แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

วิธีฝึกเปล่งเสียง "โอม" ตามตำราโยคะสูตร (๓/๓)



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ

บันทึก -(๑/๓)-;-(๒/๓)-


วิธีฝึกเปล่งเสียง "โอม" ตามตำราโยคะสูตร

(๓/๓)

วีระพงษ์ ไกรวิทย์ (ครูโต้) และ
จิรวรรณ ตั้งจิตเมธี (ครูจิ)
แปลและเรียบเรียง

คอลัมน์ ; ตำราโยคะดั้งเดิม
โยคะสารัตถะ พฤศจิกายน ๒๕๕๒

การสวดเสียงโอมไม่ทำให้จิตใจไขว้เขวได้ง่ายซึ่งต่างจากการสวดมันตระอื่นที่ผู้ฝึกอาจจะไขว้เขวไปกับความหมายและเสียงของมันตระเหล่านั้น กล่าวได้ว่าการสวดเสียงโอมจะช่วยให้จิตหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับเสียงโอมและช่วยให้เกิดความตั้งมั่นของจิตจนเข้าสู่ภาวะของสมาธิได้ง่าย

จริงๆ แล้วเสียงโอมมาจากสองพยางค์คือ โอ และ ม บางครั้งก็เขียนว่า โอม หรือ โอ...ม... ในการเปล่งเสียงโอมแบ่งออกเป็น ๓ วิธีดังนี้คือ

๑. ออกเสียงเท่ากันทั้งสองพยางค์ หรือ โอ.....ม.....

๒. ออกเสียงพยางค์แรก (โอ) ยาวกว่าพยางค์ที่สอง (ม) หรือ โอ.................ม.....

๓. ออกเสียงพยางค์ที่สอง (ม) ยาวกว่าพยางค์แรก (โอ) หรือ โอ.....ม.................

การเปล่งเสียงทั้ง ๓ รูปแบบนี้เป็นการเปล่งเสียงที่ได้รับความนิยม โดยปกติการออกเสียงมันตระนี้จะกระทำด้วยความช้าและค่อนข้างยาว ดังนั้นเมื่อออกเสียง โอ จึงไม่ได้ออกเสียงอย่างเร่งรีบและสั้นมาก แต่จะออกเสียงยาวถึง ๒ หรือ ๓ มาตรา (๑ มาตรา หมายถึงช่วงเวลาของการเปล่งเสียงปกติซึ่งง่ายและสั้น เช่น โอ หรือ ม) มีข้อสังเกตว่าผู้ฝึกบางคนเปล่งเสียงโอมอย่างรวดเร็วและสั้นมาก หรือเป็นการออกเสียงโดยไม่ได้เว้นช่องว่างระหว่างสองพยางค์ (คือออกเสียงโอ กับ ม ติดกันเลย) ซึ่งครูผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายก็มักจะไม่แนะนำให้สวดโอมเช่นนี้

จากการสวดทั้ง ๓ รูปแบบดังกล่าวข้างต้นนั้น ครูจำนวนมากแนะนำให้ผู้ฝึกฝึกเปล่งเสียงในรูปแบบที่ ๓ (คือออกเสียง โอ สั้น และ ม ยาว) ซึ่งถือว่าเป็นแบบที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่ต้องการความก้าวหน้าและปลุกจิตให้ตื่น ส่วนการเปล่งเสียงอีกสองแบบนั้นกล่าวกันว่าใช้สำหรับผู้ที่ต้องการได้รับประโยชน์โดยทั่วไป (เช่นการหลอมรวมจิตเข้ากับเสียงโอมทำให้เกิดสมาธิ – ผู้แปล)

การเปล่งเสียง โอ ในแบบที่ ๓ จะลากเสียงให้ยาว ๓ มาตรา (หรือประมาณ ๒ ถึง ๓ วินาที) จากนั้นต่อด้วยเสียง ม ที่เกิดจากริมฝีปาก-จมูก แต่เมื่อปิดริมฝีปากสนิทเสียง ม (ซึ่งฟังคล้ายเสียง อึมมมม.......) จะถูกลากยาวนานเท่าที่เป็นไปได้ขึ้นอยู่กับความยาวของลมหายใจออกของผู้ฝึก อย่างไรก็ตามการลากเสียง อึมมมม.......นี้ไม่ควรลากยาวเกินไปจนกระทั่งผู้ฝึกเกิดความรู้สึกอึดอัดไม่สบายขึ้น อันที่จริงแล้วหลังจากเสียงค่อยๆ เบาบางและจางหายไป ผู้ฝึกควรจะพักสงบสั้นๆ สักครู่หนึ่งโดยไม่เกิดความรู้สึกเร่งรีบที่จะหายใจเข้าในรอบถัดไป ดังนั้นจึงควรควบคุมการเปล่งเสียง โอม ให้ยาวขึ้นอย่างเหมาะสมโดยยังคงความรู้สึกสบาย ในการเปล่งเสียง ม หรือ อึมมมม....... ให้ยาวผ่านทางจมูก(เสียงขึ้นทางจมูก) จะมีการหายใจออกที่ลึกและยาวเรียกว่า ทีรฆะ-มันทะ-เรจกะ หลังจากหายใจออกจนสุดผู้ฝึกจะหยุดหายใจเป็นการหยุดหายใจแบบภายนอกซึ่งเรียกว่า พาหยะ กุมภกะ (Bahya Kumbhaka) ในภาวะเช่นนี้หูของผู้ฝึกจะมีความรู้สึกไวต่อการรับรู้ความสั่นสะเทือนของเสียงที่ละเอียดที่สุดได้ ดังนั้นหากผู้ฝึกสามารถดำรงสภาวะผ่อนคลายในช่วงหยุดหายใจแบบภายนอกด้วยทัศนคติที่ตั้งใจรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ ผู้ฝึกก็จะได้ยินเสียงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจากแหล่งกำเนิดอันลึกลับ (เสียงอนาหตะ) ระยะเวลาในการฝึกเพื่อให้เกิดความก้าวหน้านั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลซึ่งอาจกินเวลาเป็นหลายเดือนหรือหลายปี อย่างไรก็ตามโยคะเป็นเส้นทางเดินที่ต้องอาศัยความอดทน ผู้ฝึกที่มีความอดทนและเพียรพยายามจะได้รับผลอันน่าพึงพอใจ ครั้นเมื่อเขาได้ยินเสียงอนาหตะหรือเสียงโอมที่เกิดขึ้นเองแล้ว การก้าวไปสู่ภาวะที่สูงมากในขั้นธยานะและสมาธิจะเป็นไปอย่างราบรื่นและง่ายดาย

เอกสารอ้างอิง :

๑) Karambelkar, P. V. (1986). PATANJALA YOGA SUTRAS Sanskrta Sutras with Transliteration, Translation & Commentary. Lonavla : Kaivalyadhama.

๒) Philosophico Literary Research Department, (1991). Yoga Kosa. Lonavla : Kaivalyadhama.



มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขต บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์ 02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

หมายเลขบันทึก: 432174เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2011 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2015 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท