แนวทางการพัฒนาโรงเรียนแห่งความสุข ( ๔ ) : รากเหง้าของความสุข (ป.บัณฑิต ๕๒ ศูนย์เชียงใหม่)


หลังจากการเดินทางไกล ๑๘๖๔ โค้ง วนรอบแม่ฮ่องสอน ๑ รอบ ทีมงาน "โรงเรียนแห่งความสุข" และทีมวิทยากรก็ได้กลับมาพบกันอีกที่ "เชียงใหม่" ณ วันที่ ๒๒ - ๒๓ มกราคม ๒๕๕๔

ซึ่งเราเรียกศูนย์การเรียนที่เชียงใหม่อย่างเป็นทางการว่า วิทยาเขตเวียงบัว มีเป้าหมายเป็นนักศึกษาจำนวน ๙ หมู่เรียน ปริมาณร่วม ๆ ๓๕๐ คน ซึ่งถือว่า มหึมามาก หากเปรียบเทียบกับนักศึกษาทางแม่สะเรียงและแม่ฮ่องสอน

ซึ่งเป็นภาระหนักของทั้งทีมงานและทีมวิทยากร ดังนั้น ในวันศุกร์ที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๔ วิทยากรได้เดินทางมาล่วงหน้า ๑ วัน เพื่อเตรียมตัวและขอเรียกประชุมทีมงาน "โรงเรียนแห่งความสุข" แบบฉุกเฉิน (ทำให้ดูตื้นเต้น อิ อิ)

เราเลือกใช้โรงแรมเชียงใหม่ภูคำเป็นสถานที่อบรมและที่พักของวิทยากร ประชุมทีมงานจึงเดินทางมารวมตัวกันที่นี่ครับ ;)

 

 

วันศุกร์ที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๔

 ... ประชุมลับ และ ประชุมลาบ (เป็ด) ...

 

 

ภาพที่ ๑ ... ดูแต่ละคนสิครับ คุณเอก, คุณแผ่นดิน (ยังไม่ได้นอนเพราะพึ่งมาถึง), คุณครูพิศมัย และเลขาฯ โครงการ

 

 

ผมได้แจ้งบริบทของนักศึกษาให้ทางทีมวิทยากรทราบเพื่อปรับกระบวนการ และสิ่งที่กลัวคือ การอยู่ไม่ครบเวลาของนักศึกษา เพราะเด็กเหล่านี้เป็นเด็กในเมืองใหญ่ทั้งนั้น คำว่า "เสียสละ" มีน้อยกว่าที่แม่ฮ่องสอนแน่นอน

ผมจึงขอทางคุณเอก หัวหน้าทีมว่า จะขอเข้ากระบวนการเป็นคนแรกในวันพรุ่งนี้ ขอเวลาประมาณ ๑๕ นาที อยากจะดึงเด็ก ๆ ด้วยคำว่า "โอกาส" แต่ไม่ได้บอกว่าจะมีกระบวนการอย่างไรบ้าง ;)

หลังจากทีมงานจึงพาทีมวิทยากรไปทาน "ลาบเป็ด" เพื่อให้เห็นว่า เราดูแลเป็นอย่างดี 555 (วิทยากรอยากกิน)

 

 

 

วันเสาร์ที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๔

... ค้นหารากเหง้าแห่งความสุขของว่าที่คุณครู ... 

 

 

ภาพที่ ๒ ... คุณเอกกับคุณแผ่นดินมาแต่เช้า ๆๆๆๆ เพื่อนั่งเตรียมกระบวนการ ผมในฐานะผู้ประสานงานโครงการฯ มา ๘ โมงตรง 555

 

 

 

ภาพที่ ๓ ... นักศึกษาเริ่มทยอยมาลงทะเบียน ทำงานในเชียงใหม่ได้เจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะฯ มาช่วย และนักศึกษาของ อ.อ้อย ;)

 

 

 

ภาพที่ ๔ ... ผมขึ้นกระบวนการเป็นคนแรก (ค่าตัวไม่รับ) โดยใช้วีดิทัศน์ "สามเกลอแห่งมอชอ" ที่ออกอากาศทางรายการคน ค้น ฅน ให้เขารู้จักว่า คนที่เขาขาดโอกาสทางร่างกายเขาพยายามแค่ไหน แต่เรามีครบ ๓๒ ประการ กลับไม่ค่อยจะตั้งใจเรียน ซึ่งสามารถเรียกน้ำตาได้ตามเคย อิ อิ (วิทยากรหลักยังต้องเช็ดน้ำตา คิดดู)

 

 

 

ภาพที่ ๕ ... ผมแนะนำวิทยากรทั้งสามท่าน และมอบเวทีให้กับวิทยากร

 

 

 

ภาพที่ ๖ ... หัวใจแห่งความคาดหวัง ว่า วันนี้จะได้รับอะไรจากการอบรมไปบ้าง

 

 

 

ภาพที่ ๗ ... ซึ้งใจครับ เพราะข้อความคือ สิ่งที่ผมได้สอนเขาไปในกระบวนแรก "โอกาสเท่านั้น สามารถเปลี่ยนชีวิตคนได้" เป็นคำพูดของ "สด" หนึ่งในสามเกลอแห่งมอชอ

 

 

 

ภาพที่ ๘ ... คุณแผ่นดิน มีคนบ้านเดียวกันมาอยู่ด้วย 555

 

 

 

ภาพที่ ๙ ... อารมณ์นี้จะสำเร็จไหมเนี่ย วันนี้ ! (วิทยากรหลักยังหาอยู่เลย)

 

 

 

ภาพที่ ๑๐ ... คุณเอก และ คุณครูพิศมัย เริ่มเดินหยิบตัวอย่างของหัวใจมาบอกเล่าให้นักศึกษาฟัง

 

 

 

ภาพที่ ๑๑ ... นักศึกษาเริ่มวาดภาพที่คิดเมื่อไหร่ก็มีความสุข

 

 

 

ภาพที่ ๑๒ ... ภาพวาดที่เกิดขึ้น หลากหลายความนึกคิด

 

 

 

ภาพที่ ๑๓ ... คุณแผ่นดิน ขออาสาสมัครนำเสนอภาพที่ตนเองคิดและวาดลงไป

 

 

 

ภาพที่ ๑๔ ... พระนเรศ ก็เป็นหนึ่งในพระนักศึกษาที่ได้นำเสนอด้วย

 

 

 

ภาพที่ ๑๕ ... ท่านพูดเก่งมากจนวิทยากรทุกท่านอดขำ ยิ้ม และหัวเราะไม่ได้

 

 

 

ภาพที่ ๑๖ ... คุณแผ่นดิน เริ่มกระบวนการเปิดเปลือยรากเหง้าของตัวเอง

 

 

 

ภาพที่ ๑๗ ... ซึ่งคุณแผ่นดินใช้คลิปสั้น ๆ จากผลงานของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้แก่ คลิป "สุขใจที่ได้พูด (อีสาน)" และ "วันเรียกขวัญ" ซึ่งถือเป็นคลิปที่เรียกเสียงหัวเราะและน้ำตาได้ในคราวเดียวกัน แม้กระทั่ง คุณเอก วิทยากรหลัก ยังต้องเสียน้ำตาเป็นรอบที่สองด้วย

ซึ่งการใช้คลิปนี้ เราคุยกันนอกรอบว่า แหม จะใช้คลิปอะไรก็ไม่ยอมบอกกันล่วงหน้า รับหน้าที่มา ก็ใส่กันแหลก วิทยากรตั้งหลักกันไม่ทัน แฮะ แฮะ ผมเป็นคนเริ่มก่อนแหละ 555 คุณแผ่นดิน เลยไม่บอกบ้าง

 

 

 

ภาพที่ ๑๘ ... คุณเอก บรรยายเรื่อง BBL : Brain-Based Learning

 

 

 

ภาพที่ ๑๙ ... คุณครูพิศมัย เริ่มเล่ากว่าจะเป็นคุณครูศิลปะของตนเอง ภาษาคำเมืองเช่นเดิม น่ารักมากครับ คุณเอกคอยแหย่และกระทุ้งเรื่องเล่าอยู่ตลอดเวลา

 

 

 

ภาพที่ ๒๐ ... ภาพนี้เดินทางมานับพันกิโลเมตร ใช้ทุกสถานที่ ตั้งแต่แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน จนถึง เชียงใหม่

 

 

 

ภาพที่ ๒๑ ... อาศัยเวลาพักอาหารว่าง เพื่อนอาจารย์มาแจมขอถ่ายรูปกับวิทยากร ซึ่งวิทยากรก็ยินดีจ๊าดนัก ;)

 

 

 

ภาพที่ ๒๒ ... วิทยากรแผ่นดิน ก็เริ่มตั้งท่าบันทึกภาพในกิจกรรมยามบ่าย หลังจากมีการฉายภาพยนตร์ เรื่อง Coach Carter ไปแล้ว

 

 

 

ภาพที่ ๒๓ ... เด็ก ๆ เริ่มจด พร้อมโชว์ผลงาน น้านนน

 

 

 

ภาพที่ ๒๔ ... ว่าที่คุณครูท่านนี้ คือ ตัวอย่างที่ดีของคนที่อยากเป็นครู ขาแกไม่ดี การสื่อสารดูบกพร่อง พูดช้า แต่สามารถสอนศิลปะเด็กได้เป็น ๑๐ ปี

 

 

 

ภาพที่ ๒๕ ... อีกมุมหนึ่งหน้าเวที โครงการ "โรงเรียนแห่งความสุข" เป็นโครงการที่งบประมาณถูกตั้งไว้น้อยมาก แต่เราสามารถใช้ห้องประชุมขนาดกลางของโรงแรมได้ และบรรยากาศเป็นที่ประทับใจพอสมควร ยกความดีให้ทีมงานทุกคนครับ

 

 

 

ภาพที่ ๒๖ ... คุณแผ่นดิน ว่างเป็นไม่ได้ครับ เก็บภาพอุตลุด 555 สังเกตไหมครับ หัวใจของรุ่นนี้เยอะมาก เพราะคนเป็นสามร้อยโน้น

 

 

 

ภาพที่ ๒๗ ... นักศึกษาเริ่มเขียนหัวใจว่า วันนี้ได้เรียนรู้อะไรไปบ้างตลอดทั้งวัน

 

 

 

ภาพที่ ๒๘ ... เมื่อเขียนเสร็จก็ติดอีกข้างของห้องประชุม นักศึกษาเสื้อดำ คือ เพื่อนที่เขียนเสร็จแล้วฝากมาติด นักศึกษาเสื้อส้มเป็นคนจับมาติดทีละดวง สร้างสรรค์เหลือเกิน พวกนี้ ;)

 

 

 

ภาพที่ ๒๙ ... สร้างสรรค์ แม้กระทั่ง เอาหัวใจมาต่อความกันเนี่ยนะ จ๊าก !

 

 

 

ภาพที่ ๓๐ ... คุณเอก เริ่มสรุปสิ่งสำคัญจาก Coach Carter ไปด้วย

 

 

 

ภาพที่ ๓๑ ... วิทยากรต่างชวนกันทำงานของตน เพื่อปิดกระบวนการในวันนี้ ;)

 

 

 

ภาพที่ ๓๒ ... เออ คือว่า คุณเอกมาเก็กทำไมตรงนี้ครับ !

 

 

 

ภาพที่ ๓๓ ... นี่คือทีมงาน "โรงเรียนแห่งความสุข" ณ เชียงใหม่ ที่เหลืออยู่หลังจากเคลียร์ทุกอย่างจนจบสิ้น

 

 

 

ภาพที่ ๓๔ ... ทีมงานเลือกพาทีมวิทยากรมาทานข้าวเย็นที่ร้าน "แกงร้อนบ้านสวน" อาหารเมือง ๆ นิด ๆ ผมจึงนำภาพบรรยากาศมาฝาก อากาศกำลังหนาวเชียว

 

 

คิดถึงวันที่ผ่านมาของ "โรงเรียนแห่งความสุข"

ผมไม่รู้หรอกว่า ความสำเร็จของโครงการนี้อยู่ตรงไหน ปริมาณเท่าใด

แต่ที่แน่ ๆ ทีมงานทุกชีวิต ทีมวิทยากรทุกคน ต่างพันผูกและผูกพันกันมาจนถึงทุกวันนี้ เหมือนครอบครัวเดียวกันไปแล้ว

ความสุขไม่ได้ถูกนำไปมอบให้เฉพาะว่าที่คุณครู

แต่ความสุขกลับย้อนมามอบให้พวกเราทุกคนอีกด้วย

 

ขอบคุณ ทีมงานเล็ก ๆ ที่เข้มแข็งทุกคนครับ

ขอบคุณ ทีมวิทยากรทุกท่านที่เห็นคุณค่าของว่าที่คุณครูเหล่านี้

ขอบคุณ ความตั้งใจและความมุ่งมั่นของคุณเอก

ขอบคุณ หัวใจนำพา ศรัทธานำทางของคุณแผ่นดิน

ขอบคุณ หัวใจความเป็นครูแท้ ของคุณครูพิศมัย

 

ขอบคุณมากนะครับ

 

บุญรักษา ทุกท่าน ;)

 

 

 

.............................................................................................................

 

บันทึกที่เกี่ยวข้องกัน ...

 

บันทึก โดย คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล

 

บันทึก โดย คุณ แผ่นดิน แห่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

บันทึก โดย ผมเอง

 

หมายเลขบันทึก: 433485เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2011 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

ด้วยความที่รู้ล่วงหน้าว่าผู้เรียนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเด็กในเมือง  ผมจึงไม่นำเสนอด้วยรูปแบบเดิม ไม่เน้นกลอนเปิดใจ แต่หยิบเอาวีดีทัศน์มาใช้แทน เพราะมันดูร่วมสมัยดี ซึ่งก็ถือว่าประเมินสถานการณ์มาไม่ผิด ต้องขอบคุณทีมงานที่เกริ่นกล่าวมาเป็นระยะๆ

ผมเองก็ไม่รู้ว่าจะชี้วัดความสำเร็จจากอะไรบ้าง
รู้แต่เพียงว่า โรงเรียนแห่งความสุข
ทำให้ผมมีความสุขกับการงานตรงนั้นอย่างมหาศาล
แม้แต่วันนี้ ผ่านมาแล้ว นึกถึงทีไร ก็ยังมีความสุขอยู่ตลอดเวลา

...

ท่านวิทยากร แผ่นดิน ;)...

ไม่น่าเชื่อว่า โครงการเล็ก ๆ มันจะบังเกิด "ความสุข" มหาศาลมากขนาดนั้น

ลักษณะเฉพาะของนักศึกษาแต่ละกลุ่ม แต่ละที่ มีที่มาและที่ไปไม่เหมือนกันจริง ๆ

ในเมือง นอกเมือง พื้นราบ บนดอยสูง เด็กเก่ง เด็กไม่เก่ง เด็กทุน เด็กไม่ทุน ฯลฯ

ทุกครั้งที่ผมคุยกับเลขาฯ โครงการ ไม่เคยมีครั้งไหนที่คุยถึง "โรงเรียนแห่งความสุข"

จะเกิดความทุกข์สักครั้ง เธอสุขอยู่เสมอ ยิ่งมีการติดต่อผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ

กำลังใจในการทำงานเพื่อผู้อื่นมาจากไหนก็ไม่รู้มากมาย

เธอบอกผมว่า พวกคุณ คือ Hero ของเธอ คุณ แผ่นดิน เชื่อไหมเอ่ย ;)...

ตัวอย่างที่ดีมีค่ากว่าคำสอน จริง ๆ ครับ

มันเป็น "วิถี" ที่ทำให้เราได้มีโอกาสทำงานร่วมกันครับ คุณ แผ่นดิน ;)

ดัชนีความสำเร็จ วัดที่ "หัวใจ" ของเราทุกคนครับ

ขอบคุณมากครับ

ป.ล. เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน เหลือเก้าอี้ไว้ให้ยกอีกเยอะครับ อิ อิ

  • สวัสดีค่ะ
  • ดู และอ่านกระบวนการเพื่อสร้างโรงเรียนแห่งความสุข ด้วยความสุข เหมือนอยู่ในบรรยากาศของการเข้ารับการอบรมปฏิบัตการด้วยเลยค่ะ
  • ที่สพป.สุพรรณ๒ กำลังทำโครงการ"จัดการเรียนรู้อย่างไรให้นักเรียนมีความสุขค่ะ
  • โดยเราเชิญชวนคุณครูสมัครร่วมโครงการค่ะ
  • กำลังวางแผนกระบวนการค่ะ "จะทำอย่างไรให้คุณครูคำนึงถึงความสุขในการเรียนรู้"
  • แอบจด และจำ จากบันทึกนี้และอีกหลายบันทึกที่ตามลิ้งค์ไปดูค่ะ
  • ขอบคุณมาก อาจจะต้องขอความช่่วยเหลือในโอกาสต่อไปค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ผมแวะมาเติมพลังชีวิตในเช้าวันนี้ผ่านบันทึกอันเป็นความสุข...
หอบหิ้วเครื่องคอมฯ เล็กๆ มาซุกตัวในห้องประชุมเพื่อทำงานเงียบๆ พร้อมๆ กับรอลูกทีมในการที่จะประชุมกันอย่างเป็น "กันเอง"  เช่นเดียวกับรอคอยช่วงบ่าย เพื่อบ่ายหน้าเข้าสู่กิจกรรมพฤหัสสกัดความรู้ฯ ...ร่วมกับทีมงานชุดใหญ่อีกชุดหนึ่ง 

เย็นนี้ น้องๆ ชวน "บอส" ไปดูหนัง,
ผมกำลังจะถามว่า "ชวนไปดู"  หรือชวนไป "เลี้ยงหนัง" กันแน่ ?

สิ่งเหล่านี้คือ "วัฒนธรรมของความเป็นทีม" มันคือผลพวงของการ "สอนงาน สร้างทีม" มันคือดอกผลของ "คนบ้านเดียวกัน"

และเหนือสิ่งอื่นใด มันคือ "ความสุข" ที่ใช้ "ใจ" เป็นฐานวัด

 

ยินดีและขอบคุณมากครับ ท่าน ศน.ลำดวน ;)...

หากโครงการเล็ก ๆ จะเป็นประโยชน์แก่คุณครูที่ให้ความสนใจเรื่อง "ความสุข" มากกว่า "ลาภ ยศ สรรเสริญ" ;)...

คุณ แผ่นดิน เป็น "บอส" ที่เป็นผู้ให้ทั้งที่ลูกน้องจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม

อันมาซึ่ง "ความสุข" และการสร้าง "วัฒนธรรมการทำงานใหม่" ให้กับพวกเขาในอนาคต สังคมและประเทศชาติก็จะน่าอยู่ขึ้นอีกเยอะแยะมากมาย ;)

ขอบคุณที่แวะมาเติมพลังความสุขในยามเช้าครับ ;)...

 

มาอ่านหลายๆครั้งเลยครับ

ขอซึมซับบรรยากาศการสนทนาก่อนนะครับ- - workshop เมย.นี้ อาจต้องขอรายละเอียดเพิ่มครับ

- กลุ่มเป้าหมายคือใคร? ประสบการณ์? วัยวุฒิ จำนวน เเละ สถานที่

- วัตถุประสงค์ของทางสถาบัน

- เวลา workshop

 

ผมจะได้ออกแบบเเละเตรียมความพร้อมให้ประณีตมากๆครับ...

 

 

วันนี้พอดีผ่านมาสุดตา/สุดใจ"โรงเรียนแห่งความสุข" ทำให้คิดไปกว้างไกลอยู่นะครับเป็นคำที่เห็นแล้วถ้าไม่คิดก็ธรรมดาๆๆทั่วไป แต่ถ้าคิดทั้งสองแง่มุมแล้ว จะพบความแปลกๆในใจอยู่นะครับ  ขอชื่นชมท่าน"คุณแผ่นดิน"ที่แบ่งปั่นความสุขหรือหาทางให้คนอื่นๆสร้างความสุขให้กับตนเอง  โดยเฉพาะเด็กเมืองที่น่าสงสารทั้งหลาย ตอนนี้ในความเห็นของผมว่า "เด็กบ้านนอก"ก็ขาดความสุขอยู่นะ โดยเฉพราะในโรงเรียน  ผมมีข้อมูลชุดหนึ่งในชนบทที่ผมอยู่ "เด็กที่จบ ป๖ ประมาณร้อยละ ๑๐ อ่านหนังสือไม่เข้า/ไม่รู้เขาอ่านกันยังไง เขาไม่ได้โง่นะ  และไม่ขาดโอกาสด้วย  แต่ทำไม" โอกาส"เขาอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ใครเป็นคนขโมยโอกาสนี้ไปก็ไม่รู้  กำลังตามหาอยู่ บางคนว่า  "เด็กทิ้งโอกาสเอง"  บางคนว่า "ครูไม่ให้โอกาสเด็ก"  ต้องทำตามนโยบาย ไม่มีโอกาสสอน"พ่อแม่ปิดโอกาส"แต่ที่แน่นๆๆเด็กหลายคนต้องหันหาสิ่งเสพติด/ดิ้นร้นหากินตามความสัญชาตญาณความอยู่รอด เน้นการใช้กำลังแลกความอยู่รอด เด็กรุ่นนี้มีประมาณ 10 - 15 ล้าน  พอคิดสัดส่วนออกมาแล้วบอกเลยว่า"หนาวๆๆร้อนๆๆ"ยังไงไม่รู้นะ "ท่านทำต่อไปนะครับช่วยได้น้อยยังดีกว่าไม่ได้ช่วยเขา"

ขอฝากให้"คุณจตุพร"หน่อยหนึ่งนะ  ช่วยออกแบบความเป็นมนุษย์ให้เขาด้วยนะครับเพราะ"คน"นั้นไม่ต้องออกแบบแล้ว/ขอคุณร่วงหน้าครับ

คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ;)...

รับทราบถึงบริบทเบื้องต้นที่ท่านต้องการครับ

ผมจะเป็นคนเขียนส่งบริบทเหล่านี้ไว้เป็นเบื้องต้นให้

ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ จะไปเก็บเล็กเก็บน้อยจากทีมงานมาด้วยครับ

ขอประณีตแบบสุดฤทธิ์เลยนะครับ ;)...

ยินดีครับที่คุณ ชำนาญ ผ่านมาสุดหู สุดตา สุดใจ ;)...

"โรงเรียนแห่งความสุข" เป็นโครงการเล็ก ๆ ของทีมงานเล็ก ๆ

ที่มีเป้าประสงค์สร้าง "ความเป็นมนุษย์" ให้กับว่าที่คุณครูอยู่แล้วครับ

เราไม่อยากได้ครูที่หลง "ลาภ ยศ สรรเสริญ" ออกไปสู่โรงเรียน

แต่เราอยากได้ครูที่มีความเป็นครูด้วยหัวใจออกไป เพื่อสร้างสังคมให้ดีขึ้น

โครงการเล็ก ๆ แต่แอบฝันใหญ่ ๆ ครับ

ขอบคุณมากครับสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันครับ ;)

ทำงานเต็มที่เหมือนเดิม

สวัสดีครับ

เวทีโรงเรียนแห่งความสุข เป็นเวทีที่ดีมากครับ เเละเป็นงานที่น่าสนใจ-good job รวมไปถึงคนทำงานร่วมด้วย เวลารับร่วมทำงาน ผมมองสองประการนี้เป็นหลัก งานจะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง คนทำ Workshop ก็ช่วยในเชิงการนำ คนที่เป็นต้นเรื่องก็มาคิดด้วยกัน

ส่วนเรื่องการออกแบบ คน ออกแบบมนุษย์ นั้น ก็เป็นภารกิจของการทำเวทีพัฒนาสร้างเเรงบันดาลใจเเบบนี้ เเต่ไม่ค่อยได้พูดว่า "ได้ออกแบบ ได้พัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์" เป็นคำใหญ่สำหรับผมมากไปหน่อย

อีกนัยยะหนึ่ง ก็คือ มนุษย์ที่สมบูรณ์ คนทำ workshop เเบบผม จะเป็นครบถ้วนหรือไม่นี่ก็ปัญหาหนึ่ง ดังนั้นผมก็เลี่ยงคำแบบนี้ ขอเป็นเพียงผู้ที่ช่วยกระตุ้นการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรับวิถี เเละสร้างบรรยากาศ ผมทำได้เท่านี้จริงๆ

หากมีอะไรที่งอกงามขึ้นในเวที นั่นคือเครดิตของทุกคน โดยเฉพาะ participant เพราะเป็นชีวิตเขาเอง

ขอบคุณเจ้า น้องคุณครู เทียนน้อย ;)...

การทำเวทีเรียนรู้ "โรงเรียนแห่งความสุข" น่าจะสร้างแรงกระตุ้นให้กับคนที่เป็นครูในโรงเรียนต่าง ๆ ของประเทศนี้ได้พอสมควรนะครับ

ขอให้น้องคุณครู เทียนน้อย ทำงานด้วยความสุขใจนะครับ ;)...

สำหรับผมแล้ว "โอกาส" การทำเวทีอย่างนี้มีไม่เยอะมากนัก มันเป็นเรื่องของ "การเมือง" ภายในคณะที่ทำให้คณะผลิตครูเดินทางอย่างกระท่อนกระแท่นมานาน

แต่เมื่อผมได้รับ "โอกาส" ความคิดนอกกรอบ ความอยากสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนที่เป็นครู และกำลังจะเป็นครูจึงเป็นหมุดหมายหลัก ๆ ที่อยากจะสร้างให้กับพวกเขา

"โรงเรียนแห่งความสุข" เหมือนคำขอร้องให้วิทยากรจัดสร้างกระบวนการที่ทีมงานได้คาดหวังอยากมองเห็น อยากจะกล่อมเกลาพวกเขา

คำขอร้องของผมจะเดินทางไปถึงวิทยากร ก่อนคิดกระบวนการอย่างประณีต แน่นอนครับ

ขอบคุณมาก ๆ ครับ ท่านวิทยากรเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ;)

น่าสนใจมากครับอาจารย์ การเป็นวิทยากรกระบวนการนี่ ผมว่าต้องอาศัยพรสวรรค์ด้วยนะ

ขอบคุณมากครับ ท่าน เอกชัย กศน.ผักไห่ ;)...

พรสวรรค์ 1% ส่วนที่เหลือเป็นพรแสวงครับ ;)...

อ. วัต

   พี่พึ่งมีโอกาสได้อ่านบันทึกโรงเรียนแห่งความสุข บันทึกที่4 ที่5 วันนี้เอง มองเห็นภาพถ่ายของทุกคนอดยิ้มอย่างมีความสุขไม่ได้ จำได้ถึงความหนาวเหน็บที่แม่ฮ่องสอน ถ้าไม่มีถุงเท้า 2 คู่และรองเท้าไหมพรมอีกสองคู่คงแย่แน่ๆ(โชคดีที่ซื้อตอนเดินถนนคนเดิน)ที่จำได้ไม่ลืมคือการเมารถ(นึกว่าจะแน่ที่แท้ก็อ้วก) สุขใจจริงๆที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนแห่งความสุข ขออนุญาตเก็บบันทึกของอาจารย์ไว้ด้วย ส่วนบันทึกของพี่คงเขียนไว้ในสมุดไว้อ่านคนเดียว เพราะความไม่เก่งคอมพิวเตอร์นั่นแหละ (ขนาดพยายามตามวัยแล้วนะ)

จำได้ครับ พี่ พิศมัย เทวาพิทักษ์ คืน "เท้าหนาว" พี่รอดอยู่คนเดียว

วิทยากรท่านอื่น เรียบร้อยหมด 555

แต่ก็ไม่รอดตรง "อ๊วก" นี่แหละ 555

ทีมงานมีความสุขทุกคนจริง ๆ ครับพี่

แล้วพบกันครับ ;)...

ป.ล. เขียนบันทึกในนี้เถอะครับ วัยรุ่นขนาดนี้ ;)...

อ่านกี่ครั้งๆ ก็ยังเปี่ยมพลัง...ไม่จางจืดเลย

ถือเป็นบันทึกอัน... "ทรงคุณค่าอมตะนิรันดร์กาล" ในดวงใจค่ะ

ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

ขอบคุณ คุณ Tawandin ที่ทำให้ผมได้มีโอกาสกลับมาอ่านอีกครั้งหนึ่งเช่นกัน
บางทีก็ไม่แ่น่ใจว่า นี่คือบันทึกเราหรือนี่ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท