บทความการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ


โรงเรียนในฝัน

บทความทางวิชาการ

โรงเรียนในฝัน

        ความเป็นมา นายกรัฐมนตรีห่วงใยปัญหาการศึกษาของไทย ที่เด็กได้รับการศึกษาแล้วคิดวิเคราะห์ ไม่เป็น ไม่รักการอ่านหนังสือหรืออ่านข่าวแล้วคิดวิเคราะห์ไม่ได้ จึงจำเป็นต้องฝึกการอ่านตั้งแต่ปฐมวัย เพื่อปูพื้นฐาน ให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลาคิดให้เท่าทันโลกอนาคตที่จะเกิดขึ้น การเรียนการสอนต้องทำให้ เด็กเติบโตด้วยความเชื่อมั่นมีระบบที่ทำให้สามารถพัฒนาตนเองตลอดเวลาและ พัฒนาได้เต็มตามศักยภาพสูงสุด เพิ่มมูลค่าความเป็นมนุษย์ให้สูงขึ้นโดยมีการบูรณาการเกิดขึ้นทุกปีที่จะ ทำให้เด็กรู้สึกสนุกกับการเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ที่ต้องปลูกฝังให้"เป็น" เพื่อไว้ใช้ค้นคว้าหาความรู้ตลอดชีวิต ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง สามารถแสดงออกและนำเสนอในเชิงสร้างสรรค์ เจตนารมณ์ดังกล่าว จะบรรลุผลได้เด็กต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนที่มีคุณภาพมาตรฐาน แต่โรงเรียนดังกล่าวมีไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยเฉพาะอำเภอในชนบทห่างไกล ซึ่งคนยากจนต้องเรียน ในเขตพื้นที่ และเป็นโรงเรียนขนาดเล็กซึ่งคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโครงการ “หนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน” และกระทรวงศึกษาธิการได้พัฒนาแนวคิด และดำเนินงานในโครงการโดยมีหลักการและความเชื่อว่า การศึกษาสามารถเปลี่ยนแปลงสถานภาพคนจากคนจนไปเป็นคนรวยได้ หากได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มีพื้นฐานการเรียนรู้ที่ดีที่สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต จะสามารถพัฒนาตนเองให้เป็นแรงงาน ที่มีคุณภาพ เป็นแรงงานที่มีฝีมือ มีรายได้และคุณภาพชีวิตสูงขึ้นสามารถหลุดพ้นวงจรความยากจนได้อันเป็น ความมุ่งมั่นของรัฐบาลโดยพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนที่ประชาชนใฝ่ฝันอยากให้บุตรหลานได้เข้าเรียน ในโรงเรียนที่ดี ที่มีคุณภาพ โครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝันจะช่วยสานฝันให้เป็นจริงได้ วัตถุประสงค์

 1. เพื่อกระจายโรงเรียนที่มีคุณภาพมาตรฐานให้ทั่วถึงทุกอำเภอเพื่อให้เด็กและเยาวชนในชนบท มีโอกาสเข้ารับการศึกษาที่มีคุณภาพ อันเป็นพื้นฐานให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตคิดให้เท่าทันโลกอนาคต ที่จะเกิดขึ้นทำให้เด็กเติบโตด้วยความเชื่อมั่นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2. เพื่อพัฒนาเยาวชนไทย ให้เติบโตด้วยความพร้อมอย่างสากล ให้เป็นพลังสำคัญในการปรับเปลี่ยน และขับเคลื่อนอนาคตของชาติ ให้พัฒนาอย่างยั่งยืนและมีศักดิ์ศรี ลักษณะโรงเรียนในฝัน

1. จัดการศึกษาได้คุณภาพมาตรฐาน ปฏิรูปการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสอดคล้องกับความต้องการ ของท้องถิ่น แข่งขันได้ในระดับสากล ผู้เรียนมีคุณภาพมาตรฐานชาติ สามารถพัฒนาสู่มาตรฐานสากลบนพื้นฐาน ความเป็นไทยจัดบรรยากาศการเรียนรู้เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน และมีความเป็นประชาธิปไตย

2. เป็นตัวอย่างการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับอำเภอที่มีคุณภาพมาตรฐาน เทียบเคียงกับโรงเรียนชั้น นำเป็นที่ยอมรับศรัทธาของนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ที่เน้นการมีส่วนร่วม

3. มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ บริหารคุณภาพทั้งระบบ มีความคล่องตัวรวดเร็วทันสมัย มีผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษามืออาชีพและมีจำนวนเพียงพอ

4. มีความเข้มแข็งทางวิชาการ สามารถเป็นต้นแบบเป็นแหล่งเรียนรู้ ตลอดจนช่วยเหลือพัฒนาชุมชน และเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา และชุมชนเข้มแข็ง

5. มีเครือข่ายการสนับสนุน มีกระบวนการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นแหล่งทดลอง สาธิต และ ฝึกอบรมครูของสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน

6. สื่อ และเทคโนโลยีทันสมัยเพียงพอ เป็นระบบเครือข่าย และเอื้อต่อการเรียนรู้ร่วมกัน 7. เป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่น ๆ นำนวัตกรรมการทางการศึกษาที่ทันสมัยไปพัฒนาโรงเรียน ให้มีภาพมาตรฐาน ลักษณะทางกายภาพของโรงเรียนได้มาตรฐานและเหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป้าหมาย 1. โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา และ สปช. คัดเลือกอำเภอละหนึ่งโรงเรียน จำนวน 795 อำเภอ 81 กิ่งอำเภอ และ 45 เขตในกรุงเทพมหานคร ได้ 921 โรงเรียน 2. โครงการ ฯ เริ่มนำสู่การปฏิบัติ 1 ตุลาคม 2546 3. โครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน จะพัฒนาทุกโรงเรียนให้เต็มรูปแบบ ภายในเวลา 3 ปี วิธีดำเนินการ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการตามแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

 1. แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นรับผิดชอบการดำเนินงาน

2. ระดมความคิดกำหนดแนวความคิดพื้นฐานโครงการให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อเตรียมการนำสู่การปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม โดยกำหนดแนวการปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้ 2.1 การคัดเลือกโรงเรียน โดยมีเกณฑ์ที่ชัดเจน จะดำเนินการให้แล้วเสร็จกลางเดือนพฤษภาคม 2546 เพื่อนำเสนอคณะกรรมการพิจารณาก่อนนำเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดพิจารณามอบหมายให้นายอำเภอ ร่วมกับชุมชนพิจารณาคัดเลือกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

2.2 จัดทำแผนพัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้ได้คุณภาพมาตรฐาน ตามเกณฑ์ที่ต้องการ ในการพัฒนาโรงเรียนในฝัน ให้บรรลุผลตรงตามเป้าหมายและทันเวลา โดยใช้ระบบเครือข่าย ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาและโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จ 2.3 จัดแผนประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ของโครงการฯ ให้สาธารณชนและผู้เกี่ยวข้อง ทุกส่วน ของสังคมรับทราบอย่างต่อเนื่อง สร้างความน่าสนใจของโครงการฯ และสื่อให้ภาคเอกชน รับรู้และตอบรับ เข้ามาสนับสนุนเสริมสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นเจ้าโครงการฯ ให้เกิดขึ้นกับคนไทยทุกคนในการพัฒนา เด็กและเยาวชนไทย แล้วเสร็จและดำเนินการภายในเดือนพฤษภาคม 2546

2.4 ร่างโครงสร้างบริหารจัดการที่มีความคล่องตัว การบริหารสถานศึกษาให้มีความเข้าแข็งทาง วิชาการ หลักสูตร มาตรฐานด้านกระบวนการเรียนรู้ ความสัมพันธ์ในการพัฒนาระหว่างผู้บริหาร ครู ผู้เรียน ชุมชน และผู้สนับสนุน

 2.5 การระดมทรัพยากรในท้องถิ่น และเชิญชวนเอกชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษา งบประมาณดำเนินการ และค่าใช้จ่ายในการบริหาร โดยคำนึงถึงจำนวนนักเรียน และจำนวน ครู: นักเรียนโดยให้กรมสามัญศึกษา และ สปช. ดำเนินการประสานหารือเกี่ยวกับวิธีการบริหารงบประมาณ เพื่อประมาณการงบประมาณให้ชัดเจน ให้เหมาะสม กับการพัฒนา 2.6 จัดทำแผนเพื่อวางระบบเทคโนโลยีสารสมเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อวางระบบ ICT ของโรงเรียนเป้าหมายและระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทั้ง 921 โรงเรียน ให้แล้วเสร็จทันเวลาตามเป้าหมาย ที่จะดำเนินการ ทั้งนี้เน้นการใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน

2.7 กำหนดวิธีการกำกับ ติดตาม และประเมินผล ทั้งการพัฒนาผู้บริหาร ครู โรงเรียน และคุณภาพนักเรียน เป็นการประเมินผลเชิงวิจัยเพื่อพัฒนา โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จ และตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานด้านต่าง ๆตามมาตรฐาน และเอกลักษณ์ของแต่ละโรงเรียน/ แต่ละอำเภอ ทำให้เห็นคุณค่าที่เป็นพลวัต และเกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นเครื่องมือของ การจัดการเปลี่ยนแปลงในการปรับเปลี่ยนพฤ๖ิกรรมองค์กรด้วยความเต็มใจทุกภาคี (ผู้บริหาร ครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา ชุมชน ผู้ประเมิน และอื่น ๆ ) มีความเป็นอิสระที่จะสร้างสรรค ์ มีเอกภาพเชิงเป้าหมายโดยแต่งตั้ง คณะกรรมการกำกับติดตาม และประเมินผลโครงการ “หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน”

 2.8 จัดทำ Mapping ในการสนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงโรงเรียนในโครงการ ของสถาบันราชภัฏ สถาบันการศึกษา ในระดับอุดมศึกษา และโรงเรียนชั้นนำทางการศึกษาการดำเนินงาน กระบวนการ / กิจกรรมต่าง ๆจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ขึ้นรับผิดชอบ และจะให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน เพื่อให้สามารถเริ่มโครงการ 1 ตุลาคม 2546ได้ตามเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบโครงการ กระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการนโยบายหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. เด็กและเยาวชนไทยในชนบทมีโอกาสได้รับการศึกษาในโรงเรียนที่มีคุณภาพ รักการอ่าน เป็นผู้ที่เรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถพัฒนาให้พึ่งตนเองได้ และเติบโตเป็นคนคุณภาพของประเทศชาติ

2. มีโรงเรียนคุณภาพกระจายทั่วถึงทุกอำเภอ ทำให้เด็กไทยเติบโตด้วยความเชื่อมั่นและ รักชาติ

 

ที่มาhttp://www.itie.org/eqi/modules.php?name=Journal&file=display&jid=288

เรียบเรียงโดย  นางเพชรฤทัย  อกนิษฐ์

 

 

คำสำคัญ (Tags): #โรงเรียนในฝัน
หมายเลขบันทึก: 429256เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2011 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท