บาลีสาวิกาสิกขาลัย1


สมาส

สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านบล็อกทุกท่าน

ในฉบับนี้ผู้เขียนได้บรรยายเกี่ยวกับวิชาภาษาบาลี ในส่วนของ "สมาส" บรรยายที่สาวิกาสิกขาลัย เสถียรธรรมสถาน วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔ แก่นิสิตปริญญาโทสาขาวิชาพุทธศาสตร์และศิลปะแห่งชีวิต  ในชีวิตประจำวันของเราใช้ภาษาบาลีที่เป็นส่วนของสมาสประมาณ ๔๐% เช่นลูกชายของนายกอ  กองข้าวเปลือก  ผ้ากฐินเป็นต้น ชั่วโมงต่อไปนี้เรามาเรียนเรื่องสมาสกันเลยนะคะ 

          สมาสคือการย่อศัพท์นามตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไป เข้าเป็นศัพท์เดียวกัน หรือบทเดียวกัน  คำว่า สมาส มาจากสํ + อสฺ ธาตุ ในความย่อ ลง ณ ปัจจัย นามกิตก์ แปลงนิคคหิตเป็น ม  ด้วยอำนาจ ณ   แปลงต้นธาตุเป็น อา  ลบ ณ ทิ้ง สำเร็จเป็นสมาส 

ศัพท์สมาสเช่น  ปุริสสฺส  ปุตฺโต = ปุริสปุตฺโต

ธญฺญานํ  ราสิ = ธญฺญราสิ

รูปสำเร็จของสมาสมี ๒  ชนิดคือ

๑. ลุตฺตสมาส  สมาสที่มีรูปสำเร็จด้วยการลบวิภัติ เช่น

ธญฺญานํ  ราสิ = ธญฺญราสิ

กฐินสฺส  ทุสฺสํ = กฐินทุสฺสํ

กุสโล     ธมฺโม =กุสลธมฺโม

สุขํ          ปตฺโต=สุขปฺปตฺโต

๒. อลุตฺตสมาส  สมาสที่มีรูปสำเร็จด้วยการคงวิภัติไว้ เช่น

             ทูเร     นิทานํ  = ทูเรนิทานํ

             สนฺติเก นิทานํ  =สนฺติเกนิทานํ

             มนสิ    กาโร   มนสิกาโร

             อุรสิ    โลโม   =  อุรสิโลโม

           เทวานํ   อินฺโท= เทวานมินฺโท

สมาสมี  ๖ ชนิด คือ

๑. กมฺมธารย

๒. ทิคุ

๓. ตปฺปุริส

๔.ทฺวนฺทฺว

๕.อพฺยยีภาว

๖.พหุพฺพีหิ

ชื่อสมาสเหล่านี้เป็นเพียงชื่อเฉพาะ หรืออสาธารณนาม ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อแยกพวกสมาสให้ต่างๆกันเท่านั้น

๑.กมฺมธารย  คือ การย่อบท ๒ บทอันมีวิภัติและวจนะเสมอกันเข้าเป็นบทเดียวกัน บทหนึ่งเป็นประธาน บทหนึ่งเป็นวิเสสนะ หรือเป็นวิเสสนะทั้งสองบท แจกออกได้เป็น ๖อย่างคือ

 ๑.วิเสสนปุพฺพบท

๒.วิเสสนุตฺตรบท

๓. วิเสสโนภยบท

๔. วิเสสโนปมบท

๕.สมฺภาวนปุพฺพบท

๖. อวธารณปุพฺพบท

วิเสสนปุพฺพบท เช่น  มหาปุริโส   มหาบุรุษ  บุคคลสำคัญ. มหา +ปุริโส = มหาปุริโส. วิเคราะห์ มหนฺโต  ปุริโส = มหาปุริโส  แปลง มหนฺต เป็นมหา. กุสลปุริโส วิเคราะห์ว่า  กุสโล จ โส ปุริโส จาติ= กุสลปุริโส.  ปาวจนํ วิเคราะห์ว่า ปธานํ   วจนํ=ปาวจนํ (คำสอนอันเป็นประธาน)

มหานที แม่น้ำใหญ่  วิเคราะห์ มหนฺตี  นที= มหานที

มหพฺภยํ  ภัยใหญ่. มหนฺต แปลง เป็นมหา รัสสะ เป็นมห เพราะมีสังโยค พฺ+ภย= มหพฺภยํ วิเคราะห์คือ มหนฺตํ  ภยํ  = มหพฺภยํ

สปฺปุริโส  สัตบุรุษ,  คนสงบ ,คนเรียบร้อย. สนฺต แปลงเป็น ส+          ปุริส และสังโยค= สปฺปุริส. สนฺโต  ปุริโส = สปฺปุริโส. 

๒.วิเสสนุตฺตรบท มีบทหลังเป็นวิเสสนะ เช่น

            นโร  เสฏฺโฐ  = นรเสฏฺโฐ  คนประเสริฐ

            สตฺโต  วิเสโส   = สตฺตวิเสโส  สัตว์วิเศษ

            อานนฺโท   เถโร   = อานนฺทเถโร   พระอานนท์ผู้เถระ

๓. วิเสสโนภยบท  มีบททั้งสองเป็นวิเสสนะ เช่น

สีตญฺจ  อุณฺหญฺจ  =สีตุณฺหํ(ฐานํ) ทั้งเย็นทั้งร้อน

คิลาโน  จ   โส  วุฏฺฐิโต  จาติ =คิลานวุฏฺฐิโต(ปุริโส)  เป็นไข้หายแล้ว

๔. วิเสสโนปมบท  มีบทอุปมาเป็นวิเสสนะ แยกเป็น ๒ คือ

            ๑. อุปมาปุพฺพบท บทหน้าเป็นอุปมา เช่น สงฺขํ  อิว ปณฺฑรํ= สงฺขปณฺฑรํ (ขีรํ)  ทิพฺพํ  อิว  จกฺขุ = ทิพฺพจกฺขุ

            ๒.อุปมานุตฺตรบท บทหลังเป็นอุปมา เช่น พุทฺโธ  อาทิจฺโจ  อิว   = พุทฺธาทิจฺโจ  

นโร  สีโห  อิว   =นรสีโห

๕. สมฺภาวนปุพฺพบท    มี อิติ ศัพท์ แปลว่า ว่า”อยู่ในรูปวิเคราะห์

เช่น   อตฺตา  อิติ  ทิฏฺฐิ = อตฺตทิฏฐิ

            ปาโณ อิติ  สญฺญิตา= ปาณสญฺญิตา

            ขตฺติโย  อิติ  มาโน   = ขตฺติยมาโน

๖.อวธารณปุพฺพบท   มีคำว่า เอว แปลว่า คือ

            คุโณ   เอว  ธนํ=  คุณธนํ

            ปญฺญา  เอว  รตนํ=  ปญฺญารตนํ

            จกฺขุ เอว  อินฺทริยํ   =จกฺขุนฺทฺริยํ

แบบฝึกหัด

จงตั้งวิเคราะห์กัมมธารยสมาสดังต่อไปนี้

๑ การชโน(ชนผู้กระทำ)

๒.ขตฺติยกญฺญา(นางผู้กษัตริย์)

๓. นีลุปฺปลํ(ดอกบัวเขียว)

๔. มหาธานี(เมืองใหญ่)

๕. มหาวนํ(ป่าใหญ่)

๖.มหาราชา(พระราชาใหญ่)

๗. มหปฺผลํ(ผลใหญ่)

๘. มหาเถโร(พระเถระผู้ใหญ่)

 ๙.ปุริสุตฺตโม (บุรุษอุดม)

 ๑๐. โมคฺคลฺลานตฺเถโร(พระโมคคัลลานะผู้เถระ)

  ๑๑.พุทฺธโฆสาจริโย(พระพุทธโฆสะผู้อาจารย์)

 ๑๒. สารีปุตฺตตฺเถโร(พระสารีบุตรผู้เถระ)

๑๓. นรวโร(นระผู้ประเสริฐ)

๑๔.มนุสฺสทลิทฺโท(มนุษย์ขัดสน)

๑๕. นาริวรา(นางผู้ประเสริฐ)

๑๖. กุลุจฺจํ(ตระกูลสูง)

๑๗.กุลนีจํ(ตระกูลต่ำ)

๑๘. สีตสมฏฺฐํ(ทั้งเย็นทั้งเกลี้ยง)

๑๙.อนฺธวธิโร (บุรุษทั้งบอดทั้งหนวก)

๒๐.ขญฺชขุชฺโช(ทั้งกระจอกทั้งค่อม)

๒๑. สุคนฺธรุจิรํ(ทั้งหอมทั้งงาม)

๒๒. กากสูโร (กล้าเพียงดังกา)

๒๓. อจฺฉราโสภณา(งามเพียงดังนางอัปสร)

๒๔. ปญฺญาปาสาโท(ปัญญาเพียงดังปราสาท)

๒๕.มุนิวสโภ(พระพุทธเจ้าเพียงดังโคผู้)

๒๖.มุนิปุงฺคโว(พระพุทธเจ้าดังโคผู้)

๒๗.มุนิสีโห(พระพุทธเจ้าดังราชสีห์)

๒๘.มุนิกุญฺชโร(พระพุทธเจ้าดังกุญชร)

๒๙.พุทฺธนาโค(พระพุทธเจ้าดังช้าง)

๓๐. สทฺธมฺมรํสิ(พระสัทธรรมดังรัศมี)

๓๑. ธมฺมพุทฺธิ(ความรู้ว่าธรรม)

๓๒. สมณปฏิญฺญา(ปฏิญญาว่าเราเป็นสมณะ)

๓๓. สามเณรสญฺญา(ปฏิญญาว่าเป็นสามเณร)

๓๔.อุปาสิกาสญฺญา(ปฏิญญาว่าเป็นอุปาสิกา)

๓๕.ปญฺญาภา(แสงสว่างคือปัญญา)

๓๖.ปญฺโญภาโส(แสงสว่างคือปัญญา)

๓๗.ปญฺญาปโชโต(ประทีปอันโพลงทั่วคือปัญญา)

๓๘.พุทฺธรตนํ(รตนะคือพระพุทธเจ้า)

๓๙.ธมฺมรตนํ(รตนะคือพระธรรม)

๔๐. สงฺฆรตนํ(รตนะคือพระสงฆ์)

๔๑. สทฺธาธนํ(ศรัทธาคือทรัพย์)

๔๒. ญาณชาลํ(ข่ายคือญาณ)

ฉบับนี้จบเพียงเท่านี้ ฉบับหน้าพบกันใหม่นะคะ

มหาจุฬาฯ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #มหาจุฬาฯ
หมายเลขบันทึก: 437377เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2011 12:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

แอบมาอ่านก่อน งานยุ่งมาก ได้ความรู้เรื่องสมาส ไปเต็มๆๆ ลองใช้กิจกรรมให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดบูรณาการกับการสอนภาษานะครับ

ตรงนี้เข้าใจว่า ระบบ front ไม่ดีครับ

ธญฺานํ ราสิ = ธญฺราสิ

รูปสำเร็จของสมาสมี ๒ ชนิดคือ

๑. ลุตฺตสมาส สมาสที่มีรูปสำเร็จด้วยการลบวิภัติ เช่น

ธญฺานํ ราสิ = ธญฺราสิ

กนสฺส ทุสฺสํ = กนทุสฺสํ

มาเชียร์แม่ชีครับ...

  • ชอบค่ายเด็กแบบนี้
  • Large_img_7086 
  • เลยเอาค่ายภาษาอังกฤษทั่วประเทศมาเชื่อมโยง
  • http://portal.in.th/kha-ku/pages/5491/
  • ทำอย่างไรให้ค่ายธรรมมะนักเรียนมีความสุขครับ
  • ค่ายครู
  • http://portal.in.th/kha-ku/pages/4815/
  • ขอบคุณครับ
สานุ มหัทธนาดุลย์

มาร่วมเชียร์อาจารย์แม่ฯ ด้วยคนครับ

แหม, มีท่านดร.ขจิต ฝอยทองคอยตามให้กำลังใจด้วยนะนี่ !!!

เข้ามาอ่านและปริ้นแบบฝึกหัดไปฝึกทบทวนค่ะ

จรัสแสง สาวิกา๓

ย้อนมาอ่านความรู้ที่ท่านนำมาแบ่งปันค่ะ

เข้ามาอ่านทบทวนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท