แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

วิธีฝึกเปล่งเสียง "โอม" ตามตำราโยคะสูตร (๒/๓)



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

บันทึก -(๑/๓)-


วิธีฝึกเปล่งเสียง "โอม" ตามตำราโยคะสูตร
(๒/๓)

วีระพงษ์ ไกรวิทย์ (ครูโต้) และ
จิรวรรณ ตั้งจิตเมธี (ครูจิ)
แปลและเรียบเรียง

คอลัมน์ ; ตำราโยคะดั้งเดิม
โยคะสารัตถะ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

คำว่า ภาวนัม หรือ ภาวนา มาจากคำกริยาที่มีรากศัพท์ว่า ภู หมายถึง กลายเป็น คำว่าภาวนาจึงหมายถึงการกลายเป็นโดยจิต หรือการเปลี่ยนแปลงทางจิต ดังนั้นคำว่า "ตทรรถภาวนัม" จึงหมายถึง พยายามเปลี่ยนไปสู่ประณวะหรือเสียงโอม กล่าวคือ ให้จิตเปลี่ยนไปสู่เสียงโอม หรือให้จิตเป็นหนึ่งเดียวกันกับเสียงโอม หรือให้จิตมีรูปเดียวกันกับเสียงโอม คำว่า ภาวนัม หรือ ภาวนา ในปตัญชลีโยคะสูตรมีความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า ภาวนะ ในอายุรเวท ที่ใช้วิธีการเยียวยารักษาแบบซ้ำๆ เพื่อให้เกิดการชำระล้างและมีผลในการระงับอาการเฉียบพลัน หรือการบรรเทา หรือการรักษาโรค ดังนั้นชปะหรือการสวดโอมแบบซ้ำๆ ต่อเนื่องจึงให้ผลเช่นเดียวกับการเยียวยาแบบซ้ำๆ ไปที่จิตใจ และขจัดของเสียในจิตเพื่อให้เกิดการชำระล้างจิต ทำให้จิตสามารถก้าวขึ้นไปและเข้าถึงภาวะที่ตระหนักรู้ความจริง การสวดโอมซ้ำๆ แบบนี้จึงเป็นวิธีการหลอมรวมจิตเข้าสู่ภาวะที่สูงขึ้นของการจดจ่อในระดับ ธยานะและสมาธิ[1] (Dhyana and Samadhi)

การแปลความหมายของประโยคนี้ในแบบที่สองคล้ายคลึงกับวิธี นาทานุสันธานะ ในหฐโยคะโดยเฉพาะที่กล่าวถึงในหฐประทีปิกา (บทที่ ๕ ประโยคที่ ๘๑-๘๙ และ ๑๐๕-๑๐๖) ซึ่งเทคนิคที่กล่าวถึงนี้สามารถนำไปสู่ธยานะและสมาธิได้โดยตรง และดังนั้นประณวะ ชปะ(หรือการสวดโอมซ้ำๆ) จึงกลายเป็นวิธีที่สำคัญและให้ผลดี หรือเป็นการพัฒนาไปตามวิถีแห่งโยคะ การฝึกชปะหรือสวดเสียงโอมซ้ำๆ ทำได้ ๓ วิธี ๑) ไวขริ คือ การเปล่งเสียงให้สามารถได้ยินือนจะมีแนวคิดทั้งที่แสดงไว้ชัดเจนและเป็นนัยยะว่า พระเป็นเจ้าปรากฏตัวค ๒) อุปามศุ คือ การออกเสียงในระดับเสียงกระซิบโดยผู้ออกเสียงได้ยินเพียงคนเดียว ๓) มานสะ (ในใจ) คือ เปล่งเสียงในใจโดยปราศจากการสร้างเสียงใดๆ

การฝึกชปะเริ่มต้นด้วยการฝึกเปล่งเสียงแบบไวขริเป็นเวลานานสักระยะหนึ่งด้วยการใส่ใจกับการออกเสียงของตัวอักษร (วรรณะ[1]) ให้ถูกต้อง ชัดเจน และมีสำเนียงที่ถูกต้องด้วย การเปล่งเสียงมันตระได้อย่างถูกต้องนั้นจะต้องได้รับการยืนยันโดยผู้เชี่ยวชาญหรือครูผู้มีความชำนาญในการท่องมันตระได้อย่างถูกต้องตามขนบประเพณีมานาน จากนั้นผู้ฝึกก็ก้าวขึ้นไปฝึกการเปล่งเสียงแบบอุปามศุ และหลังจากฝึกจนเชี่ยวชาญแล้วผู้ฝึกก็จะขยับไปสู่การฝึกเปล่งเสียงแบบมานสะ แต่สิ่งหนึ่งที่มีร่วมกันในการฝึกเปล่งเสียงทั้ง ๓ แบบและเป็นสิ่งสำคัญมากหรืออาจจะสำคัญที่สุดที่ผู้ฝึกต้องมีอยู่ในใจก็คือ ผู้ฝึกควรจะฝึกซ้ำจนเกิดผลสำเร็จสักสองครั้ง และรอคอยอย่างอดทนสักระยะหนึ่งโดยไม่ได้ตั้งใจทำสิ่งใด เพียงแต่คอยเฝ้าสังเกตเพื่อที่จะได้ยินเสียงมันตระเกิดขึ้นเองจากแหล่งกำเนิดอันลึกลับที่เรียกว่า "อนาหตนาทะ" (เสียงซึ่งเกิดขึ้นโดยปราศจากสิ่งที่กระทบกันให้เกิดเสียงเหมือนกับเสียงอื่นๆ ที่เรามักจะได้ยินกันโดยทั่วไป) หากผู้ฝึกฝึกชปะด้วยความตั้งใจ สม่ำเสมอ และเพียรพยายาม ในไม่ช้าเขาจะบรรลุถึงขั้นที่เมื่อหยุดการสวดมันตระทั้งแบบออกเสียงหรือแบบในใจแล้ว เขาจะได้ยินเสียงมันตระซึ่งไม่ได้เกิดจากการเปล่งเสียงด้วยตนเอง แต่เสียงนั้นมาจากแหล่งกำเนิดอันลึกลับที่อาจเป็นจักรวาล ครั้นเมื่อผู้ฝึกสามารถได้ยินเสียง อนาหตนาทะ จิตของเขาก็จะถูกชักนำไปสู่ประสบการณ์อันน่าพึงพอใจมาก ดังนั้นจิตจะง่ายต่อการหลอมรวมกับเสียงจากแหล่งกำเนิดอันลึกลับและเข้าสู่ภาวะระดับลึกของธยานะและสมาธิ

[1] ธยานะและสมาธิ คือ มรรควิถีของการฝึกโยคะในขั้นที่ ๗ และ ๘ ของมรรค ๘ ในปตัญชลีโยคะสูตร

[ อ่านต่อ -(๓/๓)- ]



มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 432156เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2011 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2015 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท