ชีวิตที่พอเพียง : ๑๒๒๔. เรียนรู้จากหายนะในญี่ปุ่น



          เหตุการณ์ แผ่นดินไหว ๘.๙ ริกเตอร์ ตามมาด้วย สึนามิ เมื่อวันที่ ๑๑ มี.ค. ๕๔   และตามมาด้วยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิด ในญี่ปุ่น สอนอะไรๆ เรามากมาย   เราได้เห็นคุณภาพของคนญี่ปุ่นในความอดทน มีวินัย   เห็นระบบต่างๆ ในสังคม ที่ดี น่าเรียนรู้เป็นแบบอย่าง

          บทความเรื่อง The silver lining of Japan’s quake เขียนโดย Nathan Gardels ลงพิมพ์ใน นสพ. บางกอก โพสต์ วันที่ ๑๙ มี.ค. ๕๔ ให้ความรู้ความเข้าใจอีกด้านหนึ่ง   ว่าการทำลายล้างครั้งนี้ไม่ได้ทำลายความเข้มแข็งของญี่ปุ่น   ที่จะใช้โอกาสที่บ้านเมืองพินาศ สร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่ให้เป็นเมืองที่ทันสมัย  ในยุคศตวรรษที่ ๒๑

          ถ้าไม่มีภัยธรรมชาติมาช่วยทำลายระบบเก่า เมืองเก่า   โอกาสสร้างระบบใหม่จากเทคโนโลยีชุดใหม่ หรือเมืองใหม่ เพื่อการดำรงชีวิตที่ก้าวกระโดดไปจากแนวเก่า ก็จะทำได้ยากมาก หรือทำไม่ได้เลย 

          หายนะกลายเป็นพร ที่จำแลงมาในรูปของหายนะ (blessing in disguise)

          ไม่ได้หมายความว่าจะมองข้ามความทุกข์ยาก และความสูญเสียญาติพี่น้อง และทรัพย์สมบัติ ของผู้คน  นั่นคือความจริงในปัจจุบัน

          แต่ความจริงในอนาคตจะยิ่งใหญ่มาก   การสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นใหม่อาจกลายเป็นพลังเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นที่อยู่ในสภาพเศรษฐกิจซึมมานานยี่สิบปี ให้กระปรี้กระเปร่า   เกิดการเติบโตขึ้นอย่างในช่วงคริสตทศวรรษที่ 1970s – 1980s

          โอกาสที่ยิ่งใหญ่ คือการสร้างเมืองที่ก้าวหน้าที่สุด มีโครงสร้างพื้นฐานในการดำรงชีวิต และทำธุรกิจ ได้ดีที่สุด มีประสิทธิภาพของการใช้พลังงานสุงสุด   โดยอาศัยฐานความเข้มแข็งด้านวิศวกรรม และเทคโนโลยีอื่นๆ ของญี่ปุ่น ที่ดีที่สุดในโลก ที่ไม่ได้ถูกแผ่นดินไหวและสึนามิทำลายไปด้วย  

          ปัญญาและพลังใจ เป็นสิ่งที่อุบัติภัยทำลายไม่ได้

 

วิจารณ์ พานิช
๒๐ มี.ค. ๕๔
         
         

หมายเลขบันทึก: 434909เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2011 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท