12th HA Forum : ความดีงามบนเส้นทางที่หลากหลายของระบบคุณภาพ


ขบวนการคุณภาพ ไม่ว่าจะของประเทศไหน ต้องมีสมดุลระหว่างแรงกดดัน ความท้าทาย และพลังสร้างสรรค์ พัฒนาต่อเนื่อง แล้วจะเกิดความพอดีหรือ Co-evolution

วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔

หลังจากชม VDO เปิดงานและการแสดง จบ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการบริหาร สรพ.ได้บรรยายในหัวข้อความดีงามบนเส้นทางที่หลากหลายของระบบคุณภาพ อาจารย์วิจารณ์เริ่มโดยบอกว่าจะคุยเรื่องเบาๆ... ถ้าจะดูความงามให้นึกถึง “งามดั่งดวงสมร” ต้องดูหลายชั้น... ภายนอกเป็น physical ความดีงามอยู่ข้างใน

 

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการบริหาร สรพ.

เป้าหมายของระบบคุณภาพ... จุดบรรจบเดียวกัน ก่อผลกระทบเยอะ

  • คุณภาพของบริการ
  • ผลประโยชน์ของผู้ป่วย
  • ชื่อเสียงเกียรติคุณและผลประกอบการ/ ความอยู่รอดขององค์กร
  • ความสุขของผู้ปฏิบัติงาน Happy Workplace
  • ระบบสุขภาพที่ดี เป็นที่เชื่อถือและสร้างความมั่นคงแก่ประเทศชาติ

ระบบคุณภาพมี ๒ ระบบใหญ่ที่ซ้อนกันอยู่ แต่ไม่ซ้อนสนิท คือ Quality System และ Health System เพื่อเป้าหมายเดียวกัน ท่ามกลางพลวัตรและความท้าทาย... ระบบคุณภาพมีหลายเรื่อง เช่น ของสถาบันเพิ่มผลผลิต ของ สมศ. ... มีหลากหลายในหลายส่วนของสังคม

ผู้นำระบบคุณภาพของระบบสุขภาพคือ สรพ. แต่ไม่ใช่เจ้าของ... จะมีคุณภาพได้ ต้องใช้พลังที่หลากหลาย จากนิทรรศการจะเห็นได้ว่ามีหลักการวิธีการต่างๆ เยอะ ที่สำคัญคือ

  • ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ - ต้องใช้ความรู้ (เป็นหัวใจ) วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูล มีลูกเล่นเยอะมาก
  • การสร้างความรู้ (วิจัย) : R2R วิจัยปกติ - ระหว่างการทำงาน มีการสร้างความรู้ไปด้วย ใช้พลังของการวิจัย R2R (ชื่อนี้ sexy มาก จึงกระจายไปรวดเร็ว)
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - KM ตัวงาน HA Forum เป็นเวที KM ในกระบวนการคุณภาพสามารถใช้ KM เป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยน Tacit knowledge
  • ความริเริ่มสร้างสรรค์จากทั่วทั้งองค์กร/สังคม เพื่อให้เกิดคุณภาพ ความริเริ่มสร้างสรรค์ต้องมาจากทุกหน่วยบริการ ไม่ใช่มาจากผู้บริหารอย่างเดียว...
  • การมีส่วนร่วม
  • ความเชื่อมั่นในตนเอง ช่วยเหลือตนเอง และเคารพ ช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน

เครื่องมือที่ใช้มีหลากหลาย เช่น PDC(S)A-CQI, BSC, TQA/ PMQA/ HA/ SHA, Lean, R2R, KM etc. แต่เคล็ดลับคืออย่าบ้าเครื่องมือ อย่าหลงเครื่องมือ อย่าใช้เครื่องมือทั้งหมด... ถ้าจะใช้เครื่องมือใดต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับตัวเอง บางครั้งเรานี่แหละที่จะสร้างเครื่องมือใหม่ขึ้นมา แล้วคนอื่นเอาไปใช้

หลากหลายกุศโลบาย/ ยุทธศาสตร์

  • เชิงบวก เช่น SSS ให้รางวัล
  • เชิงกดดัน เช่น KPI, PA การประเมิน (Creative Pressure)
  • สร้างกระแส
  • ความร่วมมือ
  • ฯลฯ

หัวใจคือยุทธศาสตร์เชิงบวก เวที HA Forum คือ SSS เอาเรื่องดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง แต่โลกของเราไม่หอมหวานไปทั้งหมด มีแรงกดดัน/ความท้าทายด้วย มีการใส่ KPI เข้าไปเพื่อความชัดเจน อีกมุมหนึ่งก็เป็นตัวช่วย เป็นการตกลงกัน

การประเมินเป็นเหมือนยาขมของคนไทย... เป็นความท้าทายของ สรพ. เป็นแรงกดดัน แต่ต้องเป็นแรงกดดันเชิงสร้างสรรค์... อย่างไรก็หนีไม่พ้นแรงกดดัน

การจะทำให้เกิดคุณภาพ ไม่มีสูตรตายตัว เริ่ม สรพ. มา ๑๐ กว่าปี ตอนนี้เดินมาไกลมากแล้ว...กระบวนการคุณภาพของเราเดินมาถูกทาง ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ต้องปรับใช้ตามสภาพของสถานบริการ ที่ตั้ง ระดับของเทคโนโลยี/ บริการ ผู้ใช้บริการ... เรียนรู้จากกันได้ แต่ไม่ควร “เลียน”

ระบบคุณภาพของเราก้าวหน้ามาดี แต่เสี่ยงล้า ต้องหาทางป้องกัน ตัวที่จะทำให้ไม่ล้าคือการเห็นสิ่งดีๆ ที่คนอื่นทำ ความแตกต่างหลากหลายจึงเป็นพลัง ต้องเปิดโอกาสให้ใช้ความริเริ่ม ถ้ายึดอะไรเป็นสูตรสำเร็จตายตัวจะล้าง่าย

กระบวนการคุณภาพมีธรรมชาติ :

  • เป็น “การเดินทาง” (journey) ไม่ใช่ปลายทางหรือจุดสิ้นสุด (destination)
  • เป็น means ไม่ใช่ end
  • เป็น “กระบวนการ” มากกว่า “ผลสุดท้าย”
  • เป็น “วิถีชีวิต” ไม่ใช่สิ่งที่ทำเป็นฤดูกาลหรือจำใจ
  • เป็นบ่อเกิดแห่งความสุข ไม่ใช่ความทุกข์

ผลลัพธ์สุดท้ายคือผู้ใช้บริการได้รับบริการที่ดี

Quality process ต้องเป็นวิถีชีวิตที่แทรกอยู่ในการทำงาน ไม่ใช่ส่วนที่เติมเข้าไปแล้วก่อให้เกิดความทุกข์ ถ้าเป็นอย่างนั้นแสดงว่าเดินผิดทาง ใช้ยุทธศาสตร์ที่ผิด เป็นการทำเพื่อผู้ประเมิน จริงๆ ต้องเป็นการทำเพื่อผู้ใช้บริการ ทำเพื่อตัวเอง

สรพ. ทำหน้าที่เป็น “สจ๊วต” หรือ “คุณอำนวย” ไม่ใช่ “คุณอำนาจ” ไป facilitate ให้ท่านทำงานคุณภาพได้ บางทีก็ไปเรียนรู้จาก รพ. ...

  • หาเครื่องมือมาให้เลือกใช้
  • สร้างเกณฑ์คุณภาพมาให้เป็นแนวทางดำเนินการอย่างเป็นระบบ
  • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • ฝึกอบรม
  • เป็นแหล่งความรู้
  • จัดโครงการพัฒนานำร่อง (การขับเคลื่อนเรื่องยากๆ ต้องทำเป็น pilot project)
  • ประเมินเพื่อเป็นกระจกส่อง สำหรับพัฒนาต่อเนื่อง การประเมินเป็นกระจกส่อง พยายามให้ใส ชัด ตรงกับภาพจริง... พยายามให้การตรวจเยี่ยมเป็นกระจกที่ชัดและตรง เป้าหมายเพื่อรับใช้สถานบริการ การดูตัวเองบางครั้งอาจบิดเบี้ยวได้
  • สร้างและกระจาย Quality Information สรพ. เป็นผู้กระจายตัวข้อมูล... สถานบริการบางเรื่องอยู่ข้างหน้า บางเรื่องอยู่ข้างหลัง เอามากระจายให้สถานบริการอื่นได้รับรู้

เพื่อสร้าง dynamism ของกระบวนการคุณภาพของสถานบริการสุขภาพ

สรพ. เป็นกลไกของการสร้างความเคลื่อนไหวของกระบวนการคุณภาพ เจ้าของคือสถานบริการ มีสิทธิเลือกยุทธศาสตร์... สถานบริการเลือกยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับตนเอง ดำเนินการเพื่อความอยู่รอด อยู่ดี ชื่อเสียงของตนเอง เพื่อแสดง CSR ของตนเอง เพื่อความสุขของสมาชิกและผู้มีส่วนได้เสีย...

อีกกลุ่มที่เป็นเจ้าของคือ stakeholders เจ้าของกระบวนการคุณภาพ - เครือข่ายในระบบสุขภาพ อาทิ กระทรวงสาธารณสุข (รายใหญ่), สปสช./ กรมบัญชีกลาง/ สปส./ บริษัทประกัน, สสส., สวรส./ IHPP/ HITAP/ อื่นๆ, สถานบริการ, ชุมชน/ กลุ่มชน/ ประชาชน, ต่างประเทศ, ระบบคุ้มครองผู้บริโภค ฯลฯ ทุกส่วนคือเจ้าของกระบวนการคุณภาพร่วมกัน

ขบวนการคุณภาพ ไม่ว่าจะของประเทศไหน ต้องมีสมดุลระหว่างแรงกดดัน ความท้าทาย และพลังสร้างสรรค์ พัฒนาต่อเนื่อง แล้วจะเกิดความพอดีหรือ Co-evolution ถ้าสมดุลกันได้จะไปได้ดี ถ้าแรงกดดันมีน้อย พลังสร้างสรรค์ก็จะน้อยไปด้วย... ทั้งหมดเพื่อความเจริญก้าวหน้าของระบบสุขภาพไทย (รวมทั้งตัวเราด้วย)

 

หน้าที่ของ สรพ.คือเข้าไปช่วยให้มีการทำต่อเนื่อง ทำได้ง่ายขึ้น ควรอยู่ข้างสีแดง ๑ ส่วน สีน้ำเงิน ๓ ส่วน ... แทนที่จะทำอยู่หน่วยเดียว... ปีต่อๆ ไปควรหาวิธีวัดความเป็นจริง เพื่อตรวจสอบตัวเอง พลังที่จะช่วยให้ง่าย ที่ใหญ่ที่สุดคือสีน้ำเงิน (ท่านทั้งหลายที่มา share)

ความงดงาม ความดีงามของความหลากหลายของกระบวนการคุณภาพ ปัจจัยสำคัญมีเยอะ ยุบมาเป็น ๒ ส่วน

อาจารย์วิจารณ์กล่าวปิดท้ายว่า "...ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านได้ขับเคลื่อน เห็นความงดงามความดีงามที่ทำอยู่ เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น"

วัลลา ตันตโยทัย

 

หมายเลขบันทึก: 432672เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2011 23:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เอาภาพมาคืนครับ (การคืนข้อมูลให้เจ้าของคือสิ่งที่ต้องส่งคืน)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท