กวาวเครือ


กวาวเครือ

กวาวเครือขาว เป็นพืชในวงศ์ Papilionaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pueraria mirifica ตามตำราไทยส่วนรากถูกนำมาใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงผิวพรรณและทรวงอกให้เต่งตึง โดยมีขนาดรับประทานเพียงวันละ1เม็ดพริกไทย อีกทั้งมีข้อห้ามใช้ในคนหนุ่มสาว

หัวกวาวเครือมีสารทางเคมีที่น่าสนใจหลายตัวที่จัดอยู่ในกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน(Phytoestrogen)ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์เช่นเดียวกับเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมลักษณะทางเพศ

ในยาแผนปัจจุบันมีการนำสารกลุ่มเอสโตรเจนมาใช้เป็นส่วนประกอบของยาคุมกำเนิดและฮอร์โมนทดแทนในสตรีวัยหมดประจำเดือน ซึ่งการใช้ในลักษณะดังกล่าวจะปลอดภัยที่สุดเมื่อได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์ก่อนใช้ และมีการเฝ้าระวังติดตามการใช้อย่างต่อเนื่อง เช่น ตรวจหามะเร็งเต้านม และ มะเร็งปากมดลูก ก่อนเริ่มใช้และขณะใช้

สำหรับความปลอดภัยของกวาวเครือในปัจจุบันยังตอบไม่ได้ แต่ได้มีการทดลองในหนูทดลองพบว่าสารเจนิสเตอิน(Genistein)ซึ่งเป็นไฟโตเอสโตรเจนตัวหนึ่งในกวาวเครือ มีฤทธิ์ทำให้เกิดความผิดปกติของโครโมโซม และเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมของมนุษย์ในหลอดทดลอง

จากผลการศึกษาฤทธิ์ของกวาวเครือในสัตว์ทดลองหลายชนิดที่ได้รับผงกวาวเครือโดยการป้อนหรือปนไปในอาหาร พบว่านอกจากจะมีฤทธิ์ทำให้ต่อมน้ำนมโตขึ้นแล้ว กวาวเครือยังยับยั้งการเจริญพันธุ์ในสัตว์ทดลองทั้ง2เพศ คือ เพศผู้จะมีขนาดอัณฑะและต่อมลูกหมากเล็กลง ลดการสร้างและการเคลื่อนไหวของเชื้ออสุจิ ความรู้สึกทางเพศหายไป ส่วนเพศเมียปากช่องคลอดจะขยายและบวม น้ำหนักมดลูกเพิ่มขึ้น มีความผิดปกติของรังไข่ ลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

ความเข้าใจผิดที่ว่า ถ้าเป็นสมุนไพรแล้วย่อมไม่เป็นพิษในทุกกรณีอาจเป็นสาเหตุของการเกิดผิดจากสมุนไพรที่มีฤทธิ์และพิษแรงได้ในอนาคต ถ้าเราไม่นำเอาสมุนไพรกลับเข้าสู่วงการสาธารณะสุขอย่างเป็นระบบ และด้วยหลักการททางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม

สำหรับยาแผนปัจจุบัน ก่อนที่จะมีการอนุญาตให้ใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่งในคน สารนั้นต้องได้รับการทดสอบทั้งฤทธิ์และความเป็นพิษในสัตว์ทดลองโดยนักวิจัยผู้ชำนาญการหลายขั้นตอนเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า3-5ปี สารที่มีความคุ้มเสี่ยง(ผลดีมากกว่าผลร้าย)เท่านั้นที่จะถูกนำมาทดสอบต่อในคนกลุ่มอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงทดสอบในผู้ป่วยที่สมัครใจเข้าร่วมเป็นผู้ทดลองใช้ยาอีก3-5ปี ไม่มีสารใดโดยปราศจากข้อมูลในสัตว์ทดลอง และทุกขั้นตอนของการทดลองในคนต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์

คำสำคัญ (Tags): #กวาวเครือ
หมายเลขบันทึก: 43480เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 20:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท