Internet Adal เป้นอย่างไรลองเข้ามาดูกันนะครับ


Adsl โหลดเร็วกว่าธรรมดา5เท่า

ADSL คืออะไร        

ADSLย่อมาจากคำว่าAsymmetricDigital SubscribersLine คือเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงแบบใหม่ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและเครือข่ายระยะไกลได้ด้วยความเร็วสูงโดยใช้คู่สายโทรศัพท์ธรรมดา
 

ความเร็วของ ADSL เป็นอย่างไร
เทคโนโลยีADSLมีความเร็วในการรับข้อมูล(Downstream)และความเร็วในการส่งข้อมูล (Upstream) ไม่เท่ากัน  โดยมีความเร็วในการรับข้อมูล สูงกว่าความเร็วในการส่งข้อมูลเสมอ เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วในการรับข้อมูลสูงสุด 8 เม็กกะบิตต่อวินาที (Mbps) และความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 640 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps.)ความเร็วอาจเริ่มตั้งแต่128/64,256/128,
512/256 เป็นต้น โดยความเร็วแรกเป็นความเร็วขารับข้อมูล

การทำงานของADSL
จากชุมสายโทรศัพท์ถึงบ้านผู้ใช้งาน
การทำงานของ ADSL โมเด็มจะเกิดขึ้นระหว่างชุมสายโทรศัพท์ (Central Office) โดยผู้ให้บริการจะต้องติดต้องอุปกรณ์รวมสัญญาณเรียกว่าDSLAM (DSL Access Multiplexer) ในทุกๆ ชุมสายที่ให้บริการ ซึ่งจะทำหน้าที่รวมสัญญาณจากผู้ใช้งาน ในชุมสายโทรศัพท์นั้นๆ จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งผ่าน เครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง ไปยังศูนย์กลางของผู้ให้บริการ (ดูภาพประกอบ) และจากนั้นผู้ให้บริการ ADSL ก็จะเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการข้อมูล (Service Provider) เช่น ISPs หรือเครือข่ายขององค์กร

คุณสมบัติของเทคโนโลยี ADSL มีอะไรบ้าง
ความเร็วสูง  เทคโนโลยี ADSL มีความเร็วสูงกว่าโมเด็มแบบ 56K ธรรมดากว่า 5 เท่า (256 Kbps.) หรือสูงสุดกว่า 140 เท่าที่ความเร็ว 8 Mbps. การเชื่อมต่อแบบ Always On สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา เหมาะสำหรับการใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา  ค่าใช้จ่ายคงที่ ใน
อัตราที่ประหยัด  ค่าใช้จ่ายเป็นแบบเหมาจ่ายรายเดือนแบบไม่จำกัดเวลา ในราคาเริ่มต้นที่ประหยัด ไม่ต้องเสียค่าเชื่อมต่อโทรศัพท์ต่อครั้ง
 
เราสามารถใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างจากบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ADSL
1.รับและส่งไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว
2.การดาวน์โหลดซอฟต์แวร์จากอินเทอร์เน็ตเน็ต
3.การดู VDO streaming และ การประชุมทางไกล VDO conferencing
4.การประยุกต์ใช้สำหรับการรักษาความปลอดภัยของบ้าน และการมอนิเตอร์สถานที่ต่าง ๆ จากระยะไกล โดยใช้ใช้ IP Camera เชื่อมต่อผ่าน ADSL
5.การเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานด้วยกันในราคาที่ประหยัด
6.การสำรองข้อมูลจากสำนักงาน หรือจากอินเทอร์เน็ต
7.การเล่นเกมส์ออนไลน์ที่เร็วและสนุกกว่าเดิม

การประยุกต์ใช้
เนื่องจาก ADSL เป็นเทคโนโลยีที่มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูง การใช้งานสะดวกสบายและประหยัด ADSL จากตารางจะเห็นว่า ADSL สามารถรองรับการทำงานได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารข้อมูลธรรมดา เช่น การใช้งานอินเตอร์เน็ต, การทำงานทางไกล, จนกระทั่ง ข้อมูลที่เต็มไปด้วยภาพและเสียง ซึ่งมักจะต้องการความเร็วสูงๆ เช่น การประชุมทางไกลกลุ่มผ่านจอภาพ, Video on Demand หรือ Video Catalog ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งอาจจะต้องการความเร็วถึง 1.5 - 6 Mbps.หรือแม้กระทั่งการใช้งานเป็นวงจรเชื่อมโยงสำนักงานสาขาหรือเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากที่บ้านเข้ามาที่สำนักงานหรือที่เรียกว่าWorkatHomeก็เป็นได้


การประยุกต์ใช้งานADSLที่ให้บริการในปัจจุบัน
1. Internet Access ในปัจจุบันผู้ให้บริการ ADSL ในประเทศไทยจะเน้นการให้บริการ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเป็นหลัก หรือที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โดยผู้ใช้งานสามารถท่อง อินเตอร์เน็ตได้ที่ระดับความเร็วตั้งแต่ 64 Kbps ขึ้นไป ซึ่งอาจจะถึง 8Mbps. (ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการที่ความเร็วสูงสุดที่ 1Mbps.) ซึ่งผู้ให้บริการ จะคิดค่าบริการตามระดับความเร็ว ยิ่งความเร็วสูงขึ้น ราคาก็จะสูงขึ้นด้วย และบางที่อาจจะมีการจำกัดชั่วโมงการใช้งานหรือจำนวนข้อมูลที่รับ-ส่ง การใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงด้วย ADSL นอกจากความเร็วที่ผู้ใช้งานจะได้รับแล้ว การใช้งานในแต่ละครั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องหมุนโทรศัพท์จึงไม่เสียค่าโทรศัพท์ ไม่มีปัญหาสายหลุด และปัญหาสายไม่ว่างอีกด้วย ทำให้ผู้ใช้งานได้รับทั้งความสะดวกและประหยัดเป็นอย่างมาก
2. Lan Interworking คือการเชื่อมต่อจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยผ่านเครือข่าย ADSL เช่น บริษัทที่อนุญาติให้ พนักงานสามารถเชื่อมต่อ เข้าสู่เครือข่ายภายในของบริษัท (Lan) จากที่บ้าน หรือ เชื่อมต่อสำนักงานใหญ่ กับสำนักงานสาขา โดยผ่านเครือข่าย ADSL ซึ่งการใช้บริการใช้บริการในลักษณะนี้ จะสามารถทดแทนระบบ Remote Access แบบ Dial-up ได้ และลักษณะการใช้งานจะคล้ายกับการใช้วงจรเช่า Leased Line หรือ Frame Relay แต่ ADSL จะมีต้นทุนต่ำกว่ามาก โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกระดับความเร็วได้ ตามต้องการ แต่ก็ต้องยอมรับว่า วงจรเข่าอาจจะมีความน่าเชื่อถือสูงกว่า
 
สายโทรศัพท์ที่ใช้กับบริการ ADSL ต้องเป็นสายโทรศัพท์พิเศษ หรือต้องขอเลขหมายใหม่หรือไม่
สายโทรศัพท์ที่ใช้กับบริการ ADSL เป็นสายโทรศัพท์ธรรมดาที่ใช้สำหรับโทรศัพท์โดยทั่วไป แต่ต้องอยู่ในพื้นที่ให้บริการ และต้องอยู่ในระยะทางไม่เกิน 5.5 กิโลเมตรจากชุมสายโทรศัพท์  ไม่จำเป็นต้องหาคู่สายใหม่เพื่อใช้บริการ ADSL ยกเว้นคู่สายโทรศัพท์ของผู้ให้บริการไม่สามารถให้บริการ
ได้ เช่น คู่สายของ ทศท. ไม่สามารถให้บริการได้ แต่อยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการของทีทีแอนด์ทีเป็นต้น สายโทรศัพท์ที่ติดตั้งสัญญาณ ADSL สามารถใช้ร่วมกับโทรศัพท์ หรือแฟกส์ได้หรือไม่ เราสามารถใช้สายโทรศัพท์ร่วมกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ โดยใช้อุปกรณ์ POTs Splitter ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับแยกสัญญาณโทรศัพท์ออกจากสัญญาณ ADSL ซึ่งทำให้สามารถใช้งานโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตได้พร้อม ๆ กัน โดยไม่รบกวนกัน ปกติแล้วอุปกรณ์ POTs Splitter จะมาพร้อมกับอุปกรณ์ ADSL Modem หรือ Router การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเทคโนโลยี ADSL ต้องเสียค่าบริการเชื่อมต่อ ๆ ครั้งหรือไม่ การเชื่อมต่อแบบ ADSL เป็นการเชื่อมต่อแบบ Always on คือการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา ค่าบริการเป็นแบบเหมาจ่ายไม่จำกัดเวลา ไม่เสียค่าบริการเชื่อมต่อต่อครั้ง แตกต่างจากเทคโนโลยี 56K หรือ ISDN ซึ่งต้องเสียค่าบริการเชื่อมต่อครั้งละ 3 บาท
 

การขอใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ADSL ต้องทำอย่างไร
ผู้ประสงค์จะใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ADSL สามารถขอใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านซีเอส ล็อกซอินโฟ โดยติดต่อฝ่ายขาย โทร. 02-2638119 หรือ โทร. 02-2638222  หรือคลิกที่นี่เพื่อสมัครแบบออนไลน์การใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ADSL ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่หรือไม่โมเด็มแบบ 56K ธรรมดา ไม่สามารถเชื่อมต่อกับสัญญาณ ADSL ต้องใช้อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับเทคโนโลยี ADSL ได้แก่ ADSL Modem หรือ ADSL Router
  
ADSL Router (เราเตอร์) คืออะไร ต่างจาก ADSL Modem อย่างไร
ADSL Router คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ADSL เราเตอร์มีฟีเจอร์สำหรับการแชร์อินเทอร์เน็ตจำนวน 2 เครื่องขึ้นไป เหมาะสำหรับองค์กรที่มีเครือข่าย LAN หรือร้านอินเทอร์เน็ต ส่วน ADSL Modem เหมาะสำหรับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวอุปกรณ์เราเตอร์มีราคาแพงกว่าโมเด็มเล็กน้อย จะเลือกเราเตอร์หรือโมเด็มดีปัจจัยในการเลือกใช้เราเตอร์หรือโมเด็มขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งานว่าจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เตอร์หลายเครื่องหรือเครื่องเดียวและอินเตอร์เฟสของเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามีแบบ LAN หรือ USB โดยปกติแล้วเราเตอร์จะมีอินเทอร์เฟสแบบ LAN (RJ45) เราเตอร์บางรุ่นมีทั้งพอร์ต LAN และ พอร์ต USB ซึ่งสามารถใช้ได้หลายวัตถุประสงค์และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ทั้งเครื่องเดียวและหลายเครื่องโมเด็มส่วนใหญ่มีอินเทอร์เฟสการเชื่อมต่อแบบ USB ซึ่งสามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ถ้าราคาไม่แตกต่างกันมากจนเกินไป และเครื่องคอมพิวเตอร์มีพอร์ต LAN แม้จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว ควรเลือกเราเตอร์ เพราะมีความสะดวกในการใช้งานมากกว่า ไม่ต้องมีการติดตั้งไดรเวอร์ และซอฟต์แวร์ใด ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์

PotsSplitter
อุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ ADSL สามารถส่งข้อมูลไปได้พร้อมๆ กับการใช้งานโทรศัพท์ ก็คือ Pots Splitter โดยมันจะมีหน้าที่ในการกรองสัญญาณที่มีความถี่สูงออกจาก สัญญาณย่านที่มีย่านความถี่ต่ำ โดยถูกติดตั้งอยู่ทั้งที่ผู้ใช้งาน และที่ชุมสายโทรศัพท์ (ดูภาพด้านบนประกอบ) นั่นคือหากมีการใช้งานโทรศัพท์ สัญญาณโทรศัพท์จะถูกส่งผ่านสายทองแดง ไปยังชุมสายโทรศัพท์ (Central Office) และสัญญาณโทรศัพท์ จะถูกส่งผ่านไปยังเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ (PSTN: Public switch telephone netowok) เพื่อเชื่อมต่อไปยังเลขหมายปลายทางต่อไป ส่วนสัญญาณข้อมูล (DATA) จะถูกส่งผ่านไปยังอุปกรณ์ DSLAM

เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณ(ModulationTechnique)
การที่ ADSL สามารถส่งข้อมูลพร้อมกับการใช้งานโทรศัพท์ได้นั้น เนื่องจาก ADSL ใช้เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณ (Modulation) บนย่านความถี่ที่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์ โดยทั่วไป ซึ่งปกติการใช้งานโทรศัพท์จะใช้ย่านความถี่ที่ 0 - 4 KHertz และการใช้งาน 56K Analog โมเด็ม ก็ทำการเข้ารหัสสัญญาณ บนย่านความถี่นี้เช่นกัน ซึ่งเป็นย่านเดียวกับการใช้งานโทรศัท์ ทำให้เมื่อใช้งานโมเด็มจะไม่สามารถใช้โทรศัพท์ได้ ในขณะที่ ADSL จะเข้ารหัสสัญญาณที่ย่านความถี่ที่สูงกว่า 4 KHertz ขึ้นไป คือตั้งแต่ 30 KHertz ไปจนถึง 1.1 MHertz โดย ADSL มีเทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณ 2 วิธี คือ CAP และ DMT (ดูภาพประกอบ) ซึ่งด้วยเทคนิคนี้เอง ทำให้ การรับ-ส่งข้อมูลด้วย ADSL จึงสามารถใช้โทรศัพท์ได้เป็นปกติ โดยไม่รบกวนกันแต่อย่างใด โดยมีอุปกรณ์ Pots Splitter ที่ช่วยในการแยกย่านความถี่ของข้อมูลและ ความถี่ในการใช้โทรศัพท์ออกจากกัน CAP เป็นเทคนิคที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงแรกๆ ซึ่งจะแบ่งย่านความถี่ออกเป็น 3 ช่วงกว้างๆ คือ Uplink(ส่งข้อมูล) Downlink(รับข้อมูล) และ Pots(ย่านความถี่โทรศัพท์) ในขณะที่ DMT จะมีการแบ่งแต่ละช่วงความถี่ ออกเป็นช่วงเล็กๆ อีกโดยเรียกว่า Bin ซึ่งแต่ละบินจะถูกแบ่งออกเป็น Bin ละ 4 KHertz ซึ่งเทคนิคนี้จะมีคุณสมบัติพิเศษคือมันจะสามารถเลือกย่านความถี่ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและคุณภาพสายในขณะนั้นได้โดยอัตโนมัติซึ่งปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีนี้ ถือเป็นเทคโนโลยีมาตรฐานในการเข้ารหัสสัญญาณของ ADSL
และนี่ก็เป็นประวัติและข้อมูลต่างๆของ ADSL นี่เป็นเพียงข้อมูลเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ

โหลดเพาเวอร์พอยย์ได้ที่นี่นะครับ http://gotoknow.org/file/coolymind107/adsl.ppt
 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4315เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2005 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สุดยอด เยี่ยมไปเลย จุ๊กกรู !!! โอ้วพระเจ้ายอดมันจอร์จมาก ...

อิ อิ เพื่อนๆขา ช่วยกันอ่าน ช่วยกันคอมเม้นเยอะๆนะคะ คะแนนทั้งนั้นเลยค่ะ

ใช่พี่พุทธหรือป่าวค่ะลูกลุงอั๋นป่ะค่ะ

หนูน้องพลอยค่ะ

ลูกอาปุ๊น้องชายของลุงอั๋นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท