เข้าร่วมประชุมวิชาการสวทช(NAC2011)


การประชุมวิชาการสวทช.(NAC2011) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-26 มีนาคม 2554 ที่อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ปทุมธานี ประเด็นการประชุมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ

เมื่อวันที่ 24-26 มีนาคม 2554 ผู้เขียนได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการ สวทช.2011(NAC2011) ที่ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย คลองหลวง รังสิต ปทุมธานี ปีนี้กำหนดหัวข้อการจัดประชุมเรื่อง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ ซึ่งกำลังอยู่ในความสนใจของชาวโลกอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ซึนามิครั้งใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น ส่งผลต่อคนทั้งโลก เป็นบทเรียนสำคัญที่คนต้องศึกษาและเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับภัยที่อาจเกิดขึ้นแบบเดียวกันได้ในอนคต ผู้เขียนขอนำเสนอรายละเอียดและภาพกิจกรรมที่น่าสนใจเท่าที่จับประเด็นได้ ดังนี้

1. การปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อเตรียมรับภัยพิบัติ มีนักวิจัยนำเสนอการปรับปรุงพันธ์ พริกทานโรค พริกสำหรับการบริโภค และเพื่อการผลิตยา มะเขือเทศ แตงกวา ฟักทอง ประเด็นเด่นที่น่าสนใจอีกคือ การผลิตทางการเกษตรเพื่อตอบสนองการบริโภคของคนรุ่นต่างๆ คือ Generation O , X , Y , Z ซึ่งมีบริษัทเอกชนได้ให้ความสนใจและนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ได้รับความสนใจ จนส่งผลทางเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต
 
สัดส่วนประชากรในแต่ละ generation
 

 

ความต้องการและความจำเป็นของคนแต่ละยุค(generation) อาจมีความแตกต่างกัน

 
นี่เป็นลักษณะการบริโภคของคนปัจจุบันนี้มุ่งเรื่องของประสาทสัมผัสมากกว่าสุขภาพ

พฤติกรรมการบริโภคของแต่ละชาติก็มีความแตกต่างกัน
ค่าใช้จ่ายในการบริโภคก็มีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

 

 

 

ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายการบริโภคจะไม่มากแต่ก็มีความสุขได้นะครับ อย่างเช่นภูฐานเป็นประเทศที่มีความสุขมากแต่ค่าการบริโภคจะน้อยกว่าชาติอื่นๆ ที่ยกมาให้เห็น

2. การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับไฟป่าและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยด้วยเครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่สามารถช่วยบรรเทาเหตุภัยพิบัติต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการแจ้งเหตุต่างๆ เพื่อการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยที่ทันกับเหตุการณ์ ในโลกยุคข่าวสารข้อมูล เป็นการนำเครือข่ายออนไลน์มาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างคุ้มค่าอีกทางหนึ่ง





เมื่อเกิดภัยพิบัติแล้วคนไทยเราไม่ทิ้งกัน มีอาสาสมัครช่วยเหลือกลุ่มต่างๆ โดยการรวมกลุ่มกันอาศัยทางสื่ออินเทอร์เน็ต สังคมออนไลน์ มีมากมายที่ใช้การติดต่อกันเพื่อประสานความช่วยเหลือ



 

 

3. ขอนำเสนอภาพกิจกรรมนิทรรศการทางวิชาการดังนี้
 
 

 

 นี่รูปพริกที่พัฒนาแล้วนะช่วยลดปริมาณพริกหนุ่มได้เยอะเลยครับ

 นี่ก็เครื่องรีไซเคิลขวด PET นะครับ สามารุช่วยให้ลดปริมาณขยะได้เป็นอย่าอย่างดีนะ

นี่ยังไม่ได้กลับภาพผลการประกวดการออกแบบอีโคดีไซน์ จากขยะนะ
 
นี่ก็เป็นผลงานชนะการประกวดออกแบบ ecodesign อีกชิ้นหนึ่งเลยนะครับ

4. วิทยาศาสตร์เทียมกับการโฆษณาสินค้า(หลอกขายของ) ปัจจุบันนี้มีการโฆษณาสินค้าโดยการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงด้วยการใช้วิทยาศาสตร์เทียม เป็นการนำวิทยาศาสตร์มาใช้แบบไม่ครบถ้วน(นำมาเพียงบางส่วนที่เป็นประโยชน์กับสินค้าเท่านั้น) ในการเสวนาหัวข้อนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมเสวนา คือ ดร.นำชัย ชีววิวรรธ์ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์  ดำเนินการโดย คุณจุมพล

 

ดูข้อมูลนำเสนอต่อไปนี้เองเลยครับ

 

















หมายเลขบันทึก: 433289เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2011 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะอาจารย์ประถม

เป็นการประชุมทางวิชาการที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

การเตรียมรับมือกับภัยพิบัตินั้น คงไม่เฉพาะแค่ประเทศญี่ปุ่นนะคะ เพราะปัจจุบันนี้

ทั่วโลกก็ประสบกับภัยพิบัติกันถ้วนหน้า... ชีวิตต่อไปจะเป็นอย่างไรไม่อาจรู้ได้

เพราะฉะนั้นเราจึงควรทำวันนี้ให้ดีที่สุดนะคะ

ด้วยความระลึกถึงค่ะ

 

ข้อมูลมีประโยชน์มากเลยครับ พี่ดร.บัญชา อยู่ที่นี่ครับ เสียดายไม่ได้พบกัน พี่เขาอยู่ที่ MTEC

"น้องประถม" คะ

  • คงสบายดีนะคะ ภาคเรียนนี้งานหนักไหมคะ
  • พี่เพิ่งกลับจากอบรมที่กทม.เช้านี้ และสอนถึง 11.20 น. อบรมมาแล้วก็ต้องรับภาระอบรมครูแนะแนวในจังหวัดยโสธร อำนาจเจริญ อุบลฯ และศรีสะเกษ รวม 900 กว่าคน (เป็นศูนย์ที่รับผิดชอบอบรมครูแนะแนวมากที่สุด) อบรม 10 รุ่น รุ่นละ 3 วัน รวม 30 วัน ให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคมค่ะ 
  • พี่มาเรียนรู้ข้อมูลการเปรียบเทียบค่าอาหารต่อครอบครัวต่อสัปดาห์ของคนในประเทศต่างๆ ค่ะ ขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูล
  • และเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท