อยุธยา "มหานครแห่งการเรียนรู้"


อยุธยา มีอะไรให้ค้นหา

อยุธยา มหานครแห่งการเรียนรู้

 

                 ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  ปรากฏการณ์พฤติกรรมของมนุษย์  ปรากฎการณ์ทางสังคม  ย่อมทิ้งร่องรอยข้อชวนคิด ข้อสงสัยให้ได้หาคำตอบ  ยิ่งกาลเวลาผ่านไปนานเข้าความชวนสงสัยยิ่งมีมากขึ้น  ยิ่งเราไม่มีโอกาสร่วมสมัย  ยิ่งมีอะไรที่เราต้องการคำตอบมีมากมาย

                “อยุธยา”  เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อเมืองหลวงในอดีตของไทย และอีนัยหนึ่งเป็นการเรียกชื่อของจังหวัดหนึ่งอย่างสั้น ๆ คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยุธยา ที่จะเขียนต่อไปนี้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเมืองหลวงเก่า และเกี่ยวข้องกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นที่ตั้งของ เมืองหลวงเก่า  กรุงศรีอยุธยา

                        สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)  ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา  และพระเจ้าเอกทัศน์ หรือพระที่นั่งสุริยาสอมรินทร์หรือขุนหลวงขี้เรื้อน ปัจฉิมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา  เดี๋ยวนี้ถ้าถามเด็กว่ากษัตริย์องค์แรกและองค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา  ทรงพระนามอะไร เด็กตอบไม่ได้  เป็นสิ่งที่น่าคิด

                ภาพจำลองพระราชวังหลวงอยุธยา

 พระบรมราชานุสาวรีย์

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1

                   รวมเวลาแห่งราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา จากปี พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2310 เป็นเวลา 417 ปี  มีพระมหากษัตริย์  5  ราชวงศ์  34 พระองค์  เพิ่มมาอีก 1 พระองค์ได้อย่างไร  ที่เพิ่มก็คือ  ขุนวรวงษาธิราช อย่างไรก็ต้องนับพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ด้วย  เวลา 417 ปี  นับว่าเป็นเวลาที่ยาวนาน  มีเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย มีทั้งยุคที่วุ่นวานทั้งศึกภายใน  ศึกภายนอก  ยุคที่เจริญรุ่งเรือง  ไม่ว่าจะเป็นยุคไหน สมัยไหน  เหตุการณ์ที่ผ่านมาย่อมมีสิ่งอะไรที่แอบซ่อนให้เราได้ศึกษาเป็นอย่างมาก  ทุกตารางนิ้วของอยุธยา  ไม่ว่าจะไปทางไหน มองลงไปมีสิ่งที่จะให้เราได้ศึกษาได้ทั้งนั้น 

  

วัดพุทไธสวรรค์  สร้างบริเวณที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1    ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์วัดพุทไธสวรรค์ ตั้งบ้านเมือง ก่อนที่จะข้ามไปสถาปนากรุงศรีอยุธยา

 ศึกษาอะไรจากอยุธยา

                    อยุธยามีอะไรให้ศึกษามากมาย

             -  แม่น้ำ  คลอง  อยุธยาได้ชื่อว่าเป็นเวนิช  ตะวันออก   ตัวเมืองอยุธยาเป็นเกาะมีแม่น้ำล้อมรอบ  ภายในเมืองมีคลองหลายคลอง ตัดตามแนวเหนือ ใต้  ซึ่งปัจจุบันคลองโดนถมไปหมดแล้ว  คลองต่าง ๆ นั้น อยู่ตรงไหนบ้าง

 

               แผนที่กรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

       วาดโดย อแลง มาเลต์ จะเห็นว่ามีคลองหลายคลอง

             - ชนชาติต่าง ๆ ในอยุธยา  ลาลูแบร์ ทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์  บอกว่ามีชนชาติต่าง ๆอยู่ในอยุธยาถึง 40 ชนชาติ  เราลองศึกษาดูซิว่ามีชนชาติใดบ้าง  แล้วเขาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ไหน

             - ย่านตลาดการค้า  อยุธยามีทั้งตลาดบกและตลาดน้ำ  ในอยุธยาจะเรียกตลาดว่า ป่าหรือย่าน  จะตั้งชื่อตลาดตามชื่อขายสินค้า เช่า ป่าตะกั่ว จะขายลูกแหที่ทำด้วยตะกั่ว  และเครื่องตะกั่ว  ป่ามะพร้าว ก็ขายมะพร้าว  ป่าตอง ก็ขาย กล้วย ใบตอง   ป่าผ้าเหลือง ก็ขายผ้าไตร จีวร ตลาดแต่ละแห่งตั้งอยู่ที่ไหนบ้างในปัจจุบัน

             - โบราณสถาน โบราณวัตถุ  บางแห่งก็ไม่สามารถที่จะยืนยันได้ว่าสร้างในสมัยใด  ต้องดูสิ่งก่อสร้าง สิ่งแวดล้อมอื่น 

            -  วัฒนธรรม ประเพณี  ศิลปะแขนงต่าง ๆ

            -  การเมืองการปกครอง

จากสิ่งที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ จะเห็นว่าการศึกษาอยุธยา มี 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. การไปศึกษาสถานที่จริง  ว่าอะไรอยู่ตรงไหน  เป็นอย่างไร
  2. การศึกษาจากตำรา  หลักฐานชั้นต้นต่าง ๆ ด้วยการสืบค้น เพื่อหาหลักฐานมาหักล้างกับสิ่งที่มาผู้เขียนไว้  เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง ที่ถูกต้อง  เพราะบางอย่างนั้นอาจจะไม่ใช่เสมอไปตามที่มีผู้เขียน  ผู้บอกกไว้
  3. การมองอดีตเพื่อนำมาเป็นบทเรียนปัจจุบัน

             อยุธยา มีอะไรให้ศึกษามากมาย และควรจะได้ศึกษา  ลองเปรียบเทียบอยุธยากับกรุงเทพฯ  จะมีอะไรที่เหมือน ๆ กัน ในด้านแนวการสร้างเมือง  สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ การตั้งชื่อสถานที่   และที่สำคัญ “อดีตย่อมเป็นกระจกส่องให้เห็นปัจจุบัน”

                 วัดพระศรีสรรเพชญ์กับ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

 เจดีย์และมณฑป วัดพระศรีสรรเพชญ์กับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

 พระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

 พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพฯ  ตั้งอยู่ติดริมน้ำเจ้าพระยา

พระราชวังกรุงศรีอยุธยาก็ตั้งอยู่ติดริมน้ำลพบุรี

 

              ถ้าสนใจต้องการที่จะไปศึกษาอยุธยาถึงแหล่งเรียนรู้ยินดีให้ข้อมูล  ประสานงาน จัดตารางการท่องเที่ยว การนำชม  ติดต่อ  [email protected]  ในฐานะครูอยุธยา         ยินดีรับใช้

หมายเลขบันทึก: 433899เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2011 03:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ'ครูสายันต์'

แวะมาอ่านมาชื่นชมประวัติศาสตร์และความสวยงามของ'อยุธยา'ค่ะ

ไปชมกี่ครั้งก็มีความสวยงามประทับใจ...

แต่สถานที่สำคัญๆหลายๆแห่งมีร้านขายของ,ร้านขายอาหาร มากมายเกินความจำเป็น

ถ้าจัดรูปแบบและจำนวนร้านค้าต่างๆให้เข้ากับบรรยากาศของสถานที่น่าจะดูสวยงามมากขึ้นนะคะ...

ขอบคุณมากครับที่ได้เข้ามาเยี่ยมชม  ครับสภาพที่อาจารย์เห็นหลายคนก็ไม่อยากจะให้เกิดขึ้นครับ  ซึ่งสาเหตุแรก  ในพื้นที่มีหลายเจ้าของ เช่น กรมศิลปากร  กรมศาสนา  ราชพัสดุ  เทศบาล  ทุกฝ่ายทำงานไม่ประสานกัน  ไม่เห็นประโยชน์ส่วนรวม ทุกฝ่ายหาประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงผผลกระทบที่ตามมาครับ  มีอีกหลายที่ไม่ห้ามแต่แรก  เมื่อก่อนนี่ขายเฉาพะ เสาร์ อาทิตย์ ไม่กี่ร้าน  เมื่อขายเสร็จขนของกลับ  แต่ปัจจุบันนี้ขายทุกวัน ทำร้านถาวร  มีร้านเพิ่มขึ้น อย่างนี้ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่มีส่วนเห็นด้วยจะทำได้ไหม  และหลายที่ก็จะเริ่มมีร้านค้าขึ้นเรื่อย ๆ พอไล่ก็ไม่ยอมกันแล้ว  ประเด็นต่อมาความเห็นแก่ตัวของร้านค้า  ประเด็นที่สำคัญ  วัดเองสร้างสิ่งปลูกสร้าง (เต็นท์) บังโบราณสถาน เพื่อใช้เป็นที่จำหน่ายดอกไม้ ธูป เทียน ตู้บริจาค  บางวัดไปทางไหน ไม่รู้จะไหว้อะไรเลย  มีทั่วไปหมด รวมทั้งตู้บริจาค  ไม่มีใครห้ามได้  ยิ่งนักการเมืองท้องถิ่นไม่ค่อยกล้าไปแตะต้องเพราะกลัวเสียคะแนนเสียง  ก็เลยต้องปล่อยไป  ความเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่มี  สู้จังหวัดสุพรรณไม่ได้ครับ  มีคนใหญ่คนเดียวเป็นศูนย์รวม  ทุกคนทำตามแนวเดียวกัน  พูดไปก็เอาจังหวัดตัวเองมาให้คนอื่นเขารู้  ถ้าไปเที่ยวอยุธยาบอกนะครับ  จะพาเที่ยวให้ครับ

ครูสายันต์ครับ

ติดต่อผ่านโทรศัพท์บ้างเเล้ว

ผมจะเดินทางไปในวันที่ 18 เย็น พักที่อยุธยาบุรีเทวีครับ ช่วงกลางคืนที่อยุธยา เเละเช้าในวันรุ่ง...ผมจะขอ ครูสายันต์ เป็นไกด์ให้ผมนะครับ ส่วนตาราง ทัวร์จะขอให้ครูช่วยดูให้ว่ากลางคืนจะไปที่ไหน อย่างไร

 

ผมมีเพื่อน๑ คน พร้อมลูกๆอีก ๒ ครับ รวม 4 คน

 

สวัสดีครับ คุณเอก

                ยินดีต้อนรับด้วยความเต็มใจครับ  น้องที่มานั้นอายุเท่าไรครับ คงต้องเดินมากหน่อยครับ

            วันที่ 18 เมษายน 2554  เข้าที่พัก รับประทานอาหาร แล้วออกเดินทาง

            18.00 น. วัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นวัดในพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา เหมือนวัดพระศรีรัตนศาสดราม

            19.30 น. วัดไชยวัฒนาราม อยู่นอกเกาะเมืองสร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททอง

            20.00 น. วัดท่าการ้องยามค่ำคืน

วันที่ 19 เมษายน 2554 ก็น่าจะคุยกันว่าจะไปเที่ยวที่ใด  แต่ผมคิดว่าจะพาไปสถานที่ ๆ อยู่นอกเมือง ที่คนไม่ค่อยไปกัน แต่มีความสำคัญ  ส่วนวัดในเมืองนั้นมาเที่ยวกันเองมาได้ก็มาได้  ผมจะไม่พาไป  หรือแล้วแต่ว่าจะไปวัดใดก็จพาไป

           

เด็กๆ เป็นวัยที่เดินเก่งครับ

เด็กชาย ๒ คน / วัย ๑๐ เเละ ๑๓ ครับ พี่ๆ ลุงๆน่าจะเดิน วิ่ง ตามเด็กๆครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท