ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

ศิลปะการรับฟัง


บางคนถึงแม้จะมีความรู้น้อยแต่อาจจะมีประสบการณ์มากในบางเรื่องที่ผู้บังคับบัญชาไม่รู้ก็ได้ ดังนั้น ผู้บริหารที่มีทักษะหรือศิลปะการรับฟัง มักจะได้ข้อมูลดีๆ และยังเป็นที่ชื่นชมของลูกน้องอีกด้วย

ศิลปะการรับฟัง

โดย..ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)

www.drsuthichai.com

              ผู้บริหารที่ดีต้องมีความรู้ ความสามารถ และทักษะต่างๆ มากมาย ทักษะหนึ่งที่ผู้บริหารควรมีในตัวเอง ก็ คือ ทักษะในการรับฟัง หรือ ศิลปะการรับฟัง ครับ                      

                   ในวันนี้ เราจะมาพูดเรื่องนี้กันครับ “ความด้อยสมรรถภาพในการสื่อความของมนุษย์ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับมากระเดียด ขาดความเชี่ยวชาญในการฟัง และไม่สามารถฟังผู้อื่นด้วยความเข้าใจ" เป็นคำพูดของ คาร์ล โรเจอร์ (นักจิตวิทยา) ผู้บริหารที่มีปัญหาในเรื่องการรับฟังลูกน้อง มักจะมีคำพูดดังนี้ “ รู้แล้ว ๆๆ ” หรือ “ ผมไม่เห็นด้วยกับคุณ ” คำพูดเหล่านี้มักปิดโอกาสไม่ให้ผู้บริหารได้รับรู้ถึงปัญหา หรือ ข้อมูลใหม่ที่ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ต้องการสื่อ ความจริงแล้ว ข้อเสนอของลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา

              บางคนถึงแม้จะมีความรู้น้อยแต่อาจจะมีประสบการณ์มากในบางเรื่องที่ผู้บังคับบัญชาไม่รู้ก็ได้ ดังนั้น ผู้บริหารที่มีทักษะหรือศิลปะการรับฟัง มักจะได้ข้อมูลดีๆ และยังเป็นที่ชื่นชมของลูกน้องอีกด้วย

                  เนื่องจากผู้บริหารคนใด มีศิลปะการรับฟัง มักจะเป็นการให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา สำหรับข้อมูลความคิดของผู้ใต้บังคับบัญชาที่ดี มักเกิดขึ้นในที่ประชุม ผู้บริหารที่ดีจึงต้องเปิดโอกาส

                 พร้อมทั้งกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชา แสดงความคิดเห็น พยายามจับประเด็นว่าเป็นเรื่องอะไร เพื่อให้เกิดความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์มากที่สุดในการนำไปใช้ และพยายามทำความเข้าใจว่าลูกน้องหรือผู้พูดต้องการอะไร ไม่คาดคั้น ผู้พูด ผู้บริหารควรต้องมีมารยาทในการรับฟัง

                คือ ควรจะสบสายตา หรือพยักหน้ายิ้มให้แก่ผู้เสนอความคิดเห็นอีกทั้งไม่พูดขัดจังหวะหรือพูดแทรกขึ้นมาเมื่ออีกฝ่ายแสดงความคิดเห็น ผู้บริหารควรมีความอดทนในการที่จะรับฟัง เพราะผู้ใต้บังคับบัญชา จำนวนมากมักแสดงความคิดเห็นหรือขาดเทคนิคในการนำเสนอ บางคนพูดวกไปเวียนมา ผู้บริหารควรรับฟังอย่างกระตือรือร้น

              คือ ต้องมีสมาธิในการฟัง ไม่ใช่คิดเรื่องอื่นๆ ตลอดเวลาในการฟัง พอผู้ใต้บังคับบัญชาพูดจบ ก็ยังไม่รู้ว่าเขาพูดเรื่องอะไรเลย ไม่ฟังแบบเข้าหูซ้าย ทะลุหูขวา แต่ต้องฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ ไม่แสดงอาการเบื่อหน่าย ผู้บริหารบางคนที่ไม่มีศิลปะการรับฟัง มักจะรู้สึกว่า “ ทุกอย่างเกิดจากความคิดของตนเองไม่มีใครช่วยคิดเลย ”

            นั้นแสดงว่า ตนเองไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นช่วยคิดหรือมีโอกาสในการแสดงความคิดเลย ธรรมดามนุษย์เราส่วนใหญ่มักเป็นนักคิดอยู่แล้ว บางคนคิดมาก คิดฟุ้งซ่านไปเลยก็มี 

           ดังนั้น ทักษะการฟังเป็นทักษะที่สำคัญของผู้บริหาร หรือ ผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จไม่ว่าด้านใดพึ่งต้องเรียนรู้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทักษะทางด้านการพูด การอ่าน และการเขียน เพราะทักษะการฟังมักจะทำให้ผู้ฟัง ฝึกจับประเด็น ฝึกความจำ ฝึกเป็นนักคิดนักเขียนต่อไปอีกทั้งทำให้ผู้นั้นเกิดสติปัญญาความรู้เพิ่มมากขึ้นในลำดับต่อไป ทักษะการฟังยังเป็นพื้นฐานในการเข้าสังคม และช่วยลดความขัดแย้งในสังคม ลดการเข้าใจกันผิด อีกด้วย

คำสำคัญ (Tags): #รับฟัง
หมายเลขบันทึก: 435404เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2011 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สำคัญมากเลยครับ ทักษะนี้

เข้ามารับความรู้ครับ

ผู้บริหารมักจะชอบพูด ..แต่ไม่ชอบฟัง

ความจริง ผมว่า การฟังนั้น ยากกว่าการพูด ซะอีก ครับ

ครับ ขอบคุณครับ สำหรับความคิดเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท