เรียนรู้เรื่องการทำพาสปอร์ตราชการ


ซึ่งก็เป็นสิ่งที่แสดงว่าไม่มีอะไรที่สมบูรณ์เพียบพร้อม(รวมทั้งคนด้วย)ที่จะเอามาทำอะไรได้สำเร็จทุกอย่าง จึงทำให้เราต้องช่วยกันทำเป็นทีม เครื่องมือก็เช่นกันไม่มีอะไรแค่ชิ้นเดียวแล้วทำได้ทุกเรื่อง เหมือนกับที่มีคำพูดของฝรั่งเขาว่า No body is perfect,but Team can be. แสดงให้เห็นว่าWE สำคัญกว่าME

วันนี้ 23 กันยายน หลังจากตื่นมาตรวจคนไช้ในตึกแต่เช้ากว่าจะเสร็จภาระกิจก็ประมาณ 9 โมงเช้า ก็ได้เดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่เพื่อไปทำพาสปอร์ตราชการเพื่อไปดูงานต่างประเทศ ทราบข่าวว่าเชียงใหม่น้ำท่วมก็เลยให้คนขับรถใช้รถขับเคลือนสี่ล้อไปเผื่อจะต้องลุยน้ำ ปรากฎว่าน้ำที่เชียงใหม่เริ่มลดลงแล้ว ยิ่งแถวแม่ริมที่ต้องไปติดต่อราชการยิ่งไม่มีน้ำท่วมเลย ก็เป็นการคาดการณ์ผิดของผม ถ้าเชื่อคนขับรถเขาจะเอารถเก๋งไปก็เลยต้องนั่งแบบกระทบกระเทือนไปกลับ 6 ชั่วดมง เล่นเอาปวดเมื่อยไปเหมือนกัน นี่ขนาดเราเป็นคนนั่ง ถ้าเป็นคนขับคงจะเมื่อยแขนน่าดู ถ้าเชื่อคนขับรถเราก็จะได้นั่งไปสบายๆ ในทางการจัดการความรู้เขาจึงบอกว่าคนที่รู้จักงานและรู้ว่าจะทำอย่างไรงานจึงจะสำเร็จมากที่สุดก็คือเจ้าของงานผู้ปฏิบัติหรือคุณกิจนั่นเอง รถขับเคลื่อนสี่ล้อนี่จะเป็นประโยชน์มากเมื่อต้องขึ้นไปออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่บนภูเขา ยิ่งหน้าฝนนี่ขาดไม่ได้เลย ผมเคยนั่งรถไปกับทีมงานไปออกหน่วย พอสว.ที่บ้านลีซอ เป็นทางขึ้นเขาชันแบบถนนลูกรังที่เป็นหลุ่มลึก เรียกว่าต้องหาที่ยึดอย่างดี บางคนถึงกับนั่งหลับตาไปเลยเพราะหวาดเสียวกับการมองเหวที่อยู่ข้างๆ มีครั้งหนึ่งรถไถลจากกำลังขึ้นดอยปัดไปปัดมากลายเป็นเอาหน้าลงดอยไป ก็เรียกว่าตื่นเต้นกันสุดๆเลย การใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ(รุ่นของโรงพยาบาลบ้านตาก)มาวิ่งทางราบระยะไกลๆจะไม่ค่อยเหมาะ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่แสดงว่าไม่มีอะไรที่สมบูรณ์เพียบพร้อม(รวมทั้งคนด้วย)ที่จะเอามาทำอะไรได้สำเร็จทุกอย่าง จึงทำให้เราต้องช่วยกันทำเป็นทีม เครื่องมือก็เช่นกันไม่มีอะไรแค่ชิ้นเดียวแล้วทำได้ทุกเรื่อง เหมือนกับที่มีคำพูดของฝรั่งเขาว่า No body is perfect,but Team can be. แสดงให้เห็นว่าWE สำคัญกว่าME

         ผมไปถึงเชียงใหม่เที่ยง 45 ออกเดินทาง 09.45 ก็ใช้เวลา 3 ชั่วโมงเต็ม ถ้าเป็นสมับโบราณคงใช้เวลาเป็นเดือนๆ ไปที่ศูนย์ราชการเชียงใหม่ พนักงานที่คอยแจกบัตรเป็นผู้ชายแต่หน้าตายิ้มแย้มและแนะนำทางอย่างสุภาพด้วยภาษาเหนือ พอเข้าไปที่ออกหนังสือเดินทาง กรมการกงศุล ก็ได้ไปซักถามที่เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ก็เป็นผู้หญิงหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส พูดจาไพเราะ ผมคิดว่าที่เชียงใหม่น่าจะคนไม่มากเท่าที่กรุงเทพฯ ผมมีประสบการณ์ไปทำพาสปอร์ตที่กรุงเทพฯ 3 ครั้ง ทำเอง 2 ครั้งและไปเป็นเพื่อภรรยา 1 ครั้ง ไปถึง 7 โมงเช้าคนเต็มเลยต้องเข้าแถวกันยาวแต่เป็นการทำแบบท่องเที่ยว คราวนี้เป็นแบบราชการ ที่เชียงใหม่เองคนมาทำหนังสือเดินทางก็ไม่น้อยเลย คิวตอนผมไปถึงบ่ายโมงเขาให้บริการไปแล้ว 600 คิว ถ้าทำที่กรุงเทพฯประมาณ 2-3 วันทำการ แต่ที่เชียงใหม่จะเป็น 8 วันทำการ สำหรับคนที่ทำแบบราชการจะมีช่องต่างหากแยกออกไปเพื่อตรวจสอบเอกสารที่ต้องใช้คือหนังสือจากหน่วยงานผู้ให้ทุนถึงกระทรวงต่างประเทศ สำเนาอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา สำเนาบัตรข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้าน ผมก็เตรียมไปครบตามนั้นแต่ที่สำคัญต้องเอาตัวจริงไปแสดงด้วย น้องเจ้าหน้าที่ที่มารับเอกสารก็เป็นน้องผู้หญิงที่อัธยาศัยดี พูดเพราะ ใช้เวลาตรวจสอบเอกสารประมาณ 1 ชั่วโมง โดยเฉพาะใบอนุมัติให้ไปราชการต่างประเทศ ของผมอนุมัติโดยนายแพทย์สาฑารณสุขจังหวัดตากปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดตาก น้องเขาก็สงสัยและบอกว่าต้องเป็นจากปลัดกระทรวงเท่าน้น ก็ต้องอธิบายและเขาก็ไปค้นระเบียบต่างๆอยู่นาน โทรปรึกษาใครก็ไม่รู้อีกพักหนึ่ง ขอดูบัตรประชาชนตัวจริงและให้ไปถ่ายสำเนาบัตรประชาชนอีก(ทั้งๆที่ผมก็มีสำเนาและตัวขริงบัตรข้าราชการอยู่แล้ว) จนผมเริ่มรู้สึกอึดอัด(คิดในใจว่าจะให้ทำไหมเนี่ย) สุดท้ายเขาก็รับเอกสารและจัดคิวให้อย่างรวดเร็ว แต่แม้จะให้เรารอนานน้องเขาก็พูดดี ใส่ใจและให้ข้อมูลเพิ่มเติมตลอดว่ากำลังทำอะไรกับเอกสารของเราอยู่ ทำให้การรอนานนั้นลดความหงุดหงิดลงไปได้ พอได้คิวก็ไปเขียนเอกสารเพิ่มเติมเล็กน้อย แล้วก็สแกนลายมือนิ้วชี้ขวาซ้ายลงบนเครื่องซึ่งผมว่าดีกว่าการปัมลายมือเพราะไม่ต้องล้าง ไม่เลอะเทะอแล้วก็ถ่าบรูปด้วยกล้องดิจิตอลยี่ห้อแคนนอน 4 ล้านพิกเซล ตอนที่ผมนั่งรอผมก็ดูแต่ละจุดเขาทำงานมีอยู่ 7 ช่องที่รับถ่ายรูป บางช่องถ่ายเสร็จเขาจะให้ลูกค้าดูก่อนว่าพอใจไหม แต่ของผมเขาไม่ได้ให้ดูก็เลยไม่รุ้ว่าเป็นอย่างไร เดี๋ยวได้พาสปอร์ตมาก็รู้ เท่าที่ผมสังเกตดูอยู่เกือบ 2 ชั่วโมง จะเห็นว่าพนักงานจะพูดกับลูกค้าดี ใส่ใจแต่ที่เห็นเหมือนกันอย่างหนึ่งคือไม่ค่อยยิ้ม แต่ก็สีหน้าธรรมดาไม่ได้บึ้งตึงขึ้งโกรธ ผมก็มานั่งนึกถึงตัวเองเวลาเราตรวจคนไข้เยอะๆเราก็พูดกับคนไข้ดีแต่หน้าก็ไม่ค่อยยิ้มเหมือนกันเพราะงานยุ่งๆก็มานึกดูแล้วคงเหมือนๆกันกำลังทำงานที่ต้องไม่ให้ผิดพลาดต้องใช้สมาธิจะมามัวยิ้มได้ไง เวลาไปธนาคารเขาก็ยังไม่ค่อยยิ้มเลย แต่ถ้าเป็นเด็กๆมาทำพาสปอร์ตเขาก็ยิ้มและพูดเล่นช่างเอาใจเด็กดีเหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าจะเอามาใช้ได้ในโรงพยาบาลก็คือเมื่อต้องให้คนไข้รอหรือญาติรอ หากเราให้ข้อมูลเขาเป็นระยะๆก็จะลดความหงุดหงิดได้เพราะเขารู้ว่าการรอคอยของเขามีความหมาย รู้ว่าเพราะอะไร หรือเวลาคนไข้เข้าห้องคลอดหรือห้องผ่าตัด ญาติรอเต็มหน้าห้องเข้าไปไม่ได้ หากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลคอยออกมาบอกเป็นระยะๆว่าญาติเขาเป็นอย่างไรบ้างก็จะช่วยลดความกระวนกระวายใจจากการรอคอยของเขาไปได้ นี่ก็เป็นตัวอย่างเหตุการณ์หนึ่งที่ธรรมดาๆในชีวิตแต่หากเราคิดและเรียนรู้ก็จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานของเราได้

หมายเลขบันทึก: 4319เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2005 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
เปิ้ล สนง.หนังสือเดินทางเชียงใหม่

เป็นความบังเอิญที่มาเจอบทความนี้

ดูจากวันที่สร้าง 23/9/2548 นานเหมือนกันนะคะ

แต่ยังไงต้องขอขอบคุณ คุณหมอที่เข้าใจเจ้าหน้าที่ค่ะ เลยไม่ค่อยติอะไร

เนื่องจากว่า เมื่อ 1 สิงหาคม 2548 สนง.นสดท.ชม และแห่งๆ อื่นๆ

ได้เปลี่ยนระบบหนังสือเดินทางเป็น e-passport พร้อมกับ ฝ่ายหนังสือเดินทางทูตและราชการ

กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ ได้มอบหมายให้สำนักงานต่างจังหวัดรับคำร้องราชการ และทูต เพิ่ม

(จากก่อนนั้นตั้งแต่เปิดสำนักงานเมื่อ 25 สิงหาคม 2540 จะให้บริการเฉพาะหนังสือเดินทางธรรมดา)

และทางฝ่ายหนังสือเดินทางทูตและราชการก็ส่งแต่รายละเอียด และระเบียบการขอฯ มาให้ทางสำนักงานฯ เท่านั้นค่ะ

สำนักงานก็เลยต้องเรียนรู้เอง หากมีอะไรที่นอกเหนือจากระเบียบหรือวิธีปฏิบัติ ต้องโทรฯ ไปถามกับเจ้าของเรื่อง คือ

ฝ่ายหนังสือเดินทางทูตและราชการ กรมการกงสุลค่ะ เนื่องจากเวลารับเรื่องก่อนผลิตเล่มฯ จะมีเจ้าหน้าที่กรมการกงสุล

ตรวจสอบเรื่องเอกสารอีกครั้งค่ะ สำนักงานฯ รับเรื่อง PP.ราชการ 1 สิงหา 48 คุณหมอมายื่นคำร้อง 23 กันยายน 48

เวลาเกือบ 2 เดือน ที่สำนักงานฯ ยังต้องเรียนรู้งาน เพราะ PP.ราชการ เมื่อปี 2548 มีผู้มายื่นคำร้องต่อวันน้อยค่ะ 1-2 คน

บางวันก็ไม่มีเอกสารให้เรียนรู้เลยค่ะ ตอนคุณหมอมาติดต่อก็เลยไม่คล่องค่ะ แต่คิดว่าคนที่รับคำร้องของคุณหมอน่าจะ

เป็นน้องที่ชื่อ สุวนา ค่ะ คนนั้นอัธยาศัยดี เป็นคนน่ารักค่ะ แต่ตอนนี้น้องเขาลาออกไปแล้วค่ะ สอบได้ราชการ ตอนนี้ก็

เป็นข้าราชการของกรมศุลกากร อยู่กรุงเทพฯ ค่ะ น้องเขาจบ มช. รู้สึกจะเกียรตินิยมอันดับ2 ภาษาฝรั่งเศส หัวหน้าสำนักงานฯ

คนก่อนก็อยากให้ไปสอบเป็นนักการทูต แต่น้องเขาสอบได้ศุลกากรเสียก่อน

ยังไงหากคุณหมอได้มีโอกาสมาทำ PP. เชิญที่เชียงใหม่ได้นะคะ ตอนนี้เรื่องเอกสารการทำ PP.ราชการ แม่นขึ้นมากค่ะ

(หากเอกสารถูกต้อง ครบถ้วน) สนง.ชม.053-891535-6 ค่ะ แต่ถ้าหากไม่อยากเดินทางไกล ก็มีสำนักงานหนังสือเดินทาง

พิษณุโลก เปิดทำการมาได้เกือบ 2 ปี แล้วค่ะ ตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลกค่ะ ขอบคุณค่ะ สำหรับคอมเม้นท์

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2553 ได้ไปทำพาสปอร์ตราชการอีกครั้ง จากคำแนะนำของคุณเปิ้ล ผมเลยได้ไปทำที่พิษณุโลก ใกล้บ้านหน่อย ไม่ต้องไปถึงเชียงใหม่ ผมไปถึงศาลากลางพิษณุโลกราว 13.30 น. นั่งรอและได้รับการบริการจากน้องๆ (ดูหน้าตาแล้วน่าจะเป็นน้องๆทุกคน) อย่างดีมาก กุลีกุจอ ใส่ใจ ให้ความสะดวก รวดเร็วดีมาก แม้บริเวณนั่งรอด้านหน้าช่องยื่นเอกสารจะร้อนมาก จนเหงื่อหยดติ๋งๆ ก็ไม่ทำให้หงุดหงิดด้วยความมีจิตบริการของเจ้าหน้าที่ พอเข้าไปข้างในบริเวณให้บริการ ติดแอร์เย็นสบาย บริการดีมากเช่นกัน ตั้งแต่ไปนั่งรอจนบริการเสร็จสิ้นใช้เวลาแค่ 45 นาทีเท่านั้น สมกับเป็นหน่วยงานภาครัฐต้นแบบจริงๆ ขอชื่นชมครับ

ดีใจค่ะที่คุณหมอประทับใจในการบริการของกองหนังสือเดินทาง หากคุณหมอมีโอกาสมาเที่ยวเชียงใหม่

พร้อมมาทำหนังสือเดินทางที่ สนง.ชม ด้วยแล้ว สนง.ชม ยินดีต้อนรับค่ะ แต่อยากให้หลีกเลี่ยงวันจันทร์

และวันศุกร์ หรือวันแรกและวันสุดท้ายของวันทำการค่ะ เพื่อหลีกเลี่ยงคนเยอะ แต่หากเป็นที่พิษณุโลกก็ไม่

น่าเป็นไรค่ะ เพราะช่วงนี้ตามสถิติวันหนึ่งไม่น่าเกิน 150-200 คน/วัน (เชียงใหม่เฉลี่ย 350-450 คน/วัน)

แล้วตอนนี้ก็เปิดบริการรับยื่นคำร้องขอมีหนังสือเดินทางเพิ่มที่ Big C นครสวรรค์ค่ะ หรือหากจะสอบถาม

ข้อมูลการทำหนังสือเดินทางของบุคคลทั่วไป หรือผู้เยาว์อายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ก็สอบถามมายังสำนักงานฯ

เชียงใหม่ได้นะคะ หากไม่แน่ใจ เพราะบางทีข้อมูลที่เวปกรมการกงสุลก็ถูกต้องค่ะ แต่บางคนที่มาติดต่อมีปัญหา

เรื่องเอกสารตัวจริงที่นำมายื่น กับข้อมูลทะเบียนราษฎร์ที่ออนไลน์ของมหาดไทย ไม่ตรงกัน ก็อาจต้องมีเอกสาร

อื่นๆ ประกอบ แล้วแต่ปัญหาค่ะ ส่วนหนังสือเดินทางราชการคุณหมอคงทราบแล้วว่าใช้อะไรบ้าง .. ^^

เปิ้ล สนง.นสดท.ชม ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท