12th. HA National Forum : Beauty in Diversity (4) >>> More Value with Better Management


“กำไร... อยู่ที่หัวใจที่เปี่ยมสุข”

มีผู้รู้เคยกล่าวว่า

ในการบริหารจัดการองค์การ สิ่งสำคัญคือความอยู่รอดและรุ่งเรืองขององค์การ โดยจะอยู่รอดได้ต้องมีคุณภาพ (Quality) ประสิทธิภาพ (Efficiency) และประหยัด (Economy) ส่วนการสร้างความรุ่งเรืองขององค์การนั้น ต้องสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับองค์การคู่แข่งได้ โดยจัดให้มีผลงานที่ดีกว่า (Better) เร็วกว่า (Faster) และถูกกว่า (Cheaper) โดยสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ การจัดการหรือการบริหาร (Management) ที่จะต้องทำให้ “ครบวงจร” ทั้งการวางแผน การจัดองค์การ ภาวะผู้นำ และการควบคุมติดตามประเมินผล (ที่มา : www.gaa-mph.com/index7.php )

จากแนวคิดการบริหารจัดการดังกล่าวมีตัวอย่างของการทำกิจกรรมในโรงพยาบาลในงาน HA National Forum ครั้งที่ 12 ที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้ป่วย ในแนวคิด More Value with Better Management ได้แก่ Synchronize and Synergy โดย รพศ.สุราษฎรธานี และ Trauma Cell Concept: a Practical Lean Management and a Positive Environment Development in the Trauma Ward โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งใช้ Lean เป็นเครื่องมือในการจัดการดังกล่าว ส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยมีคุณภาพ

มีอีกหนึ่งตัวอย่างที่ผู้เขียนฟังแล้วเกิดความประทับใจกับการนำเสนอ นั่นคือ Hidden Patient, Hidden Doctor โดยโรงพยาบาลศุภมิตร ซึ่งมีแพทย์ที่มีความชำนาญในการผ่าตัดต้อกระจก ผลงานนี้เกิดจากแรงบันดาลใจที่อยากให้ความช่วยเหลือชาวชนบทที่อยู่ห่างไกลแพทย์ ซึ่งถึงแม้ตนมีสิทธิในการได้รับการรักษาแต่เพราะความห่างไกลทำให้ไม่สามารถเข้าถึงบริการและใช้สิทธิได้ มูลนิธิศุภมิตรร่วมใจจึงร่วมมือกับ สปสช.ให้บริการผ่าตัดต้อกระจก

โดยมีเป้าหมาย 3 ประการคือ

  1. ต้องมีคุณภาพ
  2. ต้องไม่มีคิว ได้ผ่าทันที
  3. ไม่เรียกเก็บเงินจากคนไข้หรือหน่วยบริการอื่น

มีการส่งบุคลากรลงพื้นที่เพื่อออกตรวจและนำเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดหากจำเป็น เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยมาก

กลยุทธ์ที่ใช้คือการปรับวิธีการเข้าหาเป้าหมายและให้ทุกคนมีส่วนร่วม

“... คำถามที่เกิดขึ้นเสมอ รพ.ศุภมิตรทำแล้วได้อะไร...”

คำตอบที่ได้คือ

...บุคลากรทุกฝ่ายทำงานได้ด้วยความสบายใจ มีความพอใจในการให้บริการ เพราะเห็นว่าสิ่งที่ทำทุกวันนั้นเห็นผลได้อย่างชัดเจนคือ การช่วยให้คนแก่คนเฒ่า คนชรา คุณตาคุณยายตามบ้านนอกได้มองเห็นลูกเห็นหลาน ได้หุงหาข้าวปลากินเองได้ ได้ใช้ชีวิตที่มีคุณภาพตามสมควร แน่นอนว่าผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินนั้นย่อมต้องได้รับตามความเหมาะสม หากแต่ตัวเงินนั้นไม่ช้าก็คงจะใช้หมดไป แต่ผลตอบแทนทางจิตใจ ไม่รู้ว่าเมื่อใดจึงจะใช้หมด...

 

และคำตอบที่ผู้เขียนช่วยตอบภายหลังจบการบรรยายคือ “สุขใจที่ได้ทำ...”

“กำไร... อยู่ที่หัวใจที่เปี่ยมสุข” ของทีมโรงพยาบาลศุภมิตร

หมายเลขบันทึก: 432671เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2011 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท