ภาษามคธ : ภาษาบาลี : ภาษาพระพุทธเจ้า (๒)


ภาษามคธเป็นภาษาที่ไม่เสื่อมไปจากโลก
ภาษามคธเป็นภาษาที่ไม่เสื่อม

       ภาษามคธนับว่าเป็นภาษาที่สูงกว่าภาษาทั้งหลาย เพราะสมบูรณ์ด้วยคุณวิเศษ และ สภาวนิรุตติ คำว่า สภาวนิรุตตินั้น หมายถึงภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงความหมายและอธิบาย มีอำนาจในการแสดงอรรถและอธิบายได้แน่นอน เป็นภาษาที่ผู้วิเศษทั้งหลาย มี พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงใช้อยู่ กล่าวอีกนัยหนึ่ง สภาวนิรุตติ หมายถึงภาษาที่ไม่มีการ เปลี่ยนแปลง ไม่เสื่อม ตั้งอยู่โดยปกติ

 

 

       ส่วนภาษาอื่นๆ เมื่อถึงกาลหนึ่ง ย่อมเปลี่ยนแปลง และเสื่อมได้ สำหรับภาษามคธ แล้ว จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเสื่อมเลย ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนๆ ในกาลไหนๆ หากจะมีการ เปลี่ยนแปลง หรือเสื่อมสลายก็เป็นเพราะผู้ศึกษา ผู้แสดง ผู้สอน เรียนผิด แสดงผิด และสอนผิด แม้ถึงกระนั้น ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดยตลอดกาล เพราะท่านกล่าวไว้ ในสัมโมหวิโนทนี ว่า สถานที่พูดภาษามคธมากที่สุดคือ นรก ดิรัจฉาน เปรต โลกมนุษย์ สวรรค์ และพรหมโลก กล่าวอธิบายว่า เมื่อโลกแตกสลาย พรหมโลกมิได้เข้าข่ายการแตก สลายด้วย ฉะนั้น พรหมโลกจึงตั้งอยู่ได้สภาพเดิม

 

------------------------------

๑. ธมฺมนิรุตฺตาภิลาเปติ เอตฺถ ธมฺมสทฺโท สภาววาจโกติ กตฺวา อาห "ยา สภาวนิรุตฺตีติ อวิปริตนิรุตฺตีติ อติโถ. (มูลฏี. ๒/๑๙๑). อวิปริตนิรุตฺตีติ พุทฺธาทีหิ อาจิณฺณา ตสฺส อตฺถสฺส วจกภาเว นิรุฬฺหา ยาถาวนิรุตฺติ (อนุฏี. ๒/๑๙๒)

๒. เสสา...อฏฺฐารส ภาสา ปริวตฺตนฺติ. อยเมเวกา ยถาภุจฺจพฺรหฺมโวหารอริยโวหาร สงฺขาตา มาคธภาสา น ปริวตฺตนฺติ. (อภิ.อฏฺ. ๒/๓๗๑-๒) เสสา ปริวตฺตนฺติ เอกนฺเตน กาลนฺตเร อญฺญถา โหนฺติ วินสฺสนฺติ จ. มาคธา ปน กตฺถจิ กทาจิ ปริวตฺตนฺตีปิ น สพฺพตฺถ สพฺพทา จ ปริวตฺตติ. กปฺปวินาเสปิ ติฏฺฐติเยว (มูลฏี. ๒/๑๙๒) มนุสฺสานํ ทุรคฺคหณาทินา กตฺถจิ กทาจิ ปริวตฺตนฺตีปิ พฺรหฺมโลกาทีสุ ยถาสภาเวเนว อวฏฺฐานโต น สพฺพตฺถ สพฺพทา จ ปริวตฺตติ. (อนุฏี. ๒/๑๙๔)

๓ เล่มเดียวกัน. หน้า ๓๗๑

๔. ที่ว่ามนุษย์โลกพูดภาษามคธมากที่สุดนั้น สันนิษฐานว่า น่าจะกล่าวถึง เทสิยมาคธี ภาษา (ฮินดีภาษา) มากกว่า คำว่า มนุษย์โลกในที่นี้ จะต้องกล่าวหมายถึง ชมพูทวีป ที่เรียก ว่าประเทศอินเดียในปัจจุบัน จึงจะสมจริง (คำนำโมคคัลลานนิสสยะ)

 

--------------------------------------------------------

เว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้ภาษาบาลีและพระพุทธศาสนา
http://www.palisikkha.org/

--------------------------------------------------------

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #มหาจุฬาฯ
หมายเลขบันทึก: 437507เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2011 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 04:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท