สัมมนาวิธีสอนภาษาญี่ปุ่นสู่ความเป็นเลิศ ปี ๒๕๕๔ ตอนที่ ๓ การสอนการฟัง


ความสำคัญของการเรียนการฟังสำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นในต่างประเทศ

กิจกรรมแรกก่อนเริ่มการสัมมนาช่วงเช้า คือ การเซ็นชื่อลงทะเบียน.... สำหรับการเซ็นชื่อของวันนี้เพียง 2 รอบ/วัน    
        

    
                            

                                                                                2 รอบ/วันเท่านั้น

ต่อจากนั้นเป็นการนำเสนอ เรื่องการสอนการฟัง  โดย อาจารย์อัจฉรา  โหตรภวานนท์ ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 

           
  

        
การสอนภาษาญี่ปุ่น จะเน้นการพัฒนาทั้ง 4 ทักษะ  ผู้เรียนสามารถสื่อสารได้  ต้องการจะเก่งด้านไหน ก็ต้องรับข้อมูล –พัฒนาด้านตรงกันข้าม
         เช่น  ให้ฟังเยอะๆ เด็กจะพูดได้
                 อ่านเยอะๆ จะเก่งการเขียน  นักเขียนที่มีชื่อเสียง ส่วนมากเป็นนักอ่านที่เรียบเรียงความรู้จากคลังสมองที่ได้อ่านสะสมไว้

           
  
      

ประเภทของการฟัง
         การฟังแบบมีปฏิสัมพันธ์โดยตรง
         การฟังแบบไม่มีปฏิสัมพันธ์
         การฟังในชืวิตประจำวัน
         ฟังอย่างมีเป้าหมาย คัดกรองเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น
         ฟังไปพร้อมจินตนาการ  คาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป
         นำเนื้อหาที่ได้ฟังมาเทียบเคียงกับความรู้ที่เป็นภูมิหลังหรือประสบการณ์ของตนเอง
         มีคำศัพท์ที่ไม่รู้จักหรือส่วนที่ฟังจับใจความไม่ได้
         เดาหรือตั้งคำถามจากสิ่งที่ไม่เข้าใจ
         เรียนรู้คำศัพท์ผ่านการฟัง
         แสดงปฏิกิริยา เช่น  แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ฟังมา                   


  

กระบวนการในการฟัง

        การฟัง เป็นกระบวนการนำความรู้ด้านภาษามาใช้ประโยชน์ โดยมีปริบท  สถานการณ์ รวมทั้งความรู้ที่เป็นภูมิหลัง มาเป็นตัวช่วยในการก่อร่างสร้างความหมายจากข้อความที่ได้ฟัง  การที่ฟังไม่เข้าใจในบางส่วนถือเป็นเรื่องปกติ อย่ากังวล  แม้เข้าใจคลุมเครือ เพราะไม่เข้าใจบางคำก็ขอให้อดทน ฟังต่อไป  สาระสำคัญอาจไปอยู่ช่วงท้าย  ขอให้พุ่งเป้าประเด็นที่ต้องการทราบ 
   

   

กลยุทธ์ในการฟัง
กลยุทธ์ที่ 1. การแยกแยะข้อมูล
กลยุทธ์ที่ 2.  การคาดเดาเรื่องล่วงหน้า
                1. นำเสนอตัวช่วยในการคาดเดาเรื่อง ก่อนจะเริ่มกระบวนการฟัง
                   1.1 ภาพวาด รูปถ่าย แผนภูมิ กราฟ 
                   1.2. คีย์เวริ์ด สถานการณ์ ฉาก  ตัวละครที่เกี่ยวข้อง
                   1.3. อ่านข้อความที่เกี่นวข้องกับสิ่งที่จะฟัง
                   1.4 นำวิธีข้างต้นทั้งหมดมาประมวล แล้วตั้งคำถามหรือจัดกิจกรรมที่ช่วยดึงความรู้พื้นฐานหรือการคาดเดาของผู้เรียน
                2. ตั้งคำถาม
                3. ฟังเพื่อตรวจสอบสิ่งที่คาดเดาไว้
กลยุทธ์ที่ 3. การเดาสิ่งที่ไม่รู้
                3.1. คำศัพท์ที่หายไป
                3.2. คำที่หายไป เติมคำ ข้อความในช่องว่าง
                3.3  บทสนทนาที่ให้ได้ยินเฉพาะผู้พูดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
กลยุทธ์ที่ 4 การตรวจสอบตนเอง 
                
ตรวจสอบดูว่าได้รับข้อมูลที่จำเป็นแล้วหรือยัง คาดเดาถูกไหม
กลยุทธ์ ที่ 5 การตั้งคำถาม
               
ตั้งคำถามในสิ่งที่ฟังไม่ทันหรือสอบถามในประเด็นที่ไม่เข้าใจ
กลยุทธ์ ที่ 6 การมีปฏิสัมพันธ์ นำสิ่งที่ฟังมาประมวลเข้ากับประสบการณ์  ความรู้เดิมแล้วแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกหรือประเมินในรูปแบบของการพูดหรือการเขียน   

          
  

 
    ความสำคัญของการเรียนการฟังสำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นในต่างประเทศ
       1.  สื่อสารในชั้นเรียนด้วยภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น
       2.  ให้ฟังเทป ภาพยนต์ที่มีอยู่ซ้ำไป-มา ( โดยไม่เบื่อ) นำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน
       3.   สร้างกลยุทธ์รับมือโดยไม่กลัวภาษาญี่ปุ่นในระดับความเร็วปกติ ที่มักจะรวมสิ่งที่เรายังไม่เข้าใจไว้ด้วย


  

หมายเลขบันทึก: 432668เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2011 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะคุณครูIco48 K.Pually 

มาเยี่ยมและให้กำลังใจ...ขอให้สนุกกับการสัมมนานะคะ

ระลึกถึงค่ะ

 

Ico48 คุณครูใจดีคะ

  ***  ...ฤดูกาลนี้ต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์และเพิ่มอาหารสมองเยอะๆ ก่อนที่จะวุ่นวายกับภาระกิจอื่นๆ และเสื่อมสภาพไปตามกาล.... ขอบคุณนะคะที่มาเยี่ยมชม   *** 

                 
                                                                        

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท