การสร้่างผู้นำการเปลี่ยนแปลง(SHA Facilitator) ตอน "นพลักษณ์"


วันนี้ ผู้เขียนมีความขัดแย้งในใจเกิดขึ้นหลายอย่าง พูดคุยกับใครดูเหมือนจะสื่อไม่ได้เลยว่า เราต้องการอะไรแล้วเขาเข้าใจว่าอย่างไร ส่วนเราเองเข้าใจไปเองว่า "เขาน่าจะเข้าใจอย่างที่เราเข้าใจ" โดยลืมไปว่า แต่ละคน มีความคิดที่แตกต่าง อันเนื่องจากประสบการณ์ที่แตกต่างและที่สำคัญ คือ ความคิด ความรู้สึกภายในของเขา ซึ่งจากการประชุม/อบรม การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง อาจารย์เรียกว่า "นพลักษณ์"

 

นพลักษณ์ เป็นระบบที่อธิบายบุคลิกภาพ สไตล์การทำงานและหนทางของการเจริญเติบโตทางจิตวิญญาน นพลักษณ์ ช่วยให้เข้าใจ ตนเองและผู้อื่น ผ่านลักษณะนิสัยสำคัญ ซึ่งแบ่งเป็น 9 ลักษณ์

 

 นพลักษณ์ เข้าใจรากฐานของบุคลิกภา

-นพลักษณ์ช่วยให้เข้าใจผู้อื่นและตนเอง

-อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเข้าใจและมีความสุข

-รับมือกับสถานการณ์ที่กดดัน

-ช่วยให้ผู้อื่นได้เติบโต

-สังเกตุและเรียนรู้ตนเอง

-รู้เท่าทันตัวตน

-ค้นหาและปรับปรุงตนเอง 

 

จากการทำกลุ่ม อาจารย์วิทยากร ให้แต่ละคนเลือก ลักษณ์ ที่คิดว่า ใกล้เคียงตนเองที่สุด

 

ผู้เขียนเลือก ลักษณ์ 7 : นักผจญภัย -เป็นคนลื่นเป็นปลาไหล ไอเดียบรรเจิด อาจารย์อธิบายแบบนี้ ผู้เขียนจึงเลือก ลักษณ์นี้ แต่ลึกๆคิดว่า ไอเดียไม่บรรเจิดนัก แต่รู้สึกว่า ตัวเอง ลื่นพอควร :-))

ลักษณ์ 7 ในเอกสารบางส่วน บอกว่า กลัวที่จะเผชิญอารมณ์ภายในตนเอง จึงมักหันไปหาความสนุกภายนอก (เห็นท่าจะจริง) ลักษณ์ 7 จึงเป็นเรื่องความคิดและความกลัว 

จากการทำกิจกรรมกลุ่ม ผู้เขียนเห็นว่า ทุกคนที่เลือกลักษณ์ของตน มีความใกล้เคียงกับเอกสารคำอธิบาย ทั้งนี้ หลายคนยังไม่ได้อ่านคำอธิบายลักษณะ แต่การกระทำแสดงออกมาโดยอัตโนมัติ 

อาจารย์แบ่งกลุ่ม ตามลักษณ์ออก 3 กลุ่ม (ศูนย์ทั้งสาม = ศูนย์ท้อง ศูนย์ใจ ศูนย์หัว

ศูนย์ท้อง 8-9-1 สัญชาตญาน (ความโกรธ)

 -ลักษณ์ 8  ชอบใช้อำนาจ เข้มแข็ง ไม่กลัวที่จะแสดงความโกรธ

 -ลักษณ์ 9 มักเห็นด้วย โอนอ่อนผ่อนตามผู้อื่น มักไม่รู้ถึงความโกรธของตนเอง

 -ลักษณ์ 1 เคร่งครัดประพฤติตนตามหลักการ มีเหตุผล มองความโกรธเป็นสิ่งไม่ดี จึงเก็บกดเอาไว้

ศูนย์ใจ 2-3-4 ความรู้สึกและภาพลักษณ์

 -ลักษณ์ 2 สนใจและชอบดูแลเอาใจใส่คนอื่น ต้องการแสดงภาพลักษณ์ว่าตนเป็นคนน่ารัก

 -ลักษณ์ 3 มักไม่ใส่ใจกับความรู้สึกลึกๆของตนเอง เพราะมุ่งจะให้งานสำเร็จ ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้คนอื่นมองในทางชื่นชม

 -ลักษณ์ 4 แม้จะมีอารมณ์ล้ำลึก แต่มักไม่ชอบ แสดงออกตรงๆ จึงมักเก็บ ซับอารมณ์ของตนเองไว้มากกว่าที่แสดงออก

ศูนย์หัว 5-6-7 ความคิดและความกลั

 -ลักษณ์ 5 มักปลึกตัวออกจากโลกไปอยู่ใรความคิดของตนสร้างความั่นใจด้วยการหาความรู้

 -ลักษณ์ 6 ไม่ไว้ใจทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นเพราะมีความกลัวและกังวลอยู่ลึกๆอาจสยบยอมด้วยความกลัวหรือต่อต้านอำนาจเพราะความกลัว

-ลัักษณ์ 7 กลัวที่จะเผชิญอารมณ์ภายในตนเอง จึงมักหันไปหาความสนุกภายนอก

 

การเข้าใจ ลักษณะของแต่ละคน จึงเป็นเรื่องสำคัญ ในฐานะของผู้เป็น Fa โดยเฉพาะ SHA-fa ที่ต้องเลือกที่จะ sha-fa อย่างไร หมายถึง การให้ความรัก ความเข้าใจ อย่างไรในการจัดกระบวนการในแต่ละกิจกรรมของการพัฒนาตาม โครงการ SHA ที่ต้องการความยั่งยืน ภายใต้่ ความใส่ใจ ความรัก

ซึ่งกันและกัีน 

 

หมายเลขบันทึก: 430776เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2011 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะป้าแดง

  • ขอบคุณที่แบ่งปันสิ่งดีๆนะคะ
  • สุขสันต์วันหยุดค่ะ

 

  • ป้าแดงครับ
  • ผมมีลักษณะปนกันนะ
  • แต่ลื่นไหลน้อยกว่าป้าแดง
  • เย้ๆๆๆ
  • ป้าแดงงานยุ่งไหมครับ
  • สวัสดีค่ะ
  • เห็นภาพหนูน้อยเต้นได้น่ารักมาก ๆ  นึกถึงกัลยาณมิตรก็เลยนำมาฝากกัน ชมเพื่อความเพลิดเพลินค่ะ
  • ด้วยความระลึกถึงค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                                   ภาพขนาดย่อ

สวัสดีครับ ป้าแดง

มาเรียนรู้เรื่อง ชา ฟา และนพลักษณ์ เพื่อจักมีโอกาสนำไปใช้ ให้ถูกต้อง

สวัสดีค่ะ ป้าแดง

 กิจกรรมดีๆน่าชื่นชมค่ะ

สบายดีนะคะ ขอบคุณค่ะที่ไปเยี่ยมชมจังหวัดใหม่ มีโอกาสอย่าลืมไปเที่ยวนะคะ


สวัสดีค่ะ

      มาแวะเยี่ยมและเรียนรู้กิจกรรมดีๆค่ะ

....ต้องการความยั่งยืน ภายใต้ความใส่ใจ ความรัก

                                            

สวัสดีค่ะคุณป้าแดง

  • คุณยายแวะมาส่งกำลังใจอีกรอบค่ะ
  • มีความสุขมากๆนะคะ

สวัสดีครับป้าแดง...

พวกลื่นไหลเนี่ยต้องใช้ใบข่อยหรือเปล่าครับ ฮิ ฮิ...

คึดฮอดหลายครับ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท