'แกงพริกเกลือ' : เคล็ดลับฉบับครูแตน ครูสำอางค์ โอภาษี ของคนหนองบัว


แกงพริกเกลือ
เคล็ดลับฉบับครูแตน

 

สำอางค์ โอภาษี

 

แกงพริกเกลือ (ไม่ใช่พริกเกลือจิ้มผลไม้ แต่เป็นปลาร้าสับให้ละเอียด ใส่พริกแห้ง หอม กระเทียมเผา ใส่ใบมะกรูด มะขามเปียก โขลกรวมกันให้เหนียว) เป็นอาหารพื้นบ้านที่ไม่มีที่อื่นทำกินกัน เพราะเป็นอาหารที่เกิดจากความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายและความสามัคคีปรองดองกันของคนในหมู่บ้าน

       

ในสมัยก่อน เมื่อว่างจาการทำไร่ ทำนา ชาวบ้านก็จะเข้าป่าเพื่อไปหาเศษไม้มาเผาถ่าน หรือบางครั้งจะตัดไม้เพื่อสร้างบ้านเรือน ซึ่งจะต้องเดินทางไปเป็นเวลาหลายวัน แม่บ้านจะตำพริกเกลือมาใส่กลักไม้ไผ่ (ใช้ไม้ไผ่ ๒ ท่อนสวมกัน) เรียกว่ากลักพริกเกลือ

ไปตามป่าเขาก็นำเอามาเป็นเครื่องแกง โดยหาผักที่รับประทานได้ นำมาแกง หรือเมื่อถึงฤดูทำนา ชาวบ้านจะไปไร่ไปนากันแต่เช้า แม่บ้านจะต้องเตรียมทำพริกเกลือ ห่อใบตองพลวง

เมื่อถึงกลางวัน จะตั้งหม้อดำเล็กๆ (หม้อที่เคยหุงด้วยฟืน ไว้สำหรับหุงหาอาหารในนา) นำพริกเกลือของแต่ละคนที่เตรียมมาคนละเล็กละน้อยละลายน้ำ ต้มให้เดือด

หาปลาหรือสัตว์อื่นที่พอหาได้ในแถวนั้น เช่น กบ หอย ปู กุ้ง แถวๆนั้น มาใส่พร้อมผักที่พอหาได้เช่นกัน และใส่ใบมะขาม ใบกะเพรา

เสร็จแล้วกินกับข้าว แกงร้อนๆ อร่อยอย่าบอกใคร ซึ่งก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ชาวหนองบัวภาคภูมิใจว่าได้กินอาหารรสชาติอร่อยและมีสารอาหารครบถ้วน

   

หมายเหตุ ถ้าผู้สนใจจะแกงพริกเกลือ ควรซื้อพริกเกลือหลายร้าน แกงจะได้รสชาติที่ดี

.............................................................................................................................................................................

ครูแตน ครูสำอางค์ โอภาษี เป็นครูโรงเรียนหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ท่านได้ป่วยและถึงแก่กรรมเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๕๔ ลูกศิษย์ลูกหาของคุณครูหลายรุ่นรู้สึกรักและผูกพันกับคุณครู ได้แสดงความกตัญญูทั้งด้วยการน้อมรำลึกและสืบทอดสิ่งต่างๆที่คุณครูได้มอบไว้ให้ บันทึกเรื่องพริกเกลือของคนหนองบัว เป็นบันทึกหนึ่งของคุณครูแตน เวทีคนหนองบัวจึงขอนำมารวบรวมเผยแพร่ พร้อมกับเป็นเครื่องรำลึกถึงคุณครูแตนของลูกหลานคนหนองบัว ให้อยู่ในความรักเคารพและความทรงจำของคนหนองบัวไปด้วยตลอดไป.

หมายเลขบันทึก: 437480เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2011 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับอาจารย์

สมัยเป็นเด็กก็เคยสัมผัสบรรยากาศแบบนี้ครับ

ตอนออกไปเที่ยวป่า ก็จะเตรียมพริกแกง (เข้าใจว่าความหมายเดียวกัน) ไปด้วย ตอนนั้นปู่จะเป็นคนเอาเครื่องปรุงต่าง ๆ มาใส่ จำได้ไม่ครบแล้วว่ามีอะไรบ้าง (แปลกมาก ปู่และพ่อ มักจะทำพริกแกงอร่อยกว่า ย่าและแม่)

โขลกกันเป็นชั่วโมงเลยครับ กว่าจะได้ที่

เข้าป่า ก็จะได้ปลา นก สัตว์ป่าที่ยิงได้มาเป็นกับข้าว

วิธีก็ไม่ต่างกัน ละลายพริกแกงกับน้ำ แล้วก็ต้ังให้เดือดใส่เนื้อ ลงไปก่อน แล้วก็ใส่ผักตามลงไป

อาหารเรียบงานในป่าแบบนี้ สมัยก่อนเรียกได้ว่า "เอาสเต๊กมาแลกก็ไม่ยอม" ครับ

อดจินตนาการไปด้วยจนต้องน้ำลายไหลไม่ได้เลยนะเนี่ย
เป็นวิธีทำอาหารที่เหมาะสำหรับเข้าไปทำมาหากินในป่า ทำนาทำไร่ มากเลยนะครับ
ไปเจออะไรในป่าก็กลายเป็นส่วนผสมได้หมด แล้วก็เก็บไว้ได้เป็นเดือนเลย
นับว่าเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านมากอย่างยิ่งนะครับ

ขอบคุณค่ะ..เป็นเมนูท้องถิ่นคู่กายของมาอย่างต่อเนื่อง..พี่ใหญ่ส่งมาแลกหนึ่งอย่างค่ะ..จากสวนผักน้อยๆในบ้าน..น้ำพริกกุ้งเสียบปักษ์ใต้แนมด้วยฝักถั่วพูสด..

สวัสดีครับพี่ใหญ่ครับ
อาหารภาคใต้นี่ เป็นสุดยอดของศิลปะการกินผักสดเลยนะครับ

ชอบทานมากๆค่ะ..แต่จากลา คน นครสวรรค์ มานานสิบกวาาปีละ ที่ไม่ได้ทาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท