สิ่งที่ควรรู้….การให้ความรู้ด้านข้อมูลข่าวสารของทางราชการ


   

             จากการประชุมของหน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554  ณ ห้องประชุมอิงบุรี โรงแรมพักพิง อิงทาง บูติค โฮเทล รีสอร์ท จังหวัดนนทบุรี

                การให้ความรู้ด้านกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ  มีหลักการและแนวคิด ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540  หลัก ๆ คือ

 

 

 

ด้านประชาชน : มีสิทธิจะรู้และรู้ที่จะใช้สิทธิของตนเอง

หน่วยงานของรัฐ  :   การเปิดเผยเป็นหลักปกปิดเป็นข้อยกเว้น และคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล

 

 

 

ข้อมูลข่าวสารของทางราชการที่ส่วนราชการต้องดำเนินการเปิดเผย มีดังนี้

 

มาตรา 7 : ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่ โครงสร้าง  การจัดการองค์กร สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ สถานที่ติดต่อขอรับข้อมูลข่าวสาร  กฎมติ ค.ร.ม. ข้อบังคับ คำสั่ง(กฎ)

 

มาตรา 9 : จัดให้ประชาชนเข้าตรวจดู เป็นเรื่องที่สนใจ  ดังนี้ ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน  เช่น การอนุญาต อนุมัติ การวินิจฉัย  การอุทธรณ์ที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง นโยบายหรือการตีความ แผนงาน โครงการและงบประมาณ รายจ่ายประจำปี ของปีที่กำลังดำเนินการ  คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน   สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างถึงตามมาตรา 7(2) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะในการผูกขาดตัดตอน หรือลักษณะร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย และแต่งตั้งโดยมติ ค.ร.ม.และข้อมูลอื่นตามที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารกำหนด

 

มาตรา10 :  บทบัญญัติมาตรา 7 และ9 ไม่กระทบถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการที่มีกฎหมายเฉพาะ กำหนดให้มีการเผยแพร่ด้วยวิธีการอย่างอื่น

 

มาตรา11 :  จัดให้เฉพาะราย เป็นเรื่องที่อยากรู้ ลักษณะข้อมูลที่จัดให้ประชาชน ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องทำใหม่ เว้นแต่แปรสภาพตามที่คณะกรรมการกำหนด  ซึ่งเห็นว่าไม่แสวงหาประโยชน์การค้า เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ

 

มาตรา12 :  กรณีที่มีผู้ยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารของทางราชการ มาตรา11  แม้ว่าข้อมูลข่าวสารที่ขอจะอยู่ในควบคุมดูแลของหน่วยงานส่วนกลาง หรือส่วนสาขา   ให้หน่วยงานของรัฐที่รับคำขอให้คำแนะนำเพื่อไปยื่นคำขอต่อหน่วยงานที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้น โดยไม่ชักช้า

 

มาตรา13 :  ผู้ใดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่จัดพิมพ์ ข้อมูลข่าวสารหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือเห็นว่าตนไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันควร สามารถร้องเรียนต่อคณะกรรมการ เว้นแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 15

 

 

ข้อมูลข่าวสารของทางราชการที่ส่วนราชการไม่ต้องเปิดเผย มีดังนี้

 

มาตรา 14 :  ข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

 

มาตรา 15 :  เป็นข้อมูลข่าวสารที่อาจไม่ต้องเปิดเผย เป็นมาตราเดียวที่ต้องใช้ดุลยพินิจ 3 ส่วนประกอบกันคือ การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้อง

 

มาตรา 16 :  ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล สิ่งเฉพาะของบุคคล

 

มาตรา 17 :  กรณีที่เห็นว่าข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ อาจส่งผลกระทบถึงประโยชน์ ได้เสียของผู้ใด ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นเสนอคัดค้านภายในเวลาที่กำหนด แต่ต้องให้เวลาอันสมควรที่ผู้นั้นอาจเสนอคำคัดค้านได้ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 15 วัน นับตั้งแต่วันได้รับแจ้ง ผู้ที่ได้รับแจ้งมีสิทธิคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นได้  โดยทำเป็นหนังสือถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบ

 

มาตรา18 :  สิทธิในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัย การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น โดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ

 

มาตรา19 :  การพิจารณาเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่มีคำสั่งมิให้เปิดเผย นั้น ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาของคณะกรรมการ จะต้องดำเนินการพิจารณาโดยมิให้ข้อมูลข่าวสารนั้น เปิดเผยแก่บุคคลอื่นใด ที่ไม่จำเป็นแก่การพิจารณา และในกรณีที่จำเป็นจะพิจารณาลับหลังคู่กรณีหรือคู่ความฝ่ายใดก็ได้

 

มาตรา20 :  เจ้าหน้าที่ที่เปิดเผยข้อมูลย่อมได้รับความคุ้มครองจากการปฏิบัติตามหน้าที่ ถ้าใช้ดุลยพินิจเปิดเผยเฉพาะกรณีต่อไปนี้ เพื่อประโยชน์สาธารณะและการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยสุจริต

 

                      ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล   

                      มาตรา21 : เพื่อประโยชน์ของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล

                      มาตรา 22 : การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารบุคคล ตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง(3) จะเป็นอุปสรรคร้ายแรงต่อการดำเนินการของหน่วยงานดังกล่าว

                      มาตรา 23 : จัดเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นและต้องยกเลิกเมื่อหมดความจำเป็น  update ข้อมูลอยู่เสมอและจัดระบบรักษาความปลอดภัย พยายามจัดเก็บข้อมูลโดยตรงจากเจ้าของข้อมูล และจัดให้พิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาใน 6 ประเด็น

                      มาตรา 24 : จะเปิดเผยข้อมูลโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของข้อมูลไม่ได้

                      มาตรา 25 : ยอมให้เจ้าของข้อมูลขอดูข้อมูลเกี่ยวกับตนได้ และแก้ไขข้อมูลให้ตรงความจริง ตามที่เจ้าของร้องขอ

 

                       เอกสารประวัติศาสตร์  

                      มาตรา 26 :  ข้อมูลข่าวสารของทางราชการที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษาหรือมีอายุครบกำหนด นับตั้งแต่วันที่เสร็จสิ้นการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารนั้น ให้หน่วยงานของรัฐส่งมอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ เพื่อคัดลอกให้ประชาชนศึกษาค้นคว้า

 

 

 

ประเภทของข้อมูลข่าวสาร มี 4 ประเภท คือ

  1. ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยเป็นการทั่วไป  ได้แก่  มาตรา 7 , มาตรา 9 และมาตรา 26

  2. ข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย  ได้แก่  มาตรา 14 , มาตรา 15 ฯลฯ 

  3. ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ได้แก่  มาตรา 4 , มาตรา 21  , มาตรา 23   และมาตรา 24

  4. ข้อมูลเฉพาะราย  ได้แก่  มาตรา 11  คือข้อมูลที่นอกเหนือจากมาตรา ที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ขอข้อมูลเฉพาะรายตาม มาตรา11 ผู้ให้ข้อมูลจะต้องวิเคราะห์ตามมาตรา 15

 

 ข้อมูลข่าวสารประกาศ ประกวดราคา ประกาศสอบราคา  และสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือน ต้องเผยแพร่ผ่านเว็ปไซด์ของหน่วยงาน และสามารถสืบค้นย้อนหลังได้ 1 ปี  ซึ่งเอกสารหรือไฟล์ที่เผยแพร่ต้องเหมือนตัวจริงทุกประการ เช่น มีครุฑ  ลายมือ ชื่อ – สกุล  ตำแหน่ง ของหัวหน้าส่วนราชการนั้นลงนามเรียบร้อยแล้วจึงเผยแพร่ได้

 


 

ที่มา: บันทึกข้อความ กรมสุขภาพจิต  สำนักงานเลขานุการกรม ที่ สธ.0801.5/ว2389 วันที่ 12 เมษายน 2554

ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต

หมายเลขบันทึก: 436062เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2011 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2014 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท