รังสีรั่วญี่ปุ่น-น่ากลัวมากไหม [EN]


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Special report: Radiation fears may be greatly exaggerated' = "รายงานพิเศษ: ความกลัวรังสีอาจมากเกินจริง", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ 
  • [ report ] > [ หรี่ - พอท - t] > http://www.thefreedictionary.com/report > verb, noun = รายงาน บันทึก ข่าวลือ ฟ้องร้อง
  • reporter (noun) = ผู้สื่อข่าว
ข่าวโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขัดข้องหลังซึนามิ-แผ่นดินไหวทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ทำให้เกิดการตื่นตระหนกข้ามมหาสมุทรแปซิฟิคไปยังสหรัฐฯ มีการซื้อยาเม็ดไอโอดีนมากักตุนไว้ และทำอะไรๆ อีกมากมาย
.
ศ.ดร.เจอโรลด์ บุชเบิร์ก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขารังสีรักษา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ดาวิส สหรัฐฯ กล่าวว่า โลกเรารู้จักพิษสงของรังสีดีจากเหตุการณ์ระเบิดปรมาณูถล่มฮิโรชิมะและนางาซากิเมื่อ 66 ปีก่อน
.
เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้คนเสียชีวิตและเจ็บป่วยมากมาย ทำให้คนส่วนใหญ่จะกลัวรังสี (นิวเคลียร์ - ปรมาณู) เกินจริง ทว่า... ความเสี่ยงจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะรั่วไหลมีน้อยกว่านั้นมาก
.
เรื่องที่น่ารู้ คือ คนบนโลกใบนี้ไม่มีทางหนีรังสีได้พ้นเลย เนื่องจากโลกเรามีรังสีคอสมิคมาจากนอกโลกพุ่งสู่โลกตลอดเวลา โดยเฉพาะจากดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ และการระเบิดของดวงดาว
.
ถ้าจะหนีรังสีคอสมิคให้ดีจริงๆ ก็ต้องลงไปในเหมืองลึกๆ ใต้ดิน ซึ่งจะเสี่ยงตายจากเหมืองถล่ม น้ำท่วม ความเครียด โรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นจากการอยู่ในที่ไกลโพ้น (ไม่ได้พบปะผู้คนมากเท่าเดิม)
.
คนที่มีโอกาสได้รับรังสีคอสมิคเพิ่มเล็กน้อยเป็นคนที่ใช้ชีวิตแบบ "สูงส่ง" หรืออยู่เหนือระดับน้ำทะเลมากๆ โดยเฉพาะนักบิน พนักงานบนเครื่องบิน คนที่โดยสารเครื่องบินบ่อย หรือบินไกล (เช่น บินข้ามทวีป ฯลฯ)
.
โลกเรามีแหล่งสารกัมมันตรังสีเล็กน้อยปนอยู่ในอาหาร-น้ำ-ดิน-หรือลอยมาตามลม (ปนในฝุ่นละออง) ซึ่งไม่มีทางหนีได้พ้น
.
ถ้าหยุดหายใจ หยุดกินอาหาร และหยุดดื่มน้ำอาจทำให้ได้รับรังสีจากสิ่งแวดล้อมน้อยลง ซึ่งนั่นก็เป็นไปไม่ได้ (ยกเว้นจะเสียชีวิตไปก่อน)
.
เรื่องแรกที่น่ารู้ คือ คนเราจะได้รับรังสีจากสิ่งแวดล้อมประมาณ 1-10 มิลลิซีเวิร์ท (millisieverts)/ปี และถ้าใช้ชีวิต "สูงส่ง" หรือขึ้นเครื่องบินบ่อยๆ จะได้รับโบนัสรังสีเพิ่ม 2.4 มิลลิซีเวิร์ท
.
ปริมาณรังสีพื้นฐาน หรือเบื้องหลังการถ่ายทำ (background radiaion / BR) จะทำให้คนเรามีความเสี่ยงมะเร็งจากรังสีตลอดชีวิต = 1/100 หรือ 100 คนเป็นมะเร็งจากรังสี 1 คน
.
ปริมาณรังสีที่โตเกียว ซึ่งอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ 240 กิโลเมตรมีระดับรังสีเพิ่มเป็น 10 เท่าของค่าปกติ = 0.809 มิลลิซีเวิร์ท/ชั่วโมง = น้อยกว่า 1/1,000 ซีเวิร์ทต่อชั่วโมง
.
ปริมาณรังสีที่โตเกียวตอนนี้ = น้อยกว่า 1/10 ของการเอกซเรย์ปอด 1 ครั้ง หรือถ้าอยู่ตรงนั้น 10 ชั่วโมงก็ยังเสี่ยงน้อยกว่าเอกซเรย์ปอด 1 ครั้ง
.
ความเสี่ยงของการเอกซเรย์ปอด 1 ครั้งมีค่าใกล้เคียงกับการได้รับควันบุหรี่ 2 มวน ซึ่งคนเราอาจได้รับมากกว่านี้จากการเข้าไปในห้องแอร์ที่มีคนสูบบุหรี่ เช่น ไนท์คลับ ผับ บาร์ ฯลฯ
.
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีมะเร็งกระเพาะอาหารสูง ซึ่งปัจจัยกระตุ้นส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการกินเกลือ หรืออาหารประเภท "ปิ้ง-ย่าง" มากขึ้น
.
ญี่ปุ่นเป็น 1 ในประเทศที่มีการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงมะเร็งสูง (และต้องรวย เพราะค่ารักษาพยาบาลในญี่ปุ่นไม่ฟรี) ด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
.
ศ.ดร.ริเชิร์ด เวคฟอร์ด ผู้เชี่ยวชาญสาขาระบาดวิทยา (การตรวจหาการระบาด, สถิติทางการแพทย์-สาธารณสุข) จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ อังกฤษ (UK) กล่าวว่า
.
ปริมาณรังสีรวมที่คนญี่ปุ่นได้รับตอนนี้ต่ำกว่าการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็ง (เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร ฯลฯ) ของคนรวยญี่ปุ่น ซึ่งได้รับรังสีประมาณ 10 มิลลิซีเวิร์ท
.
ภาพรวมของอันตรายจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะรั่วไหลตอนนี้ คือ อันตรายจากฝุ่นละอองสารกัมมันตภาพรังสีมีน้อยมาก ส่วนใหญ่ลมพัดไปตกในมหาสมุทรแปซิฟิค ซึ่งถ้าข้ามมหาสมุทรได้... ส่วนใหญ่จะขึ้นฝั่งที่สหรัฐฯ
.
ฝุ่นละอองสารรังสีตกลงในทะเลส่วนหนึ่งจะถูกดูดซับเข้าสู่หญ้าทะเล-สาหร่ายทะเล ซึ่งตรงนี้น่าจะน้อย เนื่องจากญี่ปุ่นอยู่ใกล้ทะเลเปิด ทำให้น้ำจากมหาสมุทรช่วยทำให้สารรังสีเจือจางได้มาก
.
ฝุ่นละอองสารรังสีอีกส่วนหนึ่งจะตกลงสู่ต้นไม้ใบหญ้า วัวอาจกินเข้าไป ทำให้สารรังสีออกมาทางน้ำนม และสะสมในเนื้อวัว
.
ตรงนี้เป็นโอกาสแห่งการพัฒนาสินค้าไทย โดยการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนม ดื่มนมไขมันต่ำ และกินเนื้อในประเทศแทน
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ               
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 21 มีนาคม 2554.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 432164เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2011 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 02:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตามทฤษฎี มนุษย์เราอาจยืนอยู่บนโลกได้นานพอท้าไร้ รังสีเช่นเิกณ์อายุ 80 - 100 ถ้าค้นพบวิธียืดเซลล์ได้จะอาจจะอายุยืนถึง 130 -140 หรือบริโภคไอโอดีนทุกวันๆ แต่นี้เป็นแค่ทฤษฎีที่นักวิจัยค้นพบแต่ไม่รู้ว่าจะยือดเซลล์ด้วยวิทีไหน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท