แนวโน้มการพัฒนาทางการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑


แนวโน้มการพัฒนาทางการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑

แนวโน้มการพัฒนาทางการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑

ภาณุ อดกลั้น

 บทนำ

การพัฒนา(Development) เป็นกระบวนการทำความเจริญ (พจนานุกรมฉบับบัณฑิตราชสถาน, ๒๕๕๒) โดยการปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน การพัฒนาที่ดีนั้นจะต้องให้เกิดความทันสมัยทั้งทางด้านวัตถุ และ จิตใจของบุคคลในสังคมโดยรอบ (Modernization with development)

การพัฒนาทางการศึกษา

การศึกษาเป็นความเจริญงอกงาม (Education is growth)  (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ    ประสานมิตร) มีปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องมากมาย สืบเนื่องมาจากโลกาภิวัฒน์(Globalization) กระแสของความรู้ วัฒนธรรมจากแหล่งต่างๆทั่วโลกสามารถสื่อสารถึงกันอย่างทั่วถึงผ่านระบบเครือข่าย เช่น ดาวเทียมหรือระบบ Internet เป็นต้น การพัฒนาที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน (Sustainable)      ได้นั้นจะต้องต้องดูบริบท (Context) ของในแต่ละพื้นที่ซึ่งอาจมีแตกต่างกันได้ ต้องเลือกให้เหมาะสม ตัวอย่างเช่น การที่จะรักษาความเป็นชาติไทยให้วัฒนาถาวรนั้น จำเป็นต้องมีปัจจัยสำคัญ อาจเรียกได้ว่าเสาหลักของประเทศไทย ๔ ประการ คือ

๑. ภาษาพูดเป็นการสื่อสารที่รู้กันได้ทั่วประเทศ มีภาษากลาง

๒. ครอบครัวเป็นแบบครอบครัวขยาย มีญาติพี่น้องเป็นโครงข่ายโยงใยออกไปอย่างมากมาย มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นทางจิตใจ

๓. มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ สอนให้คนเป็นคนดี

๔. มีกษัตริย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนทั้งชาติ

                พัฒนาการของโลกจากอดีตคือยุคการเกษตรเพื่อบริโภค มาเป็นยุคอุตสาหกรรม และในยุคปัจจุบันหรือเรียกกันว่าเป็นคลื่นลูกที่ ๓ คือ ยุคของข้อมูลข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงที่เป็นขั้นเป็นตอนเรื่อยมากนั้นจะเห็นได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาทั้งสิ้น การสร้างและพัฒนาความรู้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่ง Herman Bryant Maynard และ Susan E. Mehrtens (1997) ได้เขียนถึง The fourth wave: business in the 21st century ว่าในศตวรรษที่ ๒๑ สังคมโลกต้องการนวัตกรรมที่ช่วยให้สุขภาพ (Health) และสุขภาวะ (Well being) ของผู้คนดีขึ้น โดยรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีไว้ให้มีความยั่งยืน (Environment Sustainability) การได้รับบริการในฐานะประชากรโลก (Global society) ทั้งด้านธุรกิจ (Economic equity) และ ฐานะทางเศรษฐกิจ (Redefinition of wealth) รวมทั้งการเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ในอนาคตผลกระทบที่เกิดขึ้นจะมีทั้งในโลกเองและจากนอกระบบสุริยจักรวาล(สม สุชิรา,๒๕๕๒)

บทสรุป

                การพัฒนาทางการศึกษาในปัจจุบัน และในอนาคตข้างหน้า จะต้องมีองค์ความรู้ในการสร้าง/การเตรียมความพร้อมเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แม้กระทั่งระบบสุริยจักรวาล/ระบบดวงดาวอื่นๆซึ่งอาจจะมีผลกระทบทั้งทางตรง และทางอ้อมมาสู่โลก ดังนั้นการพัฒนาการศึกษาจะต้องนำไปสู่ ๑) การกำหนดนโยบายเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ๒) การวางแผนที่ให้ประโยชน์ทั้งในด้านการแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน และพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรโลกอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม ๓) ต้องสามารถการประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม เช่น การนำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency economic) มาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในฐานะพลเมือง และพลโลกตามมาตรฐานการศึกษาชาติ ได้แก่การฝึกอบรมผู้เรียนให้ประกอบอาชีพสุจริต ให้ประชาชนมีความรู้ ใช้ความสามารถได้เต็มสมรรถนะ และใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

หมายเลขบันทึก: 437210เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2011 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท