Grounded Theory ทฤษฏีจากฐานราก


"สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น" เห็นแล้วยังไม่พอต้องมาถามกับตัวเองอีกว่าทำไมมันต้องเป็นอย่างนั้น มีสาเหตุอะไรที่ทำให้มันต้องเกิดขึ้นเช่นนี้

    เป็นแนวทางการวิจัย  หรือวิทยาการวิจัย ( Research  Methodology ) ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างข้อสรุปเชิงทฤษฏีขึ้นจากปรากฏการณ์ทางสังคมตามความหมายของชุมชนอันเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ ที่นำมาสู่การวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อให้ทราบลักษณะของปรากฏการณ์ทางสังคม

     ในการทำวิจัยเราต้องการแสวงหาความรู้อาจจะทำได้ 2 ทางคือ

         1.Developing therory through induction  

               พยายามสร้างทฤษฏี ความเข้าใจของเรา (จากข้อมูลที่เห็น) การสร้างความรู้จากที่เราเห็น จากข้อมูลที่เราสัมผัสได้ หรือจากการที่เราได้ลงไปหาข้อมูลจากชุมชน

         2. Developing therory through  deduction

               สร้างความรู้จากการพิสูจน์ทฤษฏีจากคนอื่นหรือจากที่มีอยู่แล้ว

               ก็เหมือนกับลำดับแรกที่เราพยายามสร้างความรู้ที่เราเห็น ยกตัวอย่างเช่น ตาบอดคลำช้าง ซึ่งต่างคนก็บอกคนละแบบ คนละมุมตามที่ตนเองได้จับได้คลำ ซึ้งถ้าคนปกติที่ตาไม่บอดก็มองต่างมุมว่ามันควรจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้  แต่เพื่อที่จะให้รู้ความจริงได้นั้นเราต้องมาพิสูจน์เองลงมือหาข้อมูลที่จะมาสนับสนุนหรือหาข้อโต้แย้งจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว ว่ามันควรจะเป็นอย่างไร ความจริงที่มันเป็นอยู่คืออะไร จึงเข้ากับสุภาษิตที่ว่า "สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น" เห็นแล้วยังไม่พอต้องมาถามกับตัวเองอีกว่าทำไมมันต้องเป็นอย่างนั้น มีสาเหตุอะไรที่ทำให้มันต้องเกิดขึ้นเช่นนี้ 

หมายเลขบันทึก: 43416เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2006 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เยี่ยมครับ กับการย่อยความรู้ให้เข้าใจง่ายๆแบบนี้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท