"จริต" แปลว่า นิสัย ความเคยชิน
หรือบุคลิกภาพ
เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่คู่ครองแต่ละคู่ต้องทอดระยะดูใจกันยาวนาน
ก่อนจะตัดสินใจร่วมชีวิตก็เพื่อ "ศึกษา"
กันและกันให้รู้ทัน "จริต" ที่แท้จริงของแต่ละฝ่าย
เพราะเมื่อรู้ทันแล้วก็สามารถปรับตัวเข้าหากันได้ง่ายขึ้น
แต่การศึกษากันและกันโดยไม่มีคู่มือเลยนั้นคงไม่เพียงพอ
บางคนอาจถูกหลอก หรือโชคร้ายไปเจอคนที่จริตไม่สมพงศ์กัน
แทนที่จะเป็นคู่รัก กลับกลายเป็นศัตรูคู่อริแทน
หนังสือ "จริต ๖
ศาสตร์ในการอ่านใจคน"
(ซึ่งสรุปมาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธศาสนา)
งานเขียนเบสท์เซลเลอร์ของอนุสรณ์ จันทพันธ์ และบุญชัย
โกศลธนากุล สรุปลักษณะนิสัย แนวโน้ม จุดอ่อน จุดแข็ง ของคนทั้ง ๖
จริตเอาไว้ให้เราดูเป็นแนวทางในการศึกษาคน ดังต่อไปนี้
๑.
ราคจริต
ลักษณะ
- บุคลิกดี มีมาด
- น้ำเสียงนุ่มนวล ไพเราะ
- ติดในความสวย ความงาม ความหอม ความไพเราะ ความอร่อย
- ไม่ชอบคิด แต่ช่างจินตนาการเพ้อฝัน
จุดแข็ง
- มีความประณีต อ่อนไหว และละเอียดอ่อน
- ช่างสังเกต เก็บข้อมูลเก่ง
- มีบุคลิกหน้าตาเป้นที่ชอบและชื่นชมของทุกคนที่เห็น
- วาจาไพเราะ เข้าได้กับทุกคน
- เก่งในการประสานงาน การประชาสัมพันธ์
และงานที่ต้องใช้บุคลิกภาพ
จุดอ่อน
- ไม่มีสมาธิ ทำงานใหญ่ได้ยาก
- ไม่มีเป้าหมายในชีวิต
- ไม่มีความเป้นผู้นำ
- ขี้เกรงใจคน
- ขาดหลักการ
- มุ่งแต่บำรุงบำเรอผัสสะทั้ง ๕ ของตัวเอง คือ รูป รส กลิ่น เสียง
สัมผัส
- ชอบพูดคำหวานหู แต่อาจไม่ใช่ความจริง
- อารมณ์รุนแรง ช่างอิจฉาริษยา ชอบปรุงแต่ง
วิธีแก้ไข
- พิจารณาโทษของจิตที่ขาดสมาธิ
- ฝึกพลังจิตให้มีสมาธิเข้มแข็ง
- หาเป้าหมายที่แน่ชัดในชีวิต
- พิจารณาสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์เพื่อลดการติดในรูป รส
กลิ่น เสียง สัมผัส
๒.
โทสจริต
ลักษณะ
- จิตขุ่นเคือง โกรธง่าย
- คาดหวังว่าโลกต้องเป็นอย่างที่ตัวเองคิด
- พูดตรงไปตรงมา
- ชอบชี้ถูกชี้ผิด เจ้าระเบียบ เคร่งกฎเกณฑ์
- แต่งตัวประณีต สะอาดสะอ้าน
- เดินตรง ตัวตรงแน่ว
จุดแข็ง
- อุทิศตัวทุ่มเทให้กับการงาน
- มีระเบียบวินัยสูง ตรงเวลา
- วิเคราะห์เก่ง มองอะไรตรงไปตรงมา
- พูดคำไหนคำนั้น
- มีความจริงใจต่อผู้อื่น สามารถพึ่งพาได้
- ไม่ค่อยโลภ
จุดอ่อน
- จิตขุ่นมัว ร้อนรุ่ม
- ไม่มีความเมตตา
- ไม่เป็นที่น่าคบค้าสมาคมคมของอื่น ไม่มีบารมี
- สร้างวจีกรรมเป็นประจำ
- ไม่มีความคิดสร้างสรรค์
- มีโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย
วิธีแก้ไข
- สังเกตดูอารมณ์ตัวเองเป็นประจำ
- เจริญก้าวหน้าให้มาก ๆ
- คิดนาน ๆ ก่อนพูด และพูดทีละคำ ฟังทีละเสียง
- อย่าไปจริงจังกับโลกมากนัก
- เปิดใจกว้างรับความคิดใหม่ ๆ
- พิจารณาโทษของความโกรธความเสื่อมโทรมของร่างกาย
๓.
โมหจริต
ลักษณะ
- ง่วง ๆ ซึม ๆ เบื่อ ๆ เซ็ง ๆ
- ดวงตาดูเศร้า ๆ ซึ้ง ๆ
- พูดจาเบา ๆ นุ่มนวลอ่อนโยน
- ยิ้มง่าย ๆ อารมณ์ไม่ค่อยเสีย ไม่ค่อยโกรธใคร
- ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่ชอบทำตัวเป็นจุดเด่น
- เดินแบบลอย ๆ ขาดจุดหมาย ไร้ความมุ่งมั่น
จุดแข็ง
- ไม่ฟุ้งซ่าน เข้าใจอะไรได้ง่ายและชัดเจน
- มักตัดสินใจอะไรด้วยความรู้สึกได้ถูกต้อง
- ทำงานเก่ง โดยเฉพาะงานประจำ
- ไม่ค่อยทุกข์หรือเครียดมากนัก
- เป็นคนดี เป็นเพื่อนที่น่าคบ ไม่ทำร้ายคน
จุดอ่อน
- ไม่มีความมั่นใจ มองตัวเองต่ำกว่าความจริง โทษตัวเองเสมอ
- หมกมุ่นแต่เรื่องตัวเอง ไม่สนใจคนอื่น
- ไม่จัดระบบความคิด ทำให้เหมือนไม่มีความรู้
- ไม่มีความเป็นผู้นำ ไม่ชอบเป็นจุดเด่น
- สมาธิอ่อนและสั้น เบื่อง่าย
- อารมณ์อ่อนไหวง่าย ใจน้อย
วิธีแก้ไข
- ตั้งเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจน
- ฝึกสมาธิสร้างพลังจิตให้เข้มแข็ง
- ให้จิตออกจากอารมณ์ โดยจัดให้ร่างกายเคลื่อนไหว หรือเล่นกีฬา
- แสวงหาความรู้และต้องจัดระบบความรู้ความคิด
- สร้างความแปลกใหม่ให้กับชีวิต อย่าทำอะไรซ้ำซาก
๔.
วิตกจริต
ลักษณะ
- พูดน้ำไหลไฟดับ
- ความคิดพวยพุ่ง ฟุ้งซ่าน ไม่อยู่ในโลกความจริง
- มองโลกในแง่ร้าย ว่าคนอื่นจะเอาเปรียบ กลั่นแกล้งเรา
- หน้าบึ้ง ไม่ค่อยยิ้ม
- เจ้ากี้เจ้าการ อัตตาสูง คิดว่าตัวเองเก่ง
- อยากรู้อยากเห็นไปทุกเรื่อง
- ผัดวันประกันพรุ่ง
จุดแข็ง
- เป็นนักคิดชั้นยอด มองอะไรทะลุปรุโปร่ง
- เป็นนักพูดที่จูงใจคนเก่ง เป็นผู้นำในหลายวงการ
- ละเอียดรอบคอบ เจาะลึกในรายละเอียด
- เห็นความผิดเล็กน้อยที่คนอื่นมองไม่เห็น
จุดอ่อน
- มองจุดเล็ก ลืมภาพใหญ่
- เปลี่ยนแปลงความคิดตลอดเวลา ไม่รักษาคำมั่นสัญญา
- มีแต่ความคิด ไม่มีความรู้สึก ไม่มีวิจารณญาณ ลังเล
มักตัดสินใจผิดพลาด
- มักทะเลาะวิวาท เอารัดเอาเปรียบ ทำร้ายจิตใจผู้อื่น
- มีความทุกข์ เพราะเห็นแต่ปัญหา แต่หาทางแก้ไม่ได้
วิธีแก้ไข
- เลือกที่จะคิด อย่าให้ความคิดลากไป
- ฝึกสมาธิแบบอานาปานสติเพื่อสงบอารมณ์
- เลิกคิดอกุศลจิต คลายจากความฟุ้งซ่าน
- สร้างวินัย ต้องสร้างกรอบเวลา
- ฝึกมองภาพรวม คิคให้ครบวงจร
- หัดมองโลกในแง่ดี
๕. ศรัทธาจริต
ลักษณะ
- ยึดมั่นอย่างแรงกล้าในบุคคล หลักการ หรือความเชื่อ
- ย้ำคิดย้ำพูดในสิ่งที่ตนเองเชื่อถือและศรัทธา
- คิดว่าตัวเองเป็นคนดี น่าศรัทธา ประเสริฐกว่าคนอื่น
- เป็นคนจริงจัง พูดมีหลักการ
จุดแข็ง
- มีพลังจิตสูงและเข้มแข็ง
- พร้อมจะเสียสละเพื่อผู้อื่น
- ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองและสังคมไปสู่สภาพที่ดีกว่าเดิม
- มีพลังขับเคลื่อนมหาศาล
- มีความเป็นผู้นำ
จุดอ่อน
- หูเบา ถูกหลอกง่าย เรื่องของความเชื่ออยู่เหนือเหตุผล
- ยิ่งศรัทธามาก ปัญญายิ่งลดน้อยลง
- ไม่ประนีประนอม
- จิตใจคับแคบ ไม่ยอมรับความคิดที่แตกต่าง
- ทำได้ทุกอย่างแม้แต่ใช้ความรุนแรงเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
วิธีแก้ไข
- นึกถึงกาลามสูตร ใช้หลักเหตุผลพิจารณาเหนือความเชื่อ
- ใช้ปัญญานำทาง และใช้ศรัทธาเป็นพลังขับเคลื่อน
- เปิดใจกว้างรับความคิดใหม่ ๆ
- ลดความยึดมั่นในตัวกูของกู
- ลดความยึดมั่นถือมั่นในตัวบุคคลหรืออุดมการณ์
๖.
พุทธิจริต
ลักษณะ
- คิดอะไรเป็นเหตุเป็นผล
- พร้อมรับความคิดที่แตกต่างไปจากตนเอง
- มองเรื่องต่าง ๆ ตามสภาพความเป็นจริง ไม่ปรุงแต่ง
- ช่างสังเกต
- มีความเมตตา ไม่เอาเปรียบคน
- หน้าตาผ่องใส ตาเป็นประกาย ไม่ทุกข์
จุดแข็ง
- เห็นเหตุผลชัดเจน และรู้วิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
อย่างถูกต้อง
- อัตตาต่ำ เปิดใจรับข้อเท็จจริง
- จิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่จมปลักกับอดีต
และไม่กังวลกับสิ่งที่จะเกิดในอนาคต
- พัฒนาและปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ
- เป็นกัลยาณมิตร
จุดอ่อน
- มีความเฉื่อยชา ไม่ต้องการพัฒนาจิตวิญญาณ
- ชีวิตราบรื่นมาตลอด หากต้องเผชิญพลังด้านลบอาจเอาตัวไม่รอด
- ไม่มีความเป็นผู้นำ จิตไม่มีพลังพอที่จะดึงดูดคนให้คล้อยตาม
วิธีแก้ไข
- ถามตัวเองว่าพอใจแล้วหรือกับสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบัน
- เพิ่มพลังสติ สมาธิ พัฒนาจิตใจให้มีพลังขับเคลื่อนแรงขึ้น
- เพิ่มความเมตตา พยายามทำประโยชน์ให้สังคมมากขึ้น
การเลือกคู่ครองก็เหมือนกับการปลูกบ้าน คือ
ถ้าปลูกผิดแบบ สร้างออกมาแล้วไม่ได้ดั่งใจ
ครั้นจะรื้อทิ้งก็เสียดายงบประมาณ ไม่รื้อหรือก็ทำลายจิตใจ
ประการสำคัญคือ ถ้าเป็นบ้านซึ่งเป็นเรือนภายนอกยงพอจะรื้อได้
แต่ถ้าเป็นเรือนภายในคือ คู่รักของเรา เมื่อตัดสินใจแต่งงานไปแล้ว
โอกาสที่จะรื้อปรับระบบรสนิยมและนิสัยไม่ต้องการเหมือนการรื้อบ้านทิ้งนั้นไม่ง่ายเลย
ดังนั้น วันไหนว่าง ๆ จึงควรชวนคนรักมานั่ง
"ดูจริต" กันเสียบ้าง
เผื่อว่ามีข้อไหนที่ไม่ถูกจริตกัน จะได้หาวิธีปรับตัวไว้แต่เนิ่น
ๆ
"รู้เขา
รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยคราว"
ซุนวูกล่าวประโยคนี้ไว้ ไม่ใช่เพื่อใช้เฉพาะการสงครามเท่านั้น
แต่ในการเลือกคู่ครองก็มาใช้ได้เช่นเดียวกัน
บูญรักษา ทุกท่านครับ ;)
ขอบคุณหนังสือธรรมะดี
ๆ

ว.วชิรเมธี. ธรรมะทอรัก. พิมพ์ครั้ง
12. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2551.