วิตามิน D น้อยๆบ่อยๆดี [EN]


จุลสารเว็บไซต์อาจารย์หมอเกบ เมียคิน ตีพิมพ์เรื่อง 'Is it safer to take daily small doses of vitamin D or occational large doses? [ Dr.Gabe Mirkin's Ezine]' = "กินวิตามิน D ขนาดต่ำทุกวัน กับขนาดสูงนานๆ ครั้ง แบบไหนปลอดภัยกว่า", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
  • [ dose ] > [ โด้ส - s ] > http://www.thefreedictionary.com/dose > noun, verb = ให้ยา ปริมาณยา (มักจะหมายถึงต่อ 1 ครั้ง/มื้อ), ขนาดยา (คนไทยมักจะเรียกว่า "โด๊ส")
  • คำนี้มาจากภาษาละติน เดิม = something given = ของที่ได้ให้ (กับใครบางคน)

การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า การกินวิตามิน D ขนาดสูง เช่น 50,000 หน่วยยูนิต (units) 1 ครั้ง/ปี ฯลฯ เพิ่มเสี่ยงต่อการหกล้ม และกระดูกหักในผู้หญิงอายุเกิน 70 ปี

กลไกที่อาจเป็นไปได้ คือ การกินยา-วิตามิน-อาหารบางอย่างขนาดสูงจะทำให้ร่างกายปรับตัวดูดซึมสารนั้นๆ ลดลงในมื้อต่อๆ ไป ทำให้ระดับสารนั้นลดลงเร็ว
.
การศึกษาอื่นๆ พบว่า การกินวิตามิน D ขนาดต่ำ เช่น วิตามินรวม 1 เม็ด/วัน (ส่วนใหญ่มีวิตามิน D อยู่แล้ว ดูได้จากฉลากยา) ฯลฯ ทำให้ระดับวิตามิน D เฉลี่ยสูงกว่าการกินขนาดสูงนานๆ ครั้ง เช่น ทุกเดือน ฯลฯ
.
ร่างกายคนเราได้รับวิตามิน D ส่วนใหญ่จากการสังเคราะห์ที่ผิวหนัง โดยการออกไปรับแดดอ่อนตอนเช้า-เย็น 15 นาที/วัน ซึ่งควรหลีกเลี่ยงการทายากันแดด และไม่สวมเสื้อผ้าปกปิดมากเกินไป เช่น ใส่เสื้อบางๆ แขนสั้น กางเกงขาสั้น ฯลฯ และจะดีมากถ้าออกแรง-ออกกำลังไปด้วย
.
การศึกษาหลายรายงานพบว่า วิตามิน D ไม่ได้ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรงอย่างเดียว ทว่า... มีตัวรับวิตามิน D ในเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาใหม่ที่พบว่า ภาวะขาดวิตามิน D ทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง เป็นไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย
.
แพทย์แผนจีนท่านหนึ่งแนะนำให้ออกไปรับแดดอ่อนตอนเช้า และให้หันฝ่ามือไปทางพระอาทิตย์ นัยว่า เพื่อเสริม เพิ่มพลังชีวิต
.
ส่วนคนอินเดียหลายท่านเชื่อว่า พลังจากพระอาทิตย์จะเข้าสู่ร่างกายตอนเช้าจนถึงเที่ยง และไหลออกตอนเย็น, เช้าๆ จึงต้องอาบน้ำ และออกไปรับแดดอ่อน
.
ปัญหาที่ตามมานิดหน่อย คือ คนอินเดียหลายท่านไม่อาบน้ำตอนเย็น เพราะพลังชีวิตจากพระอาทิตย์จะ "รั่ว" ไหลออกไปพร้อมกับการอาบน้ำ... เรื่องนี้อาจจะถูกใจหลายๆ ท่านที่ไม่ชอบอาบน้ำตอนเย็น (โปรดใช้วิจารณญาณของท่านประกอบการตัดสินใจ)
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

 > [ Twitter ]                             

  • Thank Dr. Gabe Mirkin > JAMA, May 12, 2010; Am J Clin Nutr. 2007;85:1565-1571;
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 16 มีนาคม 2554.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 432168เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2011 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท