ทุกท่านคงทราบดีว่าพระสมเด็จวัดต่างๆ
เป็นพระเครื่องที่มีความนิยมสูงสุด
ที่ไม่น่าจะมาจากความบังเอิญ แต่น่าจะมีสาเหตุ และเหตุผลที่มาของความเป็น “พระยอดนิยม”
แม้ตัวผมเองก็ยังได้พบประสบการณ์โดยตรงกับตนเองและครอบครัว ที่ทำให้ชีวิตของผมดีขึ้นทุกมิติ ตั้งแต่บูชาพระสมเด็จเป็นต้นมา
ผมจึงได้พยายามติดตามศึกษาที่มา และเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับพระสมเด็จมาเรื่อยๆ
จนแทบกล่าวได้ว่า การอธิษฐานใดๆในทางที่ดีนั้น ผมได้มาแทบทุกประการ
ในระยะต่อๆมา
ผมจึงได้นำพระสมเด็จที่ได้รับมา ไปแจกญาติพี่น้องลูกหลานที่นับถือพระสมเด็จเป็นเครื่องบูชาพุทธคุณ จนพี่ชายผมกล่าวในงานสังสรรในเครือญาติว่า "เราเป็นตระกูลสมเด็จ" เพราะ มีใช้กันทุกคน
พระสมเด็จองค์นี้เป็นองค์ที่ถูกโฉลกกับชีวิตผม
ผมจึงใช้ขึ้นคอบูชามาตลอด
เพื่อให้เกิดความเข้าใจผมจึงได้ติดตามศึกษาวิธีการสร้าง มวลสาร พัฒนาการของเนื้อพระ และที่มาของพุทธคุณ ที่ได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อ
ที่แม้แต่ท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์โตเอง และพระอาจารย์ของท่าน ที่เป็นผู้สร้างเองท่านก็อาจคาดคิดไม่ถึงมาก่อน เพราะต้องใช้เวลาพัฒนาการเกือบเป็นร้อยปีขึ้นไป
ที่ผมศึกษามาตลอดเวลาหลายปี ทำให้ผมได้ทราบว่า
- ท่านได้ศึกษาวิธีการสร้างพระเครื่องเนื้อผงที่บางองค์
(หรือส่วนใหญ่??)มีความคงทนมาก
- ที่พบในเนื้อพระสมเด็จวัดพลับ
- ที่เป็นต้นแบบของการใช้ปูนเปลือกหอย
- ที่มีลักษณะการพัฒนาการ ตามแบบการเจริญของไข่มุก
- ที่เคลือบผิวด้วยแคลเซี่ยมคาร์บอเนต หรือเปลือกหอยมุกนั่นเอง
- ดังนั้นผิวพระสมเด็จจึงมีลักษณะคล้ายเปลือกหอย หรือไข่มุก
- บางองค์ที่แก่เปลือกหอยจะมีผิวออกสีไข่มุกไปเลย
ลักษณะที่ทำให้พระสมเด็จมีความงามและคงทนคือ
- การเกิดการเคลือบของผิว “ฟองเต้าหู้” แบบบางๆ ทั้งองค์ แบบเดียวกับที่เกิดในไข่มุก และ ผิว แป้งนวล "โดยธรรมชาติ"
- ที่ค่อยๆเกิดจากการละลายตัวของแคลเซี่ยมออกไซด์ของเนื้อปูนในองค์พระ ออกมาทำปฏิกิริยากับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ
- จนตกผลึกเป็นชั้นหินอ่อน
หรือเปลือกหอย คลุมเนื้อพระโดยธรรมชาติ ของพระที่มีอายุกว่า ๑๐๐
ปีขึ้นไป (ที่ปิดบังความกระด้างของผิวปูนเดิม)
- การยิ่งแก่ปูนมากของพระสมเด็จบางองค์ ทำให้เกิดชั้นหินอ่อนเคลือบหนามาก ฉ่ำแบบหลากอายุทั้งองค์
- ถ้าเนื้อแก่ปูนน้อย ก็จะมีชั้นเคลือบบาง หรือบางส่วน ออกลักษณะ ผิวบางส่วนแห้ง บางส่วนฉ่ำ
- เมื่อมีการระเหยของความชื้น (โดยเฉพาะพระที่ใช้งานบ่อยๆ) ที่มีเกลือแคลเซี่ยมที่ละลายในองค์พระผ่านชั้นเคลือบของหินอ่อนขึ้นมาที่ผิว ตามรู หรือรอยแยกของผิว ก็จะทำให้เกิด "รูน้ำตา ธารน้ำตา และฟองเต้าหู้" ตามผิวทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
- พระที่ใช้งานบ่อยๆ ก็จะมีการตกตะกอนของเกลือแคลเซี่ยมออกไซด์ (ผสมกับแคลเซี่ยมคาร์บอเนต)เป็นผลึกเกล็ดปูนแห้งๆ คล้ายแป้ง แต่เป็นผลึกเล็กๆ แวววาวติดอยู่ที่ผิวตามซอก และขุมต่างๆ
- ที่ทำให้พระสมเด็จของท่าน มีความหนึกนุ่ม นวลตา
- ที่พระอื่นไม่มี
- และพระโรงงานยังทำไม่ได้ อย่างมากก็แค่ใช้สารเคมีโปะหลอกๆ ไม่มีความงามหรือนุ่มตาแบบเป็นธรรมชาติ
- และ รูที่น้ำปูนไหลออกมา ยังอาจเกิดเป็นรู เป็นโพรง หรือแอ่ง “บ่อน้ำตา” รอบๆองค์พระ ที่เกิดได้แตกต่างกันตามความเข้มข้นของเนื้อปูนและมวลสารประกอบในองค์พระสมเด็จแต่ละองค์
ความมหัศจรรย์ของชุดความรู้นี้เหนือกว่าการสร้างเครื่องเคลือบหรือพระเคลือบโดยทั่วไป (เช่น เครื่องสังคโลก)
ตรงที่
เป็น การเคลือบจากภายใน โดยน้ำปูนที่อยู่ภายในองค์พระเอง และค่อยๆไหลออกมาเคลือบผิวพระตามอายุ
ฉะนั้น พระที่อายุกว่า ๑๐๐ ปี และมีเนื้อปูนเผาแล้วอย่างถูกต้อง ได้สัดส่วนเท่านั้นจึงจะมีการพัฒนาการดังที่ว่าได้ ที่แม้ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถลัดขั้นตอนได้ ยังต้องอาศัยเวลาเป็น ๑๐๐ กว่าปี ที่จะทำให้ได้พระในลักษณะดังกล่าว
ที่ทำให้การแยกพระสมเด็จออกจากพระโรงงานทำได้ไม่ยากนัก
เพียงเข้าใจ
- ส่วนประกอบ และมวลสารที่ใช้ในการสร้าง
- หลักการพัฒนาการของมวลสารเนื้อปูนเปลือกหอย
- ลักษณะของผิวหินอ่อนเคลือบ หรือทำให้ผิวฉ่ำ เหลื่อมแบบไข่มุก และ
- การตกตะกอนของเกลือแคลเซี่ยมเป็นเกล็ดแป้งที่ผิว แบบธรรมชาติ ดังกล่าวข้างต้น
แต่ในบางครั้ง
- การพัฒนาการเคลือบของมวลสารออกมาพอกผิวแบบ
“เคลือบหนาเป็นจุดๆ”
ของฟองเต้าหู้บนผิวองค์พระสมเด็จบางองค์
- ได้ทำให้พิมพ์พระและศิลปะผิดเพี้ยนไปจากเดิมได้มากพอสมควร
- ที่อาจทำให้การดูพิมพ์ผิดพลาดได้
จึงไม่ควรเริ่มต้นที่การดูพิมพ์ หรือตำหนิ ที่จะหลงทางได้ง่าย
ที่ผมคิดว่า ในเชิงศิลปะและการสร้าง เริ่มต้นนั้น
- น่าจะมีบล็อกพิมพ์ที่สร้างอย่างสวยงาม คมชัดตามแบบช่างหลวง
- แต่ศิลปะที่งดงาม
ก็อาจจะมีการเพี้ยนจากการกด และการติดของมวลสารที่แม่พิมพ์
และ
- การ “เคลือบ” ของมวลสารของน้ำปูนที่ไหลออกมา
- ทั้งแบบฟองก้อนๆงอกขึ้นที่ผิวองค์พระ ฐาน และซุ้มและ
- การเคลือบแบบหินอ่อน หรือหินปูน หรือผิวมุก
- หรือ แม้กระทั่ง การเกิดบ่อน้ำตา ในระยะต่อๆมา
ที่อาจทำให้พิมพ์อาจดูผิดเพี้ยน ที่ไม่น่าจะถือเป็นสาระสำคัญในการดูพระสมเด็จได้
แต่ควรใช้ดูประกอบหลังจากการพิจารณา "เนื้อ" พระ ชัดเจนแล้ว
ที่จะต้องผ่านการ “อ่าน” ส่วนประกอบของเนื้อและ รายละเอียดของ “พิมพ์” ให้ขาดเสียก่อน
ที่ผมเข้าใจว่า
- ระดับ “เซียนแท้” ที่มีความรู้ มีความยุติธรรม และจิตใจสะอาด ในวงการพระทุกท่าน จะบอกทันที ได้ว่าแท้ ไม่แท้ สวยไม่สวย
- โดยไม่ต้องรอใบรับประกัน หรือใบรางวัลจากการประกวดใดๆ
- ไม่ต้องดัดจริตใช้คำกำกวม พูดว่า "ชอบ ไม่ชอบ" แบบที่เซียนวิชามารนิยมใช้เพื่อการหากินกับความรู้ไม่พอใช้ของคนอื่น
ด้วยเหตุที่กลุ่มพวก “เซียนวิชามาร” ที่โลภมาก ลวงโลก หากินด้วยการหลอกลวงคนอื่น กลับจะใช้ความคลุมเคลือนี้
- หลอกตีเก๊-ชื้อถูก หรือ
- ขายของเก๊เฉียบ หรือแม้กระทั่งเก๊ตาเปล่า พร้อมใบรับประกันในราคาของแท้ หรือ
- แอบอ้างใช้การยอมรับของคนบางกลุ่ม หรือสังคมเล็กๆของเขาตั้งสำนักทำใบรับประกันพระเก๊เป็นพระแท้ หลอกขายคนไม่รู้เรื่อง หรือ
- จัดประกวดแบบให้พระของตัวเองและพรรคพวก ที่ไม่จำเป็นต้องแท้ แต่มีใบรางวัลที่ ๑ ๒ ๓ หรือชมเชย นำมาโก่งราคาขายหลอกคนที่ดูพระไม่เป็น หรือเศรษฐีมีเงินเหลือ แต่มีความรู้ไม่พอใช้
ในเชิงมวลสารที่ควรพิจารณานั้น
- นอกจากมวลสารพื้นฐานเนื้อปูนเผาและน้ำมันตังอิ๊ว
ที่ทำให้เกิดการ “เคลือบ” ที่น่าทึ่งแล้ว
- ยังมีผงพุทธคุณ
และ
- มวลสารต่างๆประกอบตามที่ท่านปลุกเสกและคิดค้นขึ้นมา
- ที่สามารถอ่านได้จากตำราทั่วไป ที่เด่นๆ ก็จะพบ แร่เม็ดมะขาม ก้านธูป เกสรดอกไม้ อาหารก้นบาตร ฯลฯ ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวัด
ในด้านส่วนผสมและการผสมนั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก
- ที่ทำให้เกิด “เนื้อพระ” แตกต่างกันอย่างมากมาย
- ที่สามารถแบ่งระดับความงามได้หลายระดับ
หลากหลายประเภท
- ตั้งแต่ หนึกนุ่ม นวลตา ไปจนถึงฉ่ำ หรือผิวแห้ง หรือแม้กระทั่งกร่อนเปราะง่าย
- ที่คาดว่า น่าจะเกิดจากสัดส่วนของมวลสารเนื้อปูน ผง พื้นฐานและความละเอียดลออของการคลุกเคล้ามวลสารต่างๆ ให้เข้ากันได้ดีหรือ แตกต่างกัน
ดังนั้น
ถ้ามวลสารต่างๆเข้ากันดี
เนื้อก็จะเสมอกันทั้งองค์
แต่บางองค์ก็มีความแตกต่างในแต่ละมุมขององค์พระ
ในขณะเดียวกันก็ยังมี
การกดพิมพ์แบบต่างๆ ที่ทำให้มีรูปร่างและการติดไม่เหมือนกัน ติดมากน้อย หรือบางจุดหายไปเลยก็มี จึงอาจไม่สามารถกำหนดตำหนิที่แน่นอนได้เสมอไป
หลังจากนั้นก็จะเห็นการพัฒนาของเนื้อพระตามอายุ
ที่เมื่อเปรียบเทียบกับพระที่อายุน้อยกว่า ๑๐๐ ปี พบว่า
- เพิ่งเริ่มเกิดฟองเต้าหู้และบ่อน้ำตา ที่ยังไม่คลุมผิวพระ
- ที่สามารถใช้พิจารณาแยกพระอายุไม่ถึง ที่ “เซียนพระแท้” ใช้คำว่า “เนื้อไม่ถึง” หรือ พระโรงงาน ที่ “เนื้อผิด” ได้อย่างง่ายดาย
จากองค์ประกอบของเนื้อปูนในพระแต่ละองค์ดังกล่าว จึงทำให้เกิด “สารเคลือบ” ที่ทำให้เกิดความคงทนและความสวยงามหลายแบบ หลายระดับ ดังได้กล่าวไว้ในบทความก่อนหน้านี้
ที่ทำให้เกิดความนิยมและราคาแตกต่างกัน ตามความชอบและความเชื่อของวงการ และของนักสะสมแต่ละคน
การศึกษาครั้งนี้ทำให้สามารถสรุปบทเรียน และก้าวข้ามคำกำกวมของ “เซียนวิชามาร” ไปได้อีกระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นคำว่า “ผิดพิมพ์” “เนื้อไม่ถึง”
หรือแม้กระทั่งบางคนที่ รู้ แต่ ก็ยังบอกชัดๆไม่ได้ หรือไม่กล้าพูด เพราะเกรงกลัวอิทธิพลลึกลับ จึงพูดได้แค่ว่า “ชอบ ไม่ชอบ” เท่านั้น
ที่ทำให้ด้อยความโปร่งใสในการแยกพระสมเด็จออกจากพระโรงงาน และการกำหนดราคาอย่างเป็นธรรม รวมถึงการรับประกันพระแท้ที่โปร่งใส จริงใจ และเป็นจริง
ที่อาจจะไม่จำเป็นก็ได้ ถ้าทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน
ผมคิดอย่างนี้ เรียนมาอย่างนี้ เข้าใจอย่างนี้ จึงเขียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
และช่วยกันพัฒนาสังคมผู้นิยมพระเครื่องให้โปร่งใส ซื่อสัตย์ และยุติธรรมกับทุกฝ่ายครับ
นี่คือปณิธานของผมในเรื่องนี้ครับ
สวัสดีครับ