อโหสิกรรม


แต่กรรมที่ทำไว้นั้นถ้าเป็นกรรมเบาอาจจะไม่ส่งผลก็ได้ หากทำให้กรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม

อโหสิกรรม มาจากคำ ๒ คำ คือ

        อโหสิ เป็นคำภาษาบาลีแปลว่า ได้มีแล้ว หมายความว่า ได้ให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว กับ

        คำว่า กรรม ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า การกระทำ หมายถึงการกระทำที่มีเจตนา อโหสิกรรม แปลรวมกันว่า กรรมที่ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมอีกต่อไป 

        ตามหลักพระพุทธศาสนา บุคคลที่ทำกรรมดีหรือกรรมชั่วโดยมีเจตนาในการทำกรรมนั้นจะต้องได้รับผลกรรมตามสมควรแก่การกระทำของตน คนที่ทำร้ายผู้อื่นคนที่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวงก็จะได้รับผลกรรมนั้น เช่น ตนเองได้รับโทษถูกจำคุก หรือลูกหลานประสบเคราะห์ร้ายต่างๆ ทำให้ตนต้องเสียใจทุกข์ทรมานเพราะการสูญเสีย หรือแม้ไม่ได้รับกรรมในชาตินี้ กรรมก็จะติดตามไปส่งผลในชาติหน้า
 

        แต่กรรมที่ทำไว้นั้นถ้าเป็นกรรมเบาอาจจะไม่ส่งผลก็ได้ หากทำให้กรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม วิธีทำกรรมให้เป็นอโหสิกรรมวิธีหนึ่งคือการยกโทษให้ เช่น เมื่อเราประพฤติล่วงเกินผู้อื่นด้วยกาย วาจา หรือใจ แล้วไปขอให้ผู้ที่เราประพฤติล่วงเกินยกโทษให้ เมื่อท่านยกโทษให้แล้วก็ถือว่ากรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม ไม่ให้ผลอีกต่อไปทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
 

        ในภาษาไทยคำว่า อโหสิกรรม จึงกลายมามีความหมายว่า การเลิกแล้วต่อกัน การไม่เอาโทษกัน การเลิกจองเวรกัน ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ เมื่อได้ประพฤติล่วงเกินผู้อื่นก็ควรขอให้ผู้นั้นยกโทษให้ และในทำนองเดียวกันหากมีผู้มาขออโหสิกรรมจากเรา ก็ควรยกโทษให้ ไม่อาฆาต พยาบาท จองเวรกัน เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ก็จะก่อให้เกิดความรักใคร่กัน และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

คำสำคัญ (Tags): #ยกโทษ
หมายเลขบันทึก: 433903เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2011 05:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กราบนมัสการ..สาธุครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท