก่อน (Spiral Career Path)แล้วจึงข้ามไปต่างหน่วยงาน  ในยุคแห่งการแข่งขัน ทรัพยากรบุคคลเป็นตัวแทนอยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จทั้งหมดขององค์กร จึงต้องมีบุคลากรที่มี ความสามารถเชี่ยวชาญ (Competency) และเป็นมืออาชีพ (Professional) อย่างแท้จริง โดยทุกคนต้อง มุ่งมั่นพัฒนาตนเอง เพิ่มพูนความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) อย่างต่อเนื่อง ด้วยกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Life Long Learning)อ้างอิงจาก(จากองค์กรแห่งการเรียนรู้ )http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Organiztion.htm


  • ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท