การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ทำเองประหยัด ช่วยโลก


ปุ๋ยหมักชีวภาพ

ปุ๋ยหมักชีวภาพ

ปุ๋ยชีวภาพ คือ ปุ๋ยที่เป็นยุทธปัจจัยที่สำคัญในการผลิตพืช เนื่องจากปุ๋ยเป็นอาหารของพืช สามารถจำแนกปุ๋ยได้ 3 ประเภท คือ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมี ในการเลือกใช้ปุ๋ยนั้น เกษตรกรควรศึกษาข้อดี ข้อเสียของปุ๋ยแต่ละประเภท ก่อนเลือกใช้ปุ๋ยแต่ละชนิด ปัจจัยที่จะช่วยให้การใช้ปุ๋ยการใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การเลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดและอายุของพืช ความชื้นในดิน และวิธีการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน จะเป็นแนวทางที่สามารถช่วยให้เกษตรกรได้รับทั้งผลตอบแทนที่สูงสุด เสริมสร้างระบบการผลิตพืชแบบยั่งยืนและความปลอดภัยให้กับสภาพแวดล้อม

 

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

          จังหวัดพะเยาเป็นจังหวัดหนึ่งที่ทำเกษตรกรรม และสิ่งหนึ่งที่มองเห็นได้ชัดเจนคือ ความ ยากจนและหนี้สินของเกษตรกร ปัญหาหลักมาจากการใช้ปุ๋ยอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี  เพราะปุ๋ยที่ได้จากการสังเคราะห์นั้นมีราคาสูง ปัจจุบันหลายหน่วยงานจึงพยายามหาวิธีที่จะช่วยลดต้นทุนการทำการเกษตรของเกษตรกรให้น้อยลง และทางเลือกหนึ่งที่เลือกทำคือ ปุ๋ยหมักชีวภาพ ซึ่งผลจากการวิจัย ปุ๋ยหมักชีวภาพช่วยลดต้นทุนการผลิตลง              4 -16 เท่า และผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น 3 - 5 เท่า ภายใน 3 -5 ปี ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นและรายจ่ายน้อยลง

                ดังนั้นผู้ทำจึงเกิดแนวคิดในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และนำมาทดลองใช้ก่อนที่จะเผยแพร่ความรู้แก่ชุมชน “โดยน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องแนวคิดของการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงคือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท คิดคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล และสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบและคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำโดยใช้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย โดยทรงเน้นแนวทางแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ และตามความสนใจอย่างเต็มศักยภาพ ก่อให้เกิดแนวคิด และทักษะกระบวนการในการปฏิบัติงาน สามารถเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพได้ต่อไปในอนาคต                    

 

วัตถุประสงค์ของการทำน้ำหมักชีวภาพ

  1. เพื่อลดค่าใช้จ่ายของเกษตรกร

  2. เป็นการลดขยะ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาเศษใบไม้

  3. รู้จักนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้

ส่วนประกอบ

    1. เศษผัก ผลไม้    3 ส่วน

    2. น้ำมะพร้าว        1 ส่วน

    3. กากน้ำตาล       1 ส่วน

    4. ถังหมัก            1 ใบ

 ขั้นตอนการทำ

    1. นำเศษผัก ผลไม้ สับให้ละเอียด เทใส่ถังหมัก

    2. เทกากน้ำและน้ำมะพร้าวลงไป

    3. ผสม คลุกเคล้าให้เข้ากัน

    4. ปิดถังหมัก ทิ้งไว้เป็นเวลา 2 สัปดาห์เป็นอย่างต่ำ

วิธีใช้

    นำน้ำหมักชีวภาพ 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีดหรือรดต้นพืช สัปดาห์ละ 2 ครั้ง (พืชที่รดจะต้องมีอายุ 60 วันขึ้นไปค่ะ)

 

 

น้ำหมักชีวภาพ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://ipst.co.th. (วันที่ค้นข้อมูล : 11 ธันวาคม 2553).

คำสำคัญ (Tags): #ปุ๋ยหมัก
หมายเลขบันทึก: 430137เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2011 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท