หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

บาทหลวงนิพจน์ เทียนวิหาร


 


(ภาพจาก http://www.thaingo.org/HeadnewsKan/SOCAIL250847.htm)

 

     การไม่เห็นด้วยนั้นมิใช่เพียงการท้วงติงเท่านั้น แต่รุนแรงถึงขนาดกล่าวบริภาษกล่าวร้ายให้โทษเมื่อผมในขณะที่ยังบวชเป็นพระ ซึ่งคุ้นเคย สนิทสนมและไปมาหาสู่พ่อนิพจน์ เทียนวิหาร บาทหลวงคาทอลิก

     ในช่วงนั้น ผมมักจะเดินทางไปพบปะพูดคุยกับท่าน และพักค้าง ณ ที่พักของท่านอยู่บ่อยครั้ง ภิกษุบางรูปและฆราวาสบางคนที่ไม่สู้จะชอบขี้หน้าผมนักก็ใช้เหตุผลนี้กล่าวร้ายผมเสมอ ๆ แต่ก็มิได้ทำให้ผมใส่ใจกับเสียงนกเสียงกาเหล่านั้นนัก

     แต่จะว่าไปแล้วก็น่าจะกล่าวได้ว่า การกระทำของผมนั้นออกจะแปลกและแหกขนบอยู่พอสมควร

     ผมรู้จักพ่อนิพจน์ จากการได้รับมอบหมายให้อ่านหนังสือของท่านเมื่อคราวเรียนปริญญาโท แนวคิดที่ท่านนำเสนอคือ “วัฒนธรรมชุมชน” แต่การอ่านงานของท่านก็ยังไม่ได้ซึมซับอะไรมากมายนัก กระทั่งมีโอกาสได้ร่วมงานกับท่านในปีถัดมา

     ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานกองทุนชุมชน จ.เชียงใหม่ และเป็นตัวแทนของจังหวัดเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารกองทุนชุมชนภาคเหนือตอนบน ซึ่งมีพ่อนิพจน์ เป็นประธานคณะกรรมการฯ ผมจึงมีโอกาสได้พบกับท่านในช่วงที่มการประชุมอย่างน้อยเดือนละครั้ง ครั้งละราว ๒ วัน เป็นอย่างน้อย

     การประชุมที่ว่านั้น เป็นการประชุมพิจารณาโครงการที่องค์กรชุมชนยื่นเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนชุมชน (SIF – Social Investment Fund) คระกรรมการฯ จะช่วยกันพิจารณาความเหมาะสมของโครงการ ซึ่งในการประชุมนี้เป็นโอกาสที่ทำให้ผมได้เรียนรู้และเข้าใจแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนจากพ่อนิพจน์ เป็นอันมาก และแนวคิดนี้ก็กลายมาเป็นแนวคิดสำคัญในการทำวิทยานิพนธ์ของผม

     นอกจากที่ได้พบปะกับท่านในที่ประชุมแล้ว ผมยังได้เดินทางไปพบท่าน ณ พี่พักอีกหลายครั้ง เพื่อเรียนวิชาวัฒนธรรมชุมชนจากท่าน

     พ่อนิพจน์ เทียนวิหาร เป็นชาว จ.พะเยา ท่านคลุกคลีและทำงานพัฒนากับชาวบ้านในชุมชน ทำให้เข้าใจภาพวิถีชีวิตของชาวบ้านแจ่มชัดกระทั่งตกผลึกเป็นกระบวนการทำงานพัฒนาในแนวทางวัฒนธรรมชุมชน และเป็นปัญญาชนรุ่นแรก ๆ ที่นำเสนอแนวคิดนี้

     ท่านเสนอว่า “กระบวนการการทำงานชุมชนเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง ต้องตั้งอยู่บนฐานของศาสนา และวัฒนธรรมของชาวบ้าน

    ท่านมักจะกล่าวอยู่เสมอว่าท่านเป็น “นักทฤษฎีเชิงปฏิบัติ” ท่านกล่าวในที่ประชุมหนึ่งว่า

     “นักพัฒนาจะต้องเข้าร่วมในกระบวนการเรียนรู้และการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อจะเข้าถึงอัตลักษณ์ ความหมายของคำว่าความรู้ กระบวนการสร้างองค์ความรู้และการสร้างพื้นที่ทางสังคมในองค์ความรู้ท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานกับชุมชนท้องถิ่นยาวนาน พ่อนิพจน์ พบว่า แต่ละท้องถิ่นมีอัตลักษณ์และกระบวนการสร้างองค์ความรู้เฉพาะอย่างแตกต่างหลากหลาย ดังนั้น กระบวนการทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นและการจัดการเรื่ององค์ความรู้นั้น ย่อมเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ยิ่งในการใช้องค์ความรู้ชนิดเดียวกันเข้าไปจัดการในทุกชุมชน” (http://www.thaingo.org/HeadnewsKan/SOCAIL250847.htm)

          ปัจจุบันท่านอยู่ที่ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมศาสนาและวัฒนธรรมที่สันกำแพง เชียงใหม่ ผมไม่ได้พบกับท่านมาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังคงระลึกถึงท่านอยู่เสมอ 

 

.

หมายเลขบันทึก: 433791เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2011 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

เป็นกำลังใจให้นะกับ proposal  อ้อ...ขอแนะนำหนังสือที่เขียนโดย ดร.ดิเรก ก้อนกลีบ  "ผู้ว่า ดร.ลุยดอย" ว่าจะบอกตั้งแต่วันนั้นแต่ลืมค่ะ  อย่าพลาด  เป็นหนังสือวางตลาดไม่นานนี่เอง

เรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมและชุมชนไปพร้อมกันน่าจะสร้างสรรค์สู่ LO ได้เนียนไปด้วยดีนะครับท่าน

สวัสดีครับพี่หนานเกียรติ และคุณครูคิม 

กระผมเข้ามานั่งซึมซับเรื่องราวที่ได้ถ่ายทอดเป็นตัวอักษร  ประหนึ่งว่าได้กลายมาเป็นความฝัน  ฝันว่าหนึ่งตนเองจะทำสิ่งอันใดได้บ้างตามคุรุที่ได้เสียสละ  เส้นทางสายแห่งการอุทิศเช่นนี้  เป็นต้นแบบให้กับชีวิตทุกชีวิต  และขอเดินทางร่วมเส้นทางดังกล่าวครับ

ขอบพระคุณมากครับ  ที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวพระคุณความดีงาม 

สวัสดีครับ พี่คิม...

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ แหะ แหะ ถ้าสอบติดต้องการเพิ่มขึ้นอีกแยะเลยครับ...
หนังสือที่พี่คิมให้มายังอ่านไม่หมดเลย เล่มของ อ.เนาว์ ดีมาก ๆ
ว่าจะอ่านต่อ ดันเก็บไว้ที่ดอยมูเซอ  

สวัสดีครับอาจารย์หมอ เจเจ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
เรื่องวัฒนธรรมชุมชนผมเรียนรู้จากพ่อนิพจน์โดยตรงเลยครับ... 

สวัสดีครับ คุณเนิ่ม ขมภูศรี 

ขอบคุณที่แวะเข้ามาทักทายนะครับ
ยินดีที่ได้รู้จักและได้พบปะพูดคุยกัน
มีโอกาสไปพิษณุโลกคราวใดจะหาโอกาสไปนั่งคุยด้วยอีกนะครับ... 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท