เกมส์ : พ่อแม่ ครู พระ ต้องรู้ ( Game Addict Fever)


การจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

  

      มาวันนี้พ่อแม่ ครู พระ ต้องรู้เรื่อง "เกมส์" ซึ่งเป็นปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาของเด็กไทยเป็นอย่างยิ่ง และคงหนีใม่พ้นปัญหาเด็กทั้งหลายหันหน้าเข้าสู่โลกไซเบอร์หรืออินเตอร์เน็ตกันมากกว่า การหันหน้าเข้าสู่การศึกษา การเข้าวัด หรือ ปฏิบัติธรรม ตามศาสนาที่ตนนับถือ  เห็นได้จากพฤติกรรมรุนแรงที่มากับเกมส์ไม่ว่าจะเป็นเกมส์ DotA GTA ล้วนเป็นปัญหาที่มากมายก่ายกอง สัดส่วนระหว่างเกมส์สร้างสรรค์กับเกมส์ทำลายล้าง มันช่างต่างกันสิ้นเชิง ปัจจุบันโปรแกรมเมอร์ได้สร้างเกมส์ที่มีสาระเช่น เกมส์เกี่ยวกับวันสำคัญทางศาสนา สาระวิชาที่กำลังเรียน หรือ สิ่งที่มีคุณค่าต่อการจดจำ  แต่มันไม่ได้ช่วยอะไรได้มาก เพราะค่านิยมของการเล่นของเด็ก ไม่ได้วัดกันที่สาระที่ได้  แต่จะใช้ความสนุก ความนิยม คะแนนที่ได้เป็นหลัก ซึ่งสิ่งเหล่านั้น ไม่ได้เข้าไป เปลี่ยนมาเป็นทักษะในการดำรงชีวิตของเด็กเลย  บางเกมส์กลับทำให้กลายเป็นจิตใจที่หยาบช้า เพราะว่าเกมส์บางเกมส์ไม่ได้สร้างให้เด็ก คิดดีทำดี มีแต่เกลียดชัง เข่นฆ่า ปล้น ชิงทรัพย์ และเรื่องเซกส์ ซึ่งผู้ที่ทำได้ดี ก็สามารถที่จะท้าผู้อื่นๆมาแข่งขันกัน มุ่งแต่ทำลายล้างหรือเอาชนะโดยกลโกงรูปแบบต่างๆ

           ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่สามารถที่จะโทษร้านเน็ตที่เปิดเต็มไปทั้งเมือง หรือ สังคม แม้กระทั่งเพื่อนของเด็กได้เองหรอก เพราะว่าเด็กบางคนสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ เล่นเกมส์ออนไลน์ได้ โดยไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆต่อการเล่าเรียน แต่สำหรับเด็กบางคนแล้ว ไม่สามารถควบคุมจิตใจตัวเองให้กระทำในสิ่งที่ดีได้ จนการเรียนเสีย และนำปัญหามาให้สู่สังคมมากมายจากการเล่นเกมส์ ดังนั้น ครอบครัว เป็นสถาบันที่สำคัญที่สุด เป็นสถาบันแรกที่ให้การอบรมสั่งสอน ที่ให้การอุปการะเลี้ยงดู จะมีวิธีการจัดการกับปัญหาเด็กคิดเกมส์ที่ร้ายแรงไม่ดีได้อย่างไร พระหรือนักการศาสนาจะต้องรู้ในการซักจูงให้เด็กคล้อยตามหรือเลิกกิจกรรมที่ไม่จำเป็นเหล่านั้นเสียโดยเร็ว

          ทราบปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มาก เพราะว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรา ทั้งการสื่อสาร การคมนาคม การเรียน การติดต่อสัมพันธ์ การทำงาน การใช้งานเครือข่าย ต่างๆ ลองคิดดูถ้าวันนี้บ้านไม่มีเน็ตให้เล่น หรือไม่มีโทรศัพท์ให้โทรปรึกษางาน ไม่มีอินเตอร์เน็ตให้หาข้อมูลทำรายงาน ไม่มีให้ทำโครงงาน ไม่มีโปรแกรมเอ็มเอสเอ็น ให้คุยกับเพื่อนเวลาเหงา ชีวิตนี้มันช่างน่าเบื่อเสียยิ่งกระไร อย่างแน่นอน ดังนั้นชีวิตเราสามารถบอกได้เลยว่าผูกขาดกับเทคโนโลยีอย่างแยกไม่ออกเลยแม้แต่น้อย ทางออกที่ดีที่สุดคือ การใช้ประโยชน์จากมัน ให้คุ้มค่า และใช้อย่างมีวิจารณญาณ 

            ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาของเด็กได้แนะนำวิธีการดีๆมาเสนอกับพ่อ แม่ ครู และพระ เพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ไข ที่บ้าน ที่โรงเรียนและที่วัด เมื่อพระจะทำการเทศนา โดยมีหลักปฏิบัติ 7 วิธีที่ทำให้เด็กสามารถหลุดออกจากวัฏจักรการคุกคามของเกมส์ออนไลน์ที่ไม่สร้างสรรค์

          1.ให้พ่อและแม่ฟังลูกอย่างใจเป็นกลาง

         ไม่คิดว่าตัวเองถูก เพราะระยะห่างระหว่างวัย ทำให้ความคิดไม่เหมือนกัน อย่างตอนเด็ก เราเคยคิดในใจ เพราะได้แค่คิดเท่านั้นว่า ทำไมผู้ใหญ่ไม่เข้ากับเด็ก ทำไมพ่อแม่ไม่เข้าใจกันบ้าง  การที่พ่อแม่รู้จักฟังลูกซะบ้าง ไม่ใช่เป็นการเถียง แต่ว่าผู้ใหญ่ฟังเด็กบ้างว่าคิดยังไง ไม่ใช่ตัวเองโตกว่าแล้วคิดว่าฉลาดกว่า มันจะทำให้เด็กเกิดคำถาม และกุญแจสำคุญที่ไม่ควรพูดคือ การถูกค่อนขอด สั่งสอน ซักไซร้ ไล่เลียง และด่าในทางลบ ไม่สมควรอย่างยิ่ง                    

         2. หนามยอกเอาหนามบ่งครับ

          ลองเข้าไปในอาณาจักรของเขาดู ว่าเกมส์ที่ลูกเล่นมันสร้างสรรค์ไหม ตัดสินยังไง สนุกมากไหม รุนแรงหรือเปล่า ให้ลูกๆสอนคุณเล่น แต่ไม่ใช่ว่าหลังสอนเสร็จคุณติดเกมส์แทนลูก อันนี้คงไม่ใช่  สิ่งที่จะได้จากการกระทำแบบนี้คือ เด็กจะคิดว่า พ่อหรือแม่ก็สนใจเขาเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเอาแต่ด่า ถ้าเกมส์ไม่สร้างสรรค์ก็อาจจะเปลี่ยนกิจกรรมหรือเกมส์ที่สร้างสรรค์ก็ได้ อย่าลบด้วยเท้าหรือหักแรงเด็ดขาด เด็กจะต่อต้านอย่างถึงที่สุด

         3. ยุทธวิธีเอาน้าแข็งแห้งเข้าลูบ
         ทำไมถึงต้องใช้วิธีนี้ มันคือการชะโลมจิตใจว่าทำอะไรให้ใจเย็นไว้ก่อนเช่นในกรณีที่ลูกกลับช้า หรือ กลับบ้านไม่ตรงเวลา ห้ามเด็ดขาดเลยนะ ห้ามพูดว่า ไปไหนมา หรือ กลับช้าไป……นาที เด็ดขาด หรือบ่นจนเด็กหูชา ขอย้ำว่าห้าม ไม่สมควร ทางที่ดีหาน้ำมาให้ นมอุ่นๆ บอกว่าเรียนเป็นไงมั่ง แล้วพอลูกใจเย็นก็แกล้งๆถามล้วงความลับว่าเป็นเพราะอะไร มีอะไรให้พ่อหรือแม่ช่วยไหม เด็กก็อยากจะกลับบ้านเร็วมาหาพ่อแม่มากขึ้นกว่าเดิม สร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้ครอบครัว แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

        4. เรียกแผนยุทธการปราบมาร หลุมดักขุดบ่อล่อปลา
        มันคือการหากิจกรรมสร้างสรรค์ภายในครอบครัว มาให้ลูกได้ทำแทนการใช้เวลากว่า 3 ใน 4 ของวันหมกมุ่นอยู่กับเกมส์ออนไลน์ เช่นพาลูกไปเดินเล่นสวนสาธารณะ พาไปดูนก ปล่อยปลา ไปทำบุญ เข้าวัด มันจะทำให้เด็กเริ่มออกห่างจากเกมส์ออนไลน์มากขึ้น เรื่อยๆ ตามลำดับ

        5. เติมรัก
         ยิ่งเพิ่มเติมรักให้มากเท่าไหร่ จะได้รักตามมามากเท่านั้น  ยุทธการนี้มันคือการให้ความสำคัญซึ่งกันและกัน มันยิ่งช่วยกระชากลูกของท่านหลุดออกจากโลกออนไลน์ได้เร็วยิ่งขึ้น มันคือทำให้เรารู้สึกว่ากันและกันคือ ส่วนหนึ่งในชีวิตของกันและกัน คุยเรื่องการทำงานให้ลูกได้ฟังว่า พ่อแม่ทำทุกอย่าง ทำงานหาเงิน ส่งให้ลูกได้เรียน พ่อและแม่ทำเพื่อลูกนะคนดี ถ้าลูกต้องการหาพ่อหรือแม่ ลูกก็แต่ส่งสัญญาณรักมาหาแม่แม่จะโทรกลับไป ลูกก็บอกว่าถ้าแม่อยากคุยกับผมแม่ก็เป็นแม่ที่ไม่น่าเบื่อ เป็นแม่ที่เข้าใจลูกตลอดไป มันจะทำให้แม่และลูกเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น

        6.การแสดงออกถึงความรัก
         เป็นการแสดงว่าเป็นห่วงลูกแค่ไหน อาจจะลูบหัวลูก และกอดลูก ไม่ต้องทำแบบไม่จริงใจหรือทำต่อหน้าชาวบ้านเท่านั้น ให้ทำอย่างต่อเนื่อง   ทุกอย่างต้องเป็นไปตามธรรมชาติ อันแสดงถึงความรักความผูกพัน ที่มีต่อกัน

       7. กฎประจำบ้าน
      บ้านทุกหลังต้องสอนให้เด็กมีระเบียบวินัย มีกฎของบ้าน มันคือการวางกฎระเบียบภายในบ้านให้เด็กปฏิบัติตาม และสิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือ ไม่ละเมิดเอง ไม่ทำผิดซะเอง ไม่งั้นลูกก็บอกว่า ขนาดแม่หรือพ่อยังทำเองเลย แล้วทำไมต้องทำ มันทำให้กฎระเบียบภายในบ้าน ขาดความศักดิ์สิทธิ์  และไม่ปฏิบัติตาม

       วิธีข้างต้น 7 ข้อนี้ ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อสกัดดาวรุ่งการทำเลเวลเพิ่มของเด็ก หรือ ขัดขวางความสุขของลูกๆ เพียงแต่เด็กๆน่าจะใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มากกว่าการใช้เวลาหมกมุ่นอยู่กับเกมส์ออนไลน์ที่ไม่สร้างสรรค์

       ทำไมพ่อแม่ ครู และพระ จึงจำเป็นต้องรู้เรื่องนี้ เพราะเราเป็นผู้สอนสั่งโดยอาชีพ และหนีไม่พ้นที่จะพานพบในสิ่งเหล่านี้ "เกมส์ ยาเสพติด ภัยร้ายของเยาวชน ยุคปัจจุบัน"

     ที่มา: คัดมาจากบางตอนของ คู่มือพ่อแม่ผู้ปกครอง บางส่วน

หมายเลขบันทึก: 434506เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2011 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับ
  • เราเป็นครู ก็ต้องช่วยกันเต็มที่ ในการป้องกันเต็กติดเกม
  • ขอบคุณครับบทความดีๆ เตือนสติ เตือนใจ ครู ผู้ปกครอง

ขอคุณมากนะคะสำหรับวิธีการดีๆ

ดิฉันในฐานะครูที่จะช่วยสอนเด็กให้เป็น

อนาคตของชาติ จะพยายามอย่างที่สุดเพื่อช่วยให้นักเรียนลดละเลิกเกมออนไลน์ให้ได้

ครู บ้าน วัด โรงเรียนและชุมชน ต้องช่วยกันนะคะ สู้ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท