บทความการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ


การคิดแบบนักบริหาร
การคิดแบบนักบริหาร
         ความคิดเป็นผลจากการทำงานของสมองในการก่อรูป (Formulate) บางสิ่งบางอย่างขึ้นในมโนคติ (mind)  ผ่านการทำงานของระบบการรับรู้ทางจิต (cognitive  system)  โดยในส่วนของความคิดจะทำหน้าที่แยกแยะการกระทำและความรู้สึก  ผ่านกระบวนการทางความคิดอันจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ตอบสนองสถานการณ์นั้น  การคิดเป็นเรี่องที่สำคัญ  การคิดไม่เหมือนกัน  การคิดแบบจินตนาการ  การคิดหวนรำลึกถึง  การคิดใช้เหตุผล  และการคิดแก้ปัญหา
 
การคิดเกี่ยวข้องกับผู้บริหารอย่างไร
        การคิดเกี่ยวข้องกับความอยู่รอด
 ทำให้คนอยากคิด เพื่อความอยู่รอดก็จะเริ่มคิดอะไรออกมา
  หากไม่มีก็เป็นเรื่องยากที่จะอยู่รอด
        ความต้องการสิ่งแปลกใหม่  กระตุ้นให้คิด  คนอยากคิดก็คือไม่อยากยึดติดของเดิม ๆ พยายาม หารูปแบบใหม่ ๆ  นักคิดก็คือ  กบฏตัวน้อย  มีใครคิดทฤษฎีใหม่ที่ไม่คิดกบฏต่อทฤษฎีเดิม  ไม่พอใจของเดิมแต่หาดีกว่าจึงจะกล้าคิด  หากเราบอกตัวเองว่า  เขาเป็นข้าราชการที่เสียแล้ว  หากเราไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงในขณะที่รุ่นพี่ของเราเป็นอย่างนี้เราต้องนำการเปลี่ยนแปลงที่ดีมาสู่เรา
·        ความสงสัย กระตุ้นให้คิด สร้างให้เกิดความรู้ ความอยากรู้อยากเห็น บางครั้งเด็กอยากรู้อยากเห็น  แต่คนที่เป็นพ่อเป็นแม่ตอบว่า  ถามอยู่ได้อย่างนี้ตัดความคิดเห็น  พ่อแม่ต้องเป็นผู้สร้างการอยากรู้อยากเห็น 
·        สภาพปัญหา  กระตุ้นให้คิด  ปัญหาทำให้เราคิดสารพัด  เราต้องหาวิธีออก  วิธีคิด  การที่เราพบปัญหานั้นทำให้เรานำมาใช้ประโยชน์ได้  การทำงานไม่ทำให้ออกมาเป็นรูปแบบเดิม ๆ  ยุคนี้เป็นยุคที่ทำให้เกิดวิธีการคิดโดยมีวิธีการคิด 10 มิติ  การคิด 10 มิติ  เกิดจากการประชุมระดับชาติ  เป็นการสอนให้คนเกิดการคิด  นอกกรอบ
 
1.  การคิดเชิงกลยุทธ์
                         การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นเรื่องที่จำเป็น  จริงๆ แล้วความคิดทั้ง 10 มิติ  เป็นการใช้ตลอดเวลา  และจำเป็นต้องใช้ในอนาคต  สำหรับอันดับแรกเป็นการคิดเชิงกลยุทธ์  ผู้บริหารเป็นคนชี้ขาด  คือ  คนที่นำในองค์กร  คนแรกที่ต้องพบปัญหา  คนแรกที่ตัดสินว่าจะไปซ้ายหรือไปขวา  ฉะนั้นการคิดเชิงกลยุทธ์เปลี่ยนมาก  สถานการณ์เปลี่ยนตลอดเวลา  และมีทรัพยากรจำกัด  บุคลากรก็มีจำกัด  สถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถแก้ปัญหาตามเคยชินได้  ฉะนั้นการคิดเชิงกลยุทธ์จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้บริหารมากในการเผชิญปัญหาต่างๆ  ในการวางแผน  การบริหารจัดการ  การกำหนดว่าจะทำอะไรก่อนหลัง  นักวิชาการด้านการบริหารบอกว่า  การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นการวางแผนเพื่ออนาคต  เพื่อการตัดสินใจในอนาคต  มี 2 วิธีที่จะเผชิญในอนาคต  วิธีที่หนึ่งเหตุการณ์จะเกิดขึ้น  เดินไปเรื่อยๆ ชีวิตนี้ปล่อยไปตามเวรตามกรรม  ตามสภาวะแวดล้อม  ตายเอาดาบหน้า  อีกวิธีหนึ่ง  คือ  แน่นอนท่านไม่สามารถรู้อนาคตได้  เราคิดไปก่อนแล้วเราวางแผนไว้  แต่สิ่งนั้นเกิดขึ้นและต้องตัดสินใจ ณ วันนี้   นักวิชาการอีกคนหนึ่งนายไมเคิลบอกว่า  ขบวนการคิดเชิงกลยุทธ์  เป็นการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว   โดยการจัดสรรทรัพยากรตั้งแต่วันนี้  เพราะฉะนั้นผู้บริหารต้องกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่จำกัด  ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง  บริหารงบประมาณ  บริหารบุคลากรให้บรรลุเป้าหมาย  การจะให้บรรลุตามเป้าหมายต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม  การประเมินความได้เปรียบและเสียเปรียบของสถานการณ์  ที่เกิดขึ้นและการคาดการณ์ของอนาคต 
2. การคิดเชิงอนาคต
                         มีประโยชน์มากและจำเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเป็นการคาดการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม  การคิดเชิงอนาคตมีหลายวิธี  แต่ใช้วิธีที่เหมาะสม
3.  การคิดเชิงสร้างสรรค์
                         ผู้บริหารมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการคิดเชิงสร้างสรรค์  โจทย์ไม่เหมือนเดิม  คำตอบไม่เหมือนเดิม  วิธีตอบคำถามคือไม่เหมือนเดิม  จึงมีความแปลกใหม่  ต้องการนวัตกรรมในการตอบคำถาม  ในการบริหารงานต่าง ๆถูกบังคับให้เราต้องเอาชนะสิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการใหม่ๆ การคิดเชิงสร้างสรรค์ไปสู่ความคิดใหม่ ๆ  ที่ไม่เคยมีมาก่อนสามารถทำให้เราค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด  และอีกอย่างการคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นการฝ่าวงล้อมในการคิดเล็ก ๆ หรือการแวกม่านความคิดต่าง ๆออกไปเพื่อค้นพบในการแก้ปัญหาใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน  ใครคิดก่อน
 
4.  การคิดเชิงวิพากษ์ 
หมายถึง  ความตั้งใจพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนอ  ไม่ด่วนสรุปการเห็นคล้อยตาม  เป็นการตั้งคำถามท้าท้ายหรือโต้แย้งสมมุติฐานที่อยู่เบื้องหลัง  พยายามเปิดกว้างทางความคิดออกสู่ความแตกต่างในด้านต่าง ๆมากขึ้นให้ได้ประโยชน์มากกว่าเดิม  หลักการคิดเชิงวิพากษ์ได้แก่
หลักที่  1  ให้สงสัยไว้ก่อน................อย่าเพิ่งเชื่อ
หลักที่  2  เผื่อใจไว้...............อาจจะจริงหรืออาจจะไม่จริงก็ได้
หลักที่  3  เป็นพยานฝ่ายมาร............ตั้งคำถามซักค้าน
 
5.  การคิดเชิงบูรณาการ
                 ผู้บริหารต้องคิดแก้ปัญหาในเชิงบูรณาการ  ผู้บริหารต้องคิดไม่แยกส่วน  ต้องคิดแบบแกนหลักได้อย่างเหมาะสม  ครบถ้วนทุกมุมมอง  ไม่แยกส่วนในการแก้ปัญหา
 
6.  การคิดเชิงวิเคราะห์                                    
                         ผู้บริหารมีความจำเป็นในการคิดเชิงวิเคราะห์  เช่นการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน  เพื่อจำแนกอุปกรณ์ของจุดใดจุดหนึ่งแล้วค้นหาสิ่งที่แท้จริงที่เกิดขึ้น  สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมมีที่มาที่ไป  มีเหตุมีผลย่อมมีองค์ประกอบย่อย ๆที่ซ่อนอยู่ด้วย  และองค์ประกอบนั้นมีความสอดคล้องหรือตรงข้ามกันกับสิ่งที่ปรากฏภายนอกหรือเปล่า หลักการคิดเชิงวิเคราะห์ประกอบด้วย
7.  การคิดเชิงเปรียบเทียบ
        การคิดเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์กับเหตุการณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน  มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกันเพื่อให้เราลดความผิดพลาด  เช่น  สมมุติมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นแต่ยังไม่ชัดเจนอาจไม่สามารถวิเคราะห์ได้หรือตัดสินใจได้  ก็นำมาเปรียบเทียบมาวิเคราะห์ได้ว่าเหตุการณ์ไหนดีเหตุการณ์ไหนไม่ดี  การคิดเปรียบเทียบเพื่อแก้ปัญหาเป็นการจุดประกายความคิดและการสร้างสรรใหม่
 
8.  การคิดเชิงสังเคราะห์
                         เป็นความสามารถขององค์ประกอบต่างๆ แล้วนำมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ตามความประสงค์ที่เราต้องการ  ในคำตอบจะตอบได้หลาย ๆอย่าง  นำข้อดีของแต่ละอันมาสังเคราะห์เพื่อเป็นวิธีใหม่ที่นำมาใช้ในหน่วยงานของเราได้เลย  เช่น  การสังเคราะห์ช่วยให้เราไม่ต้องคิดสิ่งต่าง ๆจากสูตร  หากเราไม่รู้ประโยชน์จากความคิดของคนรุ่นเก่าแทบจะไม่มีอะไรที่ยากที่ทำไม่ได้  ทุกอย่างมักจะมีแง่มุมที่ทำไว้แล้ว  แต่เราใช้แรงสักหน่อย  นำมาศึกษา  นำมาสังเคราะห์  ดูจากเรื่องเดียวกันว่ามีปัญหาเคยเกิดไหม
                         การคิดจากเชิงสังเคราะห์เริ่มต้นจากการตั้งคำถามว่า มีอะไรที่เกี่ยวกับเรื่องการสังเคราะห์นำเอาสิ่งนั้นมาแยกแยะออกจากกัน  ที่นำมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน  การกำหนดลักษณะและขอบเขตข้อมูลที่จะนำมาสังเคราะห์เป็นเรื่องสำคัญ  เช่น  การเลือกเฉพาะข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้  โดยเลือกขอบเขตที่ชัดเจน
 
9.  การคิดเชิงมโนทัศน์
                หมายถึง  การประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเข้าด้วยกันโดยไม่ขัดแย้ง  การคิดเชิงมโนทัศน์เป็นการมอบภาพต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกันให้เป็นภาพที่คมชัด  กระชับสามารถอธิบายได้  เป็นการคิดรวบยอด  สร้างกรอบความคิดให้ชัดเจน  สามารถถ่ายทอดออกไปได้  การที่เราต้องเรียนรู้เชิงมโนทัศน์นั้นเพราะว่า  กรอบความคิดเรื่องประสบการณ์และความรู้  ฉะนั้นการปรับมโนทัศน์ของเราและสร้างมโนทัศน์ใหม่จะเป็นเรื่องสำคัญ 
 
10.  การคิดเชิงประยุกต์
                         หมายถึง  ความสามารถที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้ในบริบทใหม่   คล้าย ๆกับนำต้นไม้  เช่น  นำต้นยางจากภาคใต้ไปปลูกภาคเหนือ  ภาคอีสาน  ต้นยางไม่เปลี่ยนแปลงแต่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเป็นเหมือนว่าเรานำกรอบ  วิธีการหรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆที่มีอยู่นั้น  นำมาประยุกต์พวกนี้เกิดจากการคิดว่า  เหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้ได้ไหม  เกิดผลดีผลเสียอย่างไร  นำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่เราเผชิญอยู่ 
การคิด 10 มิติ  นำมาจากหนังสือการคิดเชิงเปรียบเทียบ จำนวน 10 เล่ม  สามารถอ่านจากหนังสือเพิ่มเติมได้  หากทุกคนรู้จักวิธีการคิดและรู้จักพัฒนาความคิดทั้ง 10  มิติ  ก็จะเป็นประโยชน์และเป็นพื้นฐานสำหรับนักบริหารให้รู้จักคิด  รู้จักไตร่ตรอง  หาวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมหรือรู้จักดำเนินชีวิตอย่างมีกลยุทธ์  ทำให้ไม่เผชิญสถานการณ์แบบหนัก ๆ
ที่มาhttp://www.aircadetwing.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538671363&Ntype=4
เรียบเรียงโดย  นางเพชรฤทัย  อกนิษฐ์
หมายเลขบันทึก: 429258เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2011 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2012 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท